ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านล่าสุดได้สร้างความกังวลในกลุ่มนักลงทุนอีกครั้งซึ่งมีความรุนแรงยิ่งกว่าเหตุการณ์ช่องแคบฮอร์มุซในปีที่ผ่านมา

 (การโจมตีเรือขนส่งน้ำมันในเดือนพ.ค.และมิ.ย. 2562) และการโจมตีโรงแปรรูปน้ำมันในซาอุอาระเบีย ( 29 ก.ย. 2562) ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางยังเชื่อว่าบทสรุปของเหตุการณ์นี้ไม่น่าจะเกิดเป็นสงครามแบบเต็มรูปแบบ แต่มีความเป็นไปที่จะกลายเป็นการตอบโต้ที่มีขนาดเล็กกว่าและ/หรือสงครามอสมมาตร (asymmetric warfare)(ผ่านสงครามตัวแทน) ทั้งนี้การวิเคราะห์ด้านภูมิรัฐศาสตร์อยู่นอกเหนือการวิเคราะห์ของเรา แต่เราสามารถประเมินได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆอย่างไร

การตอบสนองของตลาดที่แตกต่างกันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

การตอบสนองของตลาดต่อสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 2534 ร้ายแรงกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2547 ที่สหรัฐฯโจมตีอิรัก เนื่องจากการรุกรานคูเวตของอิรักในปี 2533 (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าวเปอร์เซีย) เกิดขึ้นโดยตลาดไม่ได้คาดคิด ทำให้ตลาดปรับตัวลงราวๆ 50% จากจุดสูงสุดในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมปรับลง 25-70% สำหรับปี 2546 ตลาดเคลื่อนไหวในกรอบ (+/- 5%); กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวโดดเด่น ในขณะที่บางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายในประเทศปรับตัวแย่กว่าตลาด สำหรับทั้งสองเหตุการณ์ ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้น 115% (เพิ่มขึ้น 21 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) จากการเข้ารุกรานคูเวตของอิรักมาแตะระดับสูงสุดปลายปี 25634 และเพิ่มขึ้น 50% (เพิ่มขึ้น 12 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) จากจุดต่ำสุดมาสู่จุดสูงสุดปลายปี 2546 ก่อนที่สหรัฐฯและประเทศพันธมิตรเข้าบุกรุกอิรัก

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในตอนนี้

ในทางตรงกันข้ามกับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายมองว่าสหรัฐฯไม่ได้มีความชอบธรรมเต็มที่ในการก่อการครั้งนี้ หากอิหร่านไม่กระทำการตอบโตอย่างรุนแรง ทางพันธมิตรตะวันตกหรือสหประชาชาติอาจเลือกที่จะไม่ต้องการมีส่วนร่วมเหตุการณ์ดังกล่าว ความสามารถทางการทหารแบบดั้งเดิมของอิหร่าน แม้ว่าจะไม่ทัดเทียบกับสหรัฐฯ แต่ก็มีความสามารถมากกว่าทหารของอิรัก เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนการรุกรานของอิรักในปี 2546 อย่างไรก็ตามอิหร่านสามารถทำสงครามแบบอสมมาตรกับทหารสหรัฐฯ ในอิรัก, ซีเรีย, เลบานอนและอ่าวเปอร์เซีย หากตั้งบนสมมุติฐานที่ว่าไม่มีการหยุดชะงักการผลิตน้ำมันในแหล่งผลิตน้ำมันหลัก การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในกลุ่มจะกลับมาอิงกับปัจปัจจัยพื้นฐานปกติ

ทั้งนี้หากมีการสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ของอิหร่านต่ออุปทานและราคาน้ำมัน คือการปิดกั้นช่องแคบฮอร์มุซ สำหรับการขนส่งของเรือบรรทุกน้ำมัน ณ ช่องแคบที่สุดที่ระยะทางเพียง 39 กม. และขนส่งน้ำมันประมาณ 18 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 18% ของการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสททั่วโลก) และ LNG จำนวนมากทุกวัน  ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งแตะสถิติใหม่ภายใต้ภาวะสงครามที่รุนแรง แต่เราคาดว่าสุดท้ายแล้วอุปทานที่ลดลงจะไม่รุนแรงมาก (กรุงเตหะรานไม่ต้องการทำสงครามเต็มรูปแบบกับสหรัฐฯ)

ทั้งนี้ในช่วงแรก กลุ่มที่ได้รับผลบวก ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์นิยม กลุ่มการแพทย์, อาหาร, การขนส่งภาคพื้นดิน, โรงไฟฟ้า, กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และน้ำมันและก๊าซ ซึ่งอาจปรับตัวโดดเด่นกว่าตลาดส่วนหุ้นวัฎจักรในประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีโอกาสปรับตัวแย่กว่าตลาด

สำหรับราคาหุ้นของกลุ่มน้ำมันและก๊าซ และปิโตรเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้นกอปรกับราคาน้ำมันดิบที่พุ่งทะยาน การปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวจะมีแนวโน้มสั้นกว่าการขยายตัวของราคาน้ำมัน (เนื่องจากผลกระทบของอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง) และราคาน้ำมันดิบจะกลับมาปรับตัวลดลงอย่างมากหลังความขัดแย้งเริ่มได้รับการแก้ไข