เส้นทางสายไหมยุคโบราณและยุคกลาง

เส้นทางสายไหมยุคโบราณและยุคกลาง

เราจะพบคำถามที่ท้าทายมากมาย ถ้าเรามองระบบเศรษฐกิจโลกเป็น 5,000 ปี แทนที่จะเป็น 500 หรือ 200 ปี แม้เส้นทางสายไหม

 โดยเฉพาะในเชิงปริมาณหรือเมื่อคำนึงถึงความไม่ถาวร ความไม่ต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนเส้นทางสายไหม พูดอีกอย่างหนึ่ง คือก่อนคริศตวรรษที่ 11 การค้าระหว่างเอเชียไม่มีความต่อเนื่อง แต่ระยะเวลาที่ยาวไกล 2,000-2,500 ปีของการเปลี่ยนแปลงในเครือข่ายของการค้าการแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสินค้า คน ความคิด ความเชื่อ ทำให้เราสามารถตั้งเป็นคำถาม การได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและคำอธิบาย กระบวนการโลกาภิวัฒน์ในสมัยโบราณ ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ 

เช่น เพียงแค่ 1000 ปี หรือ ปี ค.ศ.1000 ยุโรปล้าหลังกว่าประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณเมโสโปเตเมีย ล้าหลังกว่าอินเดียและจีน วิทยาการความรู้ทางเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ ยุโรปรับจากแหล่งต้นน้ำคืออิสลาม อินเดียและจีน ความล้าหลังของยุโรปน่าจะเห็นได้จากการที่กองทัพอิสลามไม่สนใจยุโรปเท่ากับเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย เอเชียกลางจนถึงจีนตอนเหนือ จริงอยู่อาจจะมีปัจจัยทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีโครงสร้างการป้องกันทางธรรมชาติจากการรุกเข้ามาของอิสลามหรือชนเผ่าเร่ร่อน Nomad หรือยิ่งย้อนนานไปอีก 1,000 ปี 320 ปีก่อนคริตกาลเมื่อ Alexander the Great ขึ้นครองราชย์ ยุโรปไม่เคยอยู่ในแผนของการขยายจักรวรรดิ แน่นอนเพราะยุโรปไม่มีอะไรที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับความเจริญ ความอลังการของอียิปต์ เปอร์เซีย บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอินเดีย เอเชียกลางหรือแม้กระทั่งจีน

แน่นอนว่าในการศึกษาอารยธรรม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความรู้วิทยาการเทคโนโลยีของยุคโบราณมาจนถึงยุคกลางปลาย ๆ เช่น การสิ้นสุดของจักรวรรดิมองโกลในปลายศตวรรษที่ 14 ดูเหมือนเราจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นกระบวนการโลกานุวัฒน์อีกรูปแบบหนึ่งเหมือนที่เราสังเกตุสัมผัสในปัจจุบัน แน่นอนว่ามันไม่มีทางเหมือนกันทั้งขนาด ความเร็ว ความรู้ เทคโนโลยีมันยังต่างกันมาก ยังไม่ต้องพูดถึงอินเตอร์เน็ต เมื่อเทียบกับสมรรถนะของเรือสำหรับการค้าทางทะเล ยังไม่ต้องเทียบกับการขนถ่ายสินค้าโดยกองคาราวานอูฐ ระยะทางเป็นร้อยเป็นพันไมล์ ไม่ต้องพูดถึงความปลอดภัย อันตราย การปล้นสะดม รวมทั้งสงครามระหว่างเผ่า Nomad กับรัฐต่าง ๆ สงครามระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือการล้มตายซึ่งเกิดจากการติดต่อของโรคระบาดต่าง ๆ ซึ่งถ่ายทอดกันมาบนถนนสายไหมเพราะมีการติดต่อค้าขาย เดินทาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เด่นมากใน 1,000 ปีแรกหลังคริตกาลเมื่อถนนสายไหมรุ่งเรือง มนุษย์มีการเชื่อมโยงติดต่อกันในขณะที่ภูมิต้านทานของแต่ละฝ่ายยังมีต่ำ เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ว่าในช่วง 1,000 ปีนี้ประชากรในแถบยูเรเซียไม่เพิ่มขึ้นเลย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะสงครามระหว่างประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ หรือเกิดการกบฏ หรือพวก Nomad จากแหล่งต่าง ๆ ในยูเรเซียตั้งแต่ในตะวันออกกลางไปจนถึงเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เช่น ได้แก่พวก Scythian Parthian หรือพวกฮั่น หรือพวกเติร์ก จากทางเหนือของจีนตามลำดับ เป็นต้น จักรวรรดิหนึ่งล่มสลายมีจักรวรรดิใหม่เข้ามามีอำนาจ ไม่ว่าพื้นที่ในแถบยูเรเซียจะทุรกันดานเต็มไปด้วยทะเลทรายสลับไปกับพื้นที่ดินแดนที่เป็นโอเอซิส หรือพื้นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ที่เป็นทุ่งสเตปป์ ซึ่งความโหดร้ายและความเป็นนักรบที่เก่งกาจของพวก Nomad นำมาซึ่งความน่าสะพรึงกลัวสำหรับชุมชนเกษตรกรรมที่ตั้งหลักปักฐาน หรือไม่ว่าผู้ปกครองผู้นำหรือปราชญ์ของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน โรมัน อิสลามหรืออินเดีย มีแนวโน้มที่จะไม่สนับสนุนยกย่องชนชั้นพ่อค้า หากำไรหรือสะสมทุนเมื่อเทียบกับชนชั้นนักรบ หรือเกษตรกรชาวนา

แต่สิ่งที่เราพบจากสังคมเศรษฐกิจโบราณก็คือว่า เมื่อเวลาผ่านไปในระยะยาว พรหมแดน ศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ ไม่สามารถขัดขวางความต้องการของมนุษย์ที่จะค้าขายแลกเปลี่ยน เลียนแบบสิ่งดี ๆ ที่น่าสนใจของแต่ละชุมชน รัฐหรือประเทศ คนที่ไม่มีรัฐ เช่น พวกเร่ร่อนในยูเรเซีย แม้มีความถนัดในการทำลาย ปล้นสะดมบนเส้นทางสายไหม ขณะเดียวกันก็พอใจที่จะเอาอูฐและม้าที่มีมูลค่าสูงมาแลกกับไหม เสื้อผ้า อาหารจากผู้ปกครองมุสลิมหรือจีน หรืออินเดีย มีตัวอย่างของหัวหน้าเผ่าเร่ร่อนที่นำไหมมาขายต่อให้แก่คนอีหร่านได้กำไรไปหลายเท่าตัว ด้วยเหตุนี้ในช่วง 1000 ปีแรกหลังคริสตกาล ดุลยภาพที่เกิดขึ้นในอารยธรรมที่อิงอยู่กับการเกษตรระหว่างชนเร่ร่อนกับรัฐ ระหว่างรัฐต่อรัฐ จึงเกิดขึ้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการก่อตัวของเครือข่าย การค้า การแลกเปลี่ยนบนเส้นทางสายไหมในแผ่นดินยูเรเซีย ตรงกับที่อาดัมสมิทธเคยพูดไว้ว่า “There is propensity for men to barter and truck”

แต่ถนนสายไหมและโลกาภิวัฒน์ในช่วง 2000 ปีที่ผ่านมาไม่ได้จำกัดอยู่ที่การค้าในสินค้า การติดต่อการเดินทางของผู้คน มีการแข่งขันที่สำคัญคือการเผยแพร่ศาสนา ความเชื่อ การแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้วิทยาการโดยกลไกลต่าง ๆ