องค์กรในยุคประเทศไทย 4.0 ควรจะเป็นแบบใด

องค์กรในยุคประเทศไทย 4.0 ควรจะเป็นแบบใด

ในบริบทประเทศไทย 4.0 ที่เน้นให้องค์กรปรับตัวไปเป็นองค์กรอัจฉริยะ โดยประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมกระบวนการทำงาน

 เชื่อมโยงกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งนำดิจิทัลเทคโนโลยีไปสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ตามระบวนการที่เรียกว่าdigital transformation เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน บนพื้นฐานของการมีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง เพราะการทำ digital transformation ไม่ใช่แค่การเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วก็เสร็จภารกิจ 

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ กิจการธนาคาร กลุ่ม Startup ซึ่งส่วนใหญ่ถือกำเนิดในโลกดิจิทัล (born digital) ขณะที่องค์กรแบบดิจิทัล มีนวัตกรรมและรูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสม สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด จนกลายเป็นผู้มาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสภาวะการแข่งขันในบางอุตสาหกรรม (digital disruptor) และการตลาดแบบไร้พรมแดน ตลอดจนระยะเวลาที่นวัตกรรมใหม่ๆ ได้รับการยอมรับและแพร่กระจายออกไปทั่วโลกใช้ระยะเวลาที่สั้นลงมากนี่เอง ทำให้กระแสของการเปลี่ยนแปลงมีอัตราเร่งตัวมากขึ้นแบบเอกซ์โพนเนนเชียล และเข้าสู่ ยุคของปลาเร็วกินปลาช้า ไปแล้ว

คำถามชวนคิดก็คือ รูปแบบองค์กรรูปแบบธุรกิจแบบดังเดิม แนวคิดและหลักการบริหารจัดการแบบดังเดิม จะยังสามารถใช้ไปได้อีกนานเท่าใด โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มี digital disruptor จำนวนมาก ผู้เขียนจึงขอประมวลแนวคิดจากหลายส่วนมานำเสนอในบทความนี้ เพื่อเป็นอาหารสมองให้ท่านทั้งหลายนำไปคิดต่อยอดต่อไป

ขอเริ่มที่ประเด็นสำคัญคือ เราจะรับมือต่อการแพร่ของนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่งและสลับซับซ้อนนี้ได้อย่างไร กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบเดิมใช้ได้หรือไม่ มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ รูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร หากย้อนไปต้นศตวรรษที่ 21 จะมีการพูดถึงองค์กรที่ทำงานแบบเวลาจริง (real time enterprise, RTE) โดยองค์กรเหล่านี้มักจะใช้ระบบซอฟแวร์สำเร็จรูป 4 ตัวเป็นหลักคือ ระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) ระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ระบบห่วงโซ่อุปทาน (SCM) และระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) 

โดยระบบจะทำงานแบบเวลาจริง ด้วยการป้อนข้อมูลเข้าในระบบและประมวลผลทันที (Online Transaction Processing, OLTP) ทำให้มีการแสดงสถานะที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา เช่น จำนวนสินค้าคงคลังทั้ง 3 ประเภทตั้งแต่สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต และวัตถุดิบ การบริหารสินค้าคงคลังแบบเวลาจริงจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า 

ในปัจจุบัน ข้อมูลคือน้ำมันยุคใหม่ (Data is the new oil.) เพราะมีการสร้างข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบมีและไม่มีโครงสร้าง อีกทั้งปริมาณข้อมูลก็เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล โดยเฉพาะจากเครือข่ายสังคม และจากอุปกรณ์อัจฉริยะ อันเป็นที่มาของคำว่า Big Dataที่เราคุ้นเคย กล่าวกันว่าข้อมูลมากกว่า 90% ในปัจจุบัน เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาในเวลา 2 ปีทีผ่านมานี่เอง และมากกว่า 80% ของข้อมูลจะเป็นรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน แนวคิดในการบริหารจัดการข้อมูลก็ต้องพัฒนาให้รองรับข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ 

คำถามที่ตามมาคือ แล้วเราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร นำมาสู่แนวคิดขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Enterprise) ซึ่งการประมวลผลข้อมูลในอดีตแล้วสร้างเป็นรายงานเพื่อใช้ในการตัดสินใจไม่เพียงพอแล้ว การประมวลผลในปัจจุบันต้องตามมาด้วยการวิเคราะห์พยากรณ์หาแนวโน้ม เพื่อคาดการว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต และอาจต้องพัฒนาต่อไปถึงการตั้งคำถามแบบ what-if เพื่อจำลองสถานการณ์และดูผลกระทบประกอบการตัดสินใจมากขึ้น

ทั้งนี้แม้ว่าเราจะประมวลผล Big Data ได้ดี แต่องค์กรเราสามารถตอบสนองต่อผลนั้นได้เร็วแค่ไหน วัฒนธรรมองค์กรและระบบบริหารจัดการปัจจุบันจะสามารรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้หรือไม่ อันนำมาสู่แนวคิดใหม่อีกประเภทหนึ่งคือ องค์กรที่โปรแกรมได้ (programmable enterprise) นั่นเอง

องค์กรแบบโปรแกรมได้ มีวัตถุประสงค์หลักคือ สร้างความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงแบบเร่งตัว และสามารถสร้างความยืดหยุ่น (agility) ที่มีประสิทธิภาพ โดยจะวางแนวคิดขององค์กรเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดคือ ชั้นบริการ ชั้นต่อมาคือชั้นข้อมูล และชั้นล่างสุดคือชั้นโครงสร้างพื้นฐาน (ดูรูป) หากอุปมาอุปมัยแนวคิดนี้กับสิ่งใกล้ตัวท่านก็คือ โทรศัพท์มือถือ โดยชั้นของบริการ ก็คือ mobile applications ที่ให้บริการด้านต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลจากภายในตัวเครื่องเองและ/หรือข้อมูลจากแหล่งภายนอก ทั้งหมดจะประมวลผลร่วมกันระหว่างเซิฟเวอร์ของผู้สร้าง apps และมือถือ โดยโครงสร้างพื้นฐานของมือถือก็เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่จะมี หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ จอภาพและระบบในการป้อนข้อมูล 

องค์กรในยุคประเทศไทย 4.0 ควรจะเป็นแบบใด

นอกจากนี้ มือถือยังมีอุปกรณ์เฉพาะด้าน เช่นกล้องถ่ายรูป ตัวตรวจจับสนามแม่เหล็ก ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว ตัวจับสัญญาณ GPS ฯลฯ และด้วยหลักการข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า มือถือก็คือ programmable device เราสามารถทำให้มือถือเป็นอุปกรณ์ได้หลายอย่าง พื้นฐานก็คือ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ ระบบนำทาง GPS ฯลฯ คงไม่เกินเลยนักที่จะบอกว่า นอกจากนี้ยังมือถือยังมีอุปกรณ์เฉพาะด้าน เช่นกล้องถ่ายรูป ตัวตรวจจับสนามแม่เหล็ก ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว ตัวจับสัญญาณ GPS ฯลฯ และด้วยหลักการข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า มือถือก็คือ programmable device เราสามารถทำให้มือถือเป็นอุปกรณ์ได้หลายอย่าง พื้นฐานก็คือ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ ระบบนำทาง GPS ฯลฯ คงไม่เกินเลยนักที่จะบอกว่า มือถือจะเป็นอะไรก็ได้ตาม apps ที่สร้างขึ้น ภายใต้การสนับสนุนจากชั้นข้อมูลและชั้นโครงสร้างพื้นฐาน จึงทำให้มือถือกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ด้วยหลักการเดียวกันนี้องค์กรแบบโปรแกรมได้ ก็คือองค์กรอัจฉริยะนั่นเอง

บทความนี้คงเป็นหัวเชื้อให้ท่านนำแนวคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเร็วช้าต่างกันออกไป รวมถึงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและระบบบริหารจัดการภายใน เช่น โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย มาทดแทนโครงสร้างแบบปิรามิด การบริหารแบบโครงการมาเสริมการทำงานแบบตามสายงาน ตลอดจนการนำเครื่องมือการทำงานยุคใหม่ ๆ เช่นระบบ AI ที่มาช่วยทำให้กระบวนการทำงานบางขั้นตอนเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวมไปถึงการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบ software-defined หรือระบบ Cloud เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคุ้มค่าต่อการลงทุน เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดล้วนแล้วแต่ผูกพันอยู่กับคนทั้งสิ้น การ unlearn สิ่งเก่า และ relearn สิ่งใหม่ โดยเฉพาะการเรียนรู้ระยะสั้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นจุดสลบของเรื่องราวนี้ก็เป็นได้

 

โดย... ดร.ทนุสิทธิ์ สกุณวัฒน์