มติเจ้าของร่วม​ กับข้อบังคับ​ 'อย่างไหน​ ใหญ่กว่ากัน​ ?'(1)

มติเจ้าของร่วม​ กับข้อบังคับ​ 'อย่างไหน​ ใหญ่กว่ากัน​ ?'(1)

​ *กฎหมายรัฐธรรมนูญ​* ถือเป็นกฎหมายสำคัญ​และสูงสุดของประเทศ​ เมื่อสภาผู้แทนราษฎร​(ส.ส.)​ หรือฝ่ายนิติบัญญัติ​พิจารณาเห็นชอบ

"ร่าง" พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ฉบับใด​ ฉบับหนึ่ง​ มาตรา​ ข้อกำหนด​ ประกาศ​ หรือระเบียบ​ ข้อบังคับ​ ที่ออกตามความของ พ.ร.บ.จะต้องสอดคล้องกันทั้งสิ้น​ หากขัด​หรือแย้งต่อพ.ร.บ.​ หมายความว่าข้อกำหนด​ประกาศ​หรือระเบียบ​ข้อบังคับดังกล่าว​จะไม่มีผลใช้บังคับ​(โมฆะ)​ ทั้งนี้​ หากการใช้ระเบียบ​ ประกาศ​ ข้อกำหนด​ ข้อบังคับใด​ ที่ขัด​หรือแย้ง อาจเกิดผลเสียหายหลายด้าน​ อาทิ​ ความไม่สงบเรียบร้อย​ การกระทำความผิด​ หรือ การละเมิดบุคคล​ นิติบุคคลอื่น​ อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร​ ประชาชน​ และประเทศชาติได้ในที่สุด

อย่างไรก็ดี​ ประเด็นข้างต้น​อาจไม่แตกต่างจากระบบอาคารชุด​ ภายใต้ พ.ร.บ.อาคารชุด เมื่ออาคารแห่งใด​ได้รับการจดทะเบียนเป็นอาคารชุด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" ซึ่ง พ.ร.บ.อาคารชุดกำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจ​หน้าที่พิจารณาจดทะเบียนอาคารชุด​ ออก​ หรือจัดทำหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุด​ หรือ​ อ.ช.๑๐​ ให้แก่ผู้ขอ​ ผู้ประกอบการ​ หรือเจ้าของอาคารแล้ว​ นอกจากการประกาศการจดทะเบียนให้แก่สาธารณะรับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว​ พนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" ยังจำเป็นต้องมีหนังสือแจ้ง​ สถาบันการเงิน​ บุคคล​ หรือ นิติบุคคล​ ที่เกี่ยวข้องในฐานะ "เจ้าหนี้จำนอง" ให้รับทราบเรื่องดังกล่าวด้วย​

อีกทั้งต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหน้าจำนองดังกล่าว​ (ถ้ามี)​ เพื่อจัดทำ​หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด​ (อ.ช.๒)​ แต่ละห้องชุด​ เพื่อใช้ จดทะเบียนสิทธิ​ นิติกรรม​ การโอนกรรมสิทธิ์​ ฯลฯ​ ระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์​กับผู้จะซื้อ​ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับห้องชุดในคราวถัดไป​ ทั้งนี้​ การจดทะเบียนอาคารชุด​ของพนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" ถูกกำหนดให้จัดทำเป็นระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนอาคารชุด​ ออกตามความของพ.ร.บ.อาคารชุดให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" (ทั่วประเทศ)​ ใช้เป็นแนวทางดำเนินการ

อย่างไรก็ดี​ เมื่อได้รับการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว​ *โฉนดที่ดิน* ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารชุด​ จะถูกจัดเก็บไว้ในสารบบของกรมที่ดิน​ และตีตราแดง​ ห้ามจำหน่าย​ จ่าย​ หรือโอนกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินดังกล่าว​ หมายความว่า โฉนดที่ดิน​จะไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป​ จนกว่าโครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ จดทะเบียนเลิกอาคารชุด​ ตามข้อบังคับ​และกฎหมาย​ แต่ในทางตรงกันข้าม​ หากไม่กำหนดระเบียบการจดทะเบียนอาคารชุด ในลักษณะดังกล่าว​ อาจมีบุคคล​ หรือนิติบุคคล นำโฉนดที่ดินไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ​ ส่งผลเสียหายแก่ผู้ซื้อ​ รวมทั้งความไม่สงบ​ ความเรียบร้อยกับโครงการ​ หรือนิติบุคคล อาคารชุด​ เป็นต้น

ปัจจุบัน​ ระบบอาคารชุด​คอนโดมิเนียม​ทั่วประเทศ​ เมื่อโครงการฯได้รับการจดทะเบียนฯแล้ว​ จะถูกกำหนด ให้อาคารชุด​คอนโดมิเนียม​แต่ละแห่ง​​ ต้องจัดให้มีข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด​ ใช้ควบคุม​ดูแล​การใช้ประโยชน์ทรัพย์ส่วนบุคคล​ ได้แก่​ ห้องชุด​ ฯลฯ​ ทรัพย์ส่วนกลาง​ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ​ การบริหารนิติบุคคลอาคารชุด​ การจดทะเบียนเลิกอาคารชุด​ ฯลฯ​ เป็นต้น​ เพื่อให้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง​ ทั้งผู้ขาย​เจ้าของโครงการ​ ผู้ซื้อ​ เจ้าของร่วม​ ผู้พักอาศัย​ และพนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" สามารถใช้ข้อบังคับดังกล่าว​ เป็นแนวทางการอยู่อาศัยร่วมกันให้เกิดความสงบ​ เกิดความเรียบร้อย​ และจดทะเบียนมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ คณะกรรมการ​ ผู้จัดการ​ แก้ไข​ เพิ่มเติมข้อบังคับ​ หรือการยกเลิกอาคารชุดได้อย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ดี​ อาจมิใช่เพียงการกำหนดให้มีข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด​ เพื่อการกำกับ​ ควบคุม​ ดูแล​ การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน​ การจดทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" เพียงอย่างเดียว​ ระบบอาคารชุด​ คอนโดมิเนียม​ ยังอาจกำหนด​โดยการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ ตามที่นิติบุคคลอาคารชุด​ จัดการประชุมใหญ่สามัญ​ หรือวิสามัญเจ้าของร่วมแต่ละครั้ง​ แต่ละกรณี​ ทั้งนี้​ เพื่อนำมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมใช้บังคับแก่ผู้ขาย​ ผู้ซื้อ​ และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

มติเจ้าของร่วม​ (Co​ Owners​ Resolutions)​ กับข้อบังคับ​ (กฎหมาย)​ (Rules &​ Regulations)​ อย่างไหน​ ใหญ่กว่ากัน​ ? บางท่านอาจกล่าว​ มติเจ้าของร่วมที่เกิดจากการประชุมใหญ่​ ใหญ่กว่าข้อบังคับ​ หรือบางท่านกล่าว​ ข้อบังคับใหญ่กว่ามติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ เป็นต้น

(โปรดติดตาม ตอน2)