การวัดผลเปรียบเทียบคะแนนของเด็กนักเรียนทั่วโลก

การวัดผลเปรียบเทียบคะแนนของเด็กนักเรียนทั่วโลก

บทความนี้ เป็นความเห็นเฉพาะผู้เขียนรายงาน เพราะไม่ได้ดูแค่คะแนน PISA ของ OECD แต่ดูคะแนนอื่นๆ

ที่เป็นการวัดผลระดับนานาชาติแล้วนำมาเปรียบเทียบแต่พิจารณารายงานของ International Association for the Evaluation of Educational Achievement ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรของรัฐ หรือ Non-governmental organization ที่ศึกษาแนวโน้มในเรื่องการศึกษาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ของเด็กนักเรียนประเทศต่างๆ เป็นการศึกษาการเรียนการสอนเชิงเปรียบเทียบและผลการทดสอบความสามารถของเด็กทั่วโลกที่เรียนเกรด 4 หรือประถม 4และเกรด 8 หรือ มัธยม 2 ทั่วโลก (ของเราอาจเป็น มัธยม 3)ของธนาคารโลก หรือ World Bank ซึ่งใช้ทั้งคะแนน PISA, TIMSS และคะแนนจากการทดสอบอื่นๆ อีก 5-6 international tests มารวมเป็นดรรชนีหนึ่งเดียว ใช้ข้อมูลระหว่างปี 2015-2018

ธนาคารโลกรายงานว่า เมื่อรวมการทดสอบระดับนานาชาติเฉพาะในปี 2015 แล้วเอามาประมวลใหม่เป็นดรรชนีเดียว พบว่าประเทศที่ได้รับการจัดอันดับจากสูงสุดลงมาคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา เดนมาร์ก เยอรมัน สวีเดน ออสเตรเลีย สหรัฐ อังกฤษ นอร์เวย์ และฝรั่งเศสแต่ถ้ารวม 4 ปี 2015-2018 ประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดคือสหรัฐ รองลงมาคือ สวีเดน อังกฤษ และเกาหลีใต้ นอกนั้นปรับตัวลดลงทั่วโลก รวมทั้งคะแนน PISA ของ OECD ปี 2018 ก็ลดลงในด้านคณิตศาสตร์(math)กับวิทยาศาสตร์ (science)

มีข้อน่าสังเกตุว่า จีนที่มักมีคะแนนการทดสอบนานาชาติสูงมากในเกือบทุกการทดสอบ ไม่ว่า PISA , TIMSS หรืออื่นๆ แล้วทำไมถึงไม่ได้ถูกจัดอันดับให้อยู่ในลำดับต้นๆ เมื่อรวมดรรชนีทั้งหลายเป็นดรรชนีเดียว คำตอบก็คือ จีนนั้นใช้คะแนนการสอบของเด็กเฉพาะบางเมืองที่เป็นเมืองใหญ่มีความเจริญและพัฒนาสูงไม่กี่เมืองมาเป็นคะแนนของประเทศ ไม่ได้ใช้คะแนนสอบของเด็กทั้งประเทศอย่างแท้จริงเหมือนประเทศอื่น จึงไม่แปลกว่าเมื่อนำหลายดรรชนีมาหาค่าเฉลี่ย จึงไม่สามารถเอาจีนมารวมได้พูดง่ายๆ ว่า จีนเลือกเอาคะแนนของเด็กเก่งในเมืองใหญ่มาเปรียบเทียบกับเด็กทั่วโลก เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการเบ้ทางค่าสถิติ (Skew) ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่เป็น normal curve

จากรายงานดรรชนีรวมครั้งนี้ ก็ไม่ปรากฎว่าประเทศสิงคโปร์ที่ใครๆ ก็ชื่นชมว่าเป็นประเทศที่เด็กเก่งมากที่สุดในโลก ติดอันดับ Top ของโลกเช่นกัน ยกเว้นคะแนน PISA ที่สิงคโปร์ยังเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นเดิม

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากรายงานนี้คือความสำคัญของความสามารถในการอ่าน หรือ reading ที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเกินกว่าที่คิดกันโดยทั่วไปเพราะเด็กที่จะทำคะแนนคณิตศาสตร์ (math)และวิทยาศาสตร์ (science)ได้ดีนั้นจะต้องมีความสามารถในการอ่านอย่างเข้าใจ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์โจทย์ทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ได้ในขณะที่บ้านเรา เวลาพูดถึงการอ่าน มักคิดว่าเป็นเรื่องอ่านเอาเรื่อง อ่านเอาใจความ ไม่ได้แสดงถึงความเฉลียวฉลาด หรือ intelligence ไม่เหมือนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่ต้องคิดวิเคราะห์แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้ว ถ้าเด็กไม่สามารถอ่านอย่างเข้าใจในสาระที่จะคิดวิเคราะห์ แล้วเด็กจะสามารถทำโจทย์ที่ต้องคิดวิเคราะห์ดังเช่นโจทย์ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร

คะแนนการอ่านของเด็กไทยดูจะลดต่ำอย่างมากในการจัดอันดับ PISA ปีล่าสุด 2018 ในขณะที่คะแนนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีขึ้นเล็กน้อยคำถามนี้ คงต้องกลับมาถามระบบการศึกษาบ้านเราใหม่เพราะถ้าเด็กไทยไม่มีความสามารถในการอ่านอย่างเข้าใจ การแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่ต้องวิเคราะห์จากที่เข้าใจคงเป็นเรื่องยากการอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญเกินกว่าที่นักการศึกษาคิด

(ปล.เคยเขียนเรื่อง การอ่าน หลายปีมาแล้วในหัวข้อ...ปฏิรูปการศึกษาต้องเริ่มต้นที่การอ่าน...ใครสนใจไปหาอ่านเอาเองจากกูเกิ้ล แล้วจะรู้ว่าการอ่านสำคัญอย่างไร ระดับของการอ่านเป็นอย่างไร เป็นบทความที่มีผู้แชร์มากที่สุดบทความหนึ่งของผมทีเดียว)