ไม้หลักปักขี้เลน​?

ไม้หลักปักขี้เลน​?

เมื่อผู้บังคับบัญชาในสายงานเรียกประชุมผู้ปฏิบัติงานเพื่อกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน​ บริหารงานอย่างใดอย่างหนึ่ง​

โดยเป็นมติที่ประชุม​เห็นพ้องกับหลักเกณฑ์​แนวทางปฏิบัติดังกล่าวแล้ว​ แต่ต่อมาหัวหน้างานได้เปลี่ยนแปลง ทำให้แผนงานที่ร่วมกันตกลงเปลี่ยนแปลงจากเดิมเกิดความเสียหาย​​ อาจเข้าสุภาษิตไทยโบราณ​ “ไม้หลักปักขี้เลน 

เรื่องที่กล่าวอาจเทียบเคียงได้กับระบบอาคารชุด​หรือหมู่บ้านจัดสรร​ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรือการจัดสรรที่ดิน​ โดยเฉพาะการบริหารทรัพย์สินของนิติบุคคลอาคารชุด​ ตามมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ คอนโดมิเนียม​ หรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​ของหมู่บ้านจัดสรร​​ ดังต่อไปนี้ 

เจ้าของร่วม​ นาย​  ซื้อกรรมสิทธิ์ห้องชุดในโครงการนิติบุคคลอาคารชุดชื่อ​  เมื่อกลางปี 2560 กับผู้ประกอบการ​ เจ้าของโครงการ​ ต่อมา​ภายในระยะเวลา​ 180 วัน​ โครงการนิติบุคคลอาคารชุด​  จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งแรกพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ​เห็นชอบข้อบังคับ​ และผู้จัดการรับทราบงบประมาณการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางรายปี เป็นต้น 

ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการ (คกก.) 5 คน​ตามข้อบังคับ​ และเห็นชอบกำหนด​เบี้ยประชุมกรรมการ โดยเสนอให้ที่ประชุม คกก.​ นัดแรก ที่จะจัดขึ้นให้มีอำนาจพิจารณาอัตราเบี้ยประชุมตามความเหมาะสม​ อย่างไรก็ดี​ ที่ประชุม คกก.ได้พิจารณาอัตราเบี้ยประชุมกำหนดชำระค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการของนิติบุคคลอาคารชุด (นิติฯ)​  ที่เข้าร่วมประชุม​ สำหรับกรรมการรายซึ่งไม่เข้าร่วมประชุม​ ไม่ได้รับ​เบี้ยประชุม ที่ประชุมมีมติอนุมัติ​รับทราบเรื่องดังกล่าว​ อนึ่ง​ ตลอดระยะเวลาการดำรงตำเเหน่ง นิติฯ​  จัดการทำเรื่องขออนุมัติเบิกค่าเบี้ยประชุมตามมติที่ประชุม คกก.ถูกต้องครบถ้วน​

ต่อมา​อีก 2 ปี นิติฯ​ ข​ จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พิจารณาแต่งตั้ง คกก.ชุดใหม่ 4 คน แทนชุดเดิมที่ครบวาระ​ ขอให้นิติฯ​  เรียกคืนค่าเบี้ยประชุมให้แก่นิติฯ​  อ้างมติที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งแรก มิได้อนุมัติค่าเบี้ย​ เป็นเพียงมติที่ประชุม คกก.ชุดเดิม​ หรือชุดก่อนหน้า​ มีมติที่ประชุมเรื่องดังกล่าวไว้ 

เจ้าของร่วม​ นาย​  และอดีตกรรมการของนิติฯ​  ขอคำปรึกษา​ แนะนำกับผู้เขียนกับประเด็นดังต่อไปนี้ 

1.​บันทึกรายงานการประชุม​ ครั้งแรก วาระพิจารณา​ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับหมวดว่าด้วยผู้จัดการ​ คณะกรรมการ​ บทบาท​ อำนาจหน้าที่​ และวาระการดำรงตำแหน่ง​ การชำระค่าจ้างให้ผู้จัดการ​ และค่าเบี้ยประชุมกรรมการ​ ที่ประชุมมีมติรับทราบ​ตามเสนอและอนุมัติ​เห็นชอบให้นำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาในชั้นที่ประชุม คกก. 

2.​บันทึกการประชุม คกก.​ นัดแรก วาระพิจารณาอัตราเบี้ยประชุมกรรมการ​ มติที่ประชุมเห็นชอบกำหนดอัตราเบี้ยประชุมกรรมการ​ ท่านที่เข้าประชุมเป็นเงินครั้งละ 2,000 บาท 

3.กรณีนิติฯ​ ” ชำระค่าเบี้ยประชุมกรรมการให้แก่กรรมการรายที่เข้าร่วมประชุม คกก. ภายหลังการจัดประชุม คกก.เเต่ละครั้ง ผู้จัดการของนิติฯ  ร่วมเป็นผู้อนุมัติเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมทุกครั้ง​ ตลอดระยะเวลา 2 ปี​ เป็นการกระทำที่ชอบตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ และที่ประชุม คกก.​ นัดแรก หรือไม่ 

4.กรรมการชุดเดิม​ชุดก่อน​มีหน้าที่คืนค่าเบี้ยประชุม​ ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำเเหน่งกรรมการ​ และปฏิบัติหน้าที่ให้เเก่นิติบุคคลอาคารชุด​  หรือไม่

5.ขอทราบแนวปฏิบัติกรณีการชำระค่าจ้างให้แก่ผู้จัดการ​ หรือค่าเบี้ยประชุมกรรมการกับโครงการ นิติฯ​ แห่งอื่น มีแนวปฏิบัติต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไร 

ก่อนชี้แจง​ตอบคำถาม​ ข้อหารือข้างต้น​ ผู้เขียนใคร่ขอ​ หยิบยก การจัดเก็บค่าจอดรถยนต์​ คันที่สอง ของเจ้าของร่วม​กับโครงการนิติฯ​  

ที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งแรก กำหนดระเบียบการจอดรถยนต์​ คันที่สอง เห็นชอบให้เจ้าของร่วมชำระค่าจอดรถยนต์​ คันที่สอง” ในอัตราเดือนละ​ 300 บาท​ และที่ประชุม คกก.ก็มีมติเห็นชอบกับค่าจอดรถยนต์​คันที่สอง​ หรือเงินประกันการตกต่งต่อเติมห้องชุดของเจ้าของร่วมราย​ละ​ 30,000 บาท​ และค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์ส่วนกลางเป็นเงินวันละ​ 700 บาท​

อีก 2-3 ปีต่อมา คกก.ชุดใหม่มีมติ​ ยกเลิก ระเบียบ​ หรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ การจัดเก็บค่าจอดคันที่สองและลดอัตราเงินประกันการตกแต่งต่อเติมห้องชุด​ เป็นเงิน​ 20,000 บาท​ ท่านผู้อ่านแฟนคอลัมน์​มีความคิดเห็นกับมติที่ ประชุมฯ​ ดังกล่าวอย่างไร?

ขอตอบคำถามข้อหารือของเจ้าของร่วม​ นาย​ “ ดังต่อไปนี้ 

1.​-2.พ.ร.บ.อาคารชุด​ มาตรา​ 33 วรรคสอง​ นิติฯ​ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการ​ และดูเเลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใดๆ​ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว​ ทั้งนี้​ ตามมติของเจ้าของร่วม​ ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.นี้ มาตรา​ 38 คกก.มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้​ (1) ควบคุมการจัดการนิติฯ (2), (3) จัดประชุม คกก. ครั้งในทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย​ (4) 

เมื่อบันทึกการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งแรก ของนิติฯ​  มีมติอนุมัติรับทราบตามเสนอ​ และให้ที่ประชุม คกก.เป็นผู้พิจารณากำหนดอัตราเบี้ยประชุมกรรมการต่อไป​ แสดงว่า คกก.ของนิติฯ​  ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมตามกฎหมาย

3.​-4.​พ.ร.บ.อาคารชุด​ มาตรา​ 36​ ผู้จัดการ​มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้​ (1) ปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา​ 33 หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย 

คณะกรรมการ​ ชุดเดิม ไม่มีหน้าที่คืนเงินเบี้ยประชุมกรรมการให้แก่นิติฯ​  แต่อย่างใด​

5​.นิติฯ หลายแห่ง​กำหนดเบี้ยประชุมกรรมการ​ไม่พอ ​ยังมอบเบี้ยประชุมเจ้าของร่วมเมื่อเข้าประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอีกด้วย​ ทั้งนี้​ เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมของแต่ละนิติฯ บางแห่ง​อาจไม่มีเบี้ยประชุมกรรมการ​ หรือค่าจ้างให้เเก่ผู้จัดการ​ ก็มีอาจเกิดจากหลายสาเหตุ​ หรือตามความจำเป็น​ของแต่ละนิติฯ​

อย่างไรก็ตาม​ พ.ร.บ.​มิได้มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะการชำระค่าเบี้ยประชุม ค่าจ้างผู้จัดการ​ หรือหากเห็นสมควรให้ไปหารือในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้ชัดเจน​ ส่วนการเปลี่ยนแปลงมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ในอดีต​ ไม่สมควรกระทำ​ อาจเข้าข่ายละเมิดมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ครั้งก่อน​​ อาจนำไปสู่การฟ้องร้องเพิกถอนมติที่ประชุม​ หรือระเบียบปฏิบัติชุดใหม่ดังกล่าวได้