คริปโทเคอร์เรนซี:SMEs ควรรู้จัก (4)

คริปโทเคอร์เรนซี:SMEs ควรรู้จัก (4)

กำลังจะร่างกฎใหม่กำหนดคุณสมบัติของนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัล

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

กำลังจะร่างกฎใหม่กำหนดคุณสมบัติของนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัล โดยร่างกฎใหม่ฉบับนี้จะกำหนดข้อจำกัดอย่างถาวรในการซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลในประเทศไทย ต้องมีทรัพย์สินสุทธิ

อย่างน้อย 10 ล้านบาท และมีรายได้ปีละ 1 ล้านบาท จึงจะสามารถลงทุนคริปโตได้ โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิจะไม่รวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร และควรมีประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปี ในการซื้อขายหลักทรัพย์หรืออนุพันธ์ โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้แน่ใจว่ามีมาตรการคุ้มครองนักลงทุนที่เหมาะสม เนื่องจากนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนที่อายุน้อย เช่นนักศึกษาและวัยรุ่นที่ชื่นชอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่คนที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดสามารทำการลงทุนผ่านผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาตหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่เชื่อถือได้

ปัจจุบันธนาคารกลางหลายแห่งได้ให้ความสนใจกับสกุลเงินดิจิทัลอย่างมาก เพราะในที่สุดแล้วเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาททางการเงินอย่างแน่อน หลายประเทศเริ่มทดลองเปลี่ยนระบบชำระเงินเป็นรูปแบบดิจิทัลแล้ว มีการทำ Central Bank Digital Currency (CBDC) เช่นประเทศจีนที่ประกาศใช้เงินดิจิทัลหยวนเมื่อช่วงต้นปี 2563 การทดสอบการใช้ e-krona ของประเทศสวีเดน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ริเริ่ม “โครงการอินทนนท์” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ

และความเป็นไปได้ของการใช้ CBDC ในภาคสถาบันการเงิน มีการทดลองการโอนเงิน
ข้ามประเทศร่วมกับธนาคารกลางฮ่องกง ผลการทดสอบและองค์ความรู้ในการทำโครงการ

เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลของไทย ที่ให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพการเงิน

และการสร้างนวัติกรรมที่สนับสนุนภาคธุรกิจเอกชน
การเปิดตัว Libra ของ Facebook เมื่อกลางปี 2562 ที่เป็นเหรียญแบบ Stable Coin ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกตื่นตัวและให้ความสนใจกับการพัฒนา CBDC สำหรับรายย่อยมากขึ้น Libra เป็นสกุลเงินที่ออกโดยภาคเอกชน หากประสบความสำเร็จคนจะเลือกใช้เงินที่ภาคเอกชนเป็นผู้ดูแลถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเกี่ยวข้องกับการบริหารเสถียรภาพของค่าเงินในประเทศที่คนบริหารไม่ใช่รัฐ ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกตื่นตัวกันมาก ธปท ได้ทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาต้นแบบ CBDC ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน เป็นโครงการต่อยอดการพัฒนาจากโครงการอินทนนท์ โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อระบบการบริหารการจัดซื้อและการชำระเงินระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) กับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน โดยบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด เป็นผู้พัฒนาระบบ ซึ่งจะต้องใช้เวลาศึกษาและพิจารณาผลกระทบในมิติอื่นอย่างรอบคอบ ทั้งข้อกฎหมาย เสถียรภาพของระบบ ความปลอดภัยในการใช้งาน ความพร้อมด้านเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการ เป็นการทดลองทำ CBDC แบบ Wholesale ก่อนที่จะเริ่มใช้เงินดิจิทัลแบบ Retail ถ้าสุดท้ายแล้วไม่ต้องการตัวกลางจริง ๆ ธปท ก็ต้องเปลี่ยนบทบาท ต้องคอยมอนิเตอร์ คอยควบคุมเผื่อเวลามีปัญหาจะได้แก้ไขทัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

แต่กฎหมายตามไม่ทัน เมื่อสามสิบปีก่อนสมัยที่ผมเป็นผู้จัดการแบงก์กรุงไทยที่สมุทรสาคร

มีกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจากกรณีที่บริษัทส่งออกอาหารทะเล 2 แห่ง ที่เป็นคู่แข่งและใช้กลยุทธ์

ทางด้านราคาแข่งขันกันอย่างรุนแรง มีการดูด Fax ที่เสนอราคาทำให้เสียหายเป็นพันล้านบาทเมื่อมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ต้องใช้ พรบ ไปรษณีย์โทรเลข พศ 2486 ตัดสินถูกปรับเพียง 4,000 บาท เท่านั้น ผมมีความเห็นสอดคล้องกับคุณวีระชาติ ศรีบุญมา ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมการสอบสวนชั้นสูง สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ระบุว่า กฎและระเบียบของ ก.ล.ต. อาจทำให้คนไทยหันไปเทรดกับผู้ได้รับใบอนุญาตนอกราชอาณาจักร ทางการไทยมีมาตรการป้องกันและดำเนินคดีอาชญากรรมอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ข่าวที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีมากคือ บริษัทกระดานเทรดคริปโทเคอร์เรนซี
ที่ใหญ่ที่สุดของตุรกีล่ม สร้างความเสียหายให้กับลูกค้ากว่า 6 หมื่นล้านบาท เจ้าของบริษัท
Platform Crypto วัยเพียง 27 ปี บินออกนอกประเทศ ทิ้งให้ผู้ใช้งานกว่า 4 แสนคน เดือดร้อน เป็นเรื่องที่นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนชีไทย ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นเรื่องที่ท่านผู้ประกอบการที่เป็น Smart Sme ต้องทำความรู้ ถึงแม้จะมองเห็นว่ายังห่างไกลกลับผู้ประกอบการรายย่อย แต่ปัจจุบัน

Bitcoin ที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วจากสินทรัพย์เก็งกำไร เป็นสินทรัพย์ในงบดุลของบริษัทที่อาจจะเป็นคู่ค้าของท่านครับ.......