เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมีข้อจำกัด

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมีข้อจำกัด

ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้รับรองถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ในข้อที่ 19

แม้ปฏิญญาฉบับนี้จะมิได้มีอำนาจในการบังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตามโคยเคร่งครัด

แต่ถือได้ว่าเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษณ์ฉบับแรก ที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิในการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน การให้ความสำคัญกับการปกป้องและคุ้มครองถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนรวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนเท่านั้น

จึงเป็นเหตุให้เกิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมือง((International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งมีเป้าหมายต้องการให้เกิดผลผูกพันในทางระหว่างประเทศ

ในขณะเดียวกันสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองก็มีข้อจำกัดไว้เช่นกัน เนื่องจากการใช้สิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง มีสิทธิเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่นึงถึงพรมแดน

แต่การใช้สิทธิดังกล่าว ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวจึงมีข้อจำกัดในบางเรื่อง ซึ่งข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณะสุข หรือศีลธรรมของประชาชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ได้ให้การรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างครบถ้วน ดังเช่นที่ได้เคยบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ทั้งนี้ ในส่วนของการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติสอดคล้องตามปฏิญญาสากลด้วยด้วยสิทธิมนุษยชนทุกประการ

การแสดงความคิดเห็นในเวทีชุมชน เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ชุมชน ผู้ร่วมชุมชนย่อมมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามแนวทางที่ต้องการเรียกร้อง หรือสื่อสารให้สาธารณะได้รับทราบ ตามพระราชบัญญัติการชุมชนสาธารณะ พ.ศ.2558

แต่ต้องไม่เป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่เป็นเรื่องเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หากละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นก็ต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามประมวลกฎหมายอาญา การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้เสรีภาพในการพูด กล่าวถ้อยคำ หรือแสดงออก การกระทำดังกล่าวแม้จะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่รัฐต้องให้การรับรองและยอมรับ แต่เมื่อไปกระทบสิทธิของบุคคคลอื่น รัฐก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การคุ้มครองบุคคลอื่นนั้นด้วย จึงได้มีการบัญญัติการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นไว้ เพื่อมิให้บุคคลใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเกินขอบเขต

ประมวลกฎหมายอาญาของไทยได้บัญญัติความผิดฐานหมิ่นประมาท แยกออกเป็น 2 กรณี คือ ความคิดฐานหมิ่นประมาทที่กระทำต่อบุคคลธรรมดา และความผิดฐานหมิ่นประมาทที่กระทำต่อประมุขของรัฐ

ชื่อเสียงจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมภายนอก การทำลายชื่อเสียงจึงถือเป็นการทำลายความสัมพันธ์ภายนอก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมของมนุษย์ เป็นการทำให้บุคคลอื่นที่มีทัศนคติที่ไม่ดีหรือตีคุณค่าของมนุษย์นั้นต่ำลงไป

ชื่อเสียงจึงมีความสำคัญและถือเป็นสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในความผิดฐานหมิ่นประมาท ลำพังแต่ความรู้สึก (Feeling) ของบุคคลที่ถูกหมิ่นประมาท ความรู้สึกโศกเศร้า เสียอกเสียใจ

เมื่อการชุมชนเรียกร้องตามสิทธิได้ใช้สิทธิที่เกินขอบเขตของผู้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นก็ต้องรับผิดชอบในการกระทำความผิด และหากมีผู้อื่นให้การสนับสนุนก็ต้องร่วมกันรับตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้

ในความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงเป็นความฐานผิดที่ตอบสนองความรู้สึกนึกคิดของประชาชนและสังคมไทยมาโดยตลอด และความเป็นความผิดที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและเป็นฐานความผิดที่มิได้ขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ดังนั้น หากการกระทำในลักษณะเป็นการกระทำที่เป็นหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ก็เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีเจตนาที่จะกระทำการอันมิบังควรในลักษณะเป็นการจาบจ้วงล่วงเกินหรือการกระทำที่แสดงความไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ถือเป็นการกระทำโดยมีเจตนาประสงค์ให้ผลเกิดขึ้นหรือย่อมเล็งเห็นให้ผลเกิดขึ้นนั่นเอง

โดย...

รศ.ดร.กรกฎ ทองขะโชค

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ