Innovation Made Easy

Innovation Made Easy

หลายคนถาม อยากเป็นเจ้าของ Content บ้างต้องทำอย่างไร? คำตอบง่าย ๆ คือ ต้องขยันคิด

ซีอีโอบอกผมว่า ปัจจัยที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกผมให้ข้ามประเทศมาร่วมทีมคือ You can create content คุณสามารถสร้างเนื้อหาเป็นของตัวเอง And you are not afraid to try และคุณไม่กลัวที่จะลองผิดลองถูก ลำพังแค่สอนเก่ง พูดอังกฤษได้ และหน้าตาดี (อันนี้ผมเติมเอง) ไม่พอหรอก

หลายคนถาม อยากเป็นเจ้าของ Content บ้างต้องทำอย่างไร? คำตอบง่าย ๆ คือ ต้องขยันคิด

เทคนิคการสร้างเนื้อหาคือ ต้องหมั่นมองสิ่งต่างๆ รอบตัว แล้วตั้งคำถาม เช่น ทุกคนบอกว่า Innovation สำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ แต่น้อยองค์กรจะพูดได้อย่างเต็มปากว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นนวัตกร

ผมเพิ่งไปเยี่ยมองค์กรระดับสากลแห่งหนึ่ง ระดับผู้จัดการยังบอกว่า “แค่ทำงานไปวัน ๆ ก็เหนื่อยจะแย่แล้ว จะให้คิดอะไรอีกนักหนา”

นี่ขนาดองค์กรระดับโลกนะ คนยังคิดอย่างนี้ นับประสาอะไรกับองค์กรขนาดย่อย ๆ รอง ๆ ลงมา

จากข้อสังเกต ไปสู่คำถาม ไปสู่สมมติฐาน “เป็นไปได้ไหมว่าสาเหตุที่คนไม่อยาก innovate เพราะเราทำเรื่อง innovation ให้เป็นเรื่องยาก”

ผู้เขียน Blog innovationinpractice.com บอกว่า “องค์กรมักทำให้นวัตกรรมดูเป็นสูตรลับที่ต้องค้นหาและปลดปล่อย” a mystique about innovation and creativity as though it is a deeply hidden secret that needs to be unleased.

หากเราลองคิดใหม่ล่ะ คิดว่า Innovation เป็นเรื่องง่าย เหมือนร้าน Daiso (หรือ Donqui ที่เพิ่งเปิดหมาด ๆ)

จากตรงนี้เราก็ต่อยอดไปได้อีกไกล ลองดู 10 ข้อคิดของหลักสูตร Innovation Inside-Out นะครับ

1) Innovation ≠ Technology แม้ 2 สิ่งนี้เกี่ยวกัน แต่นวัตกรรมไม่ใช่เทคโนโลยี แม่บ้านธรรมดา ๆ ทีมหนึ่งสามารถคิดวิธีลดใช้จำนวนช้อนกาแฟได้ ประหยัดทั้งน้ำล้าง ประหยัดทั้งการจัดซื้อ

2) Innovation ≠ Process การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่กระบวนการแต่คือความหมั่นคิดและหมั่นทำ เช่น Kaizen ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นระบบ จริง ๆ มันคือการสร้างนิสัยให้ทุกคนช่วยกันคิดช่วยกันทำได้ต่างหา

3) Innovation ≠ Big Idea หลายองค์กรมักทำนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใหญ่ จัดประกวดแข่งขันหาทีมที่ชนะ แม้ตัวช่วยเหล่านี้ทำให้การผลักดันด้าน Innovation ดูเป็นรูปธรรมก็จริง แต่มีเพียงคนส่วนน้อยที่เข้าร่วม และบางครั้งทำให้ทีมที่ไม่ชนะเสียกำลังใจ

4) Innovation ≠ Me เราให้ความสำคัญกับคนที่ “คิดได้” จนแรงกดดันตกอยู่กับพนักงานในการสร้างนวัตกรรม จนกลายเป็นแรงต้านซึ่งทำให้พนักงานไม่อยากเป็นนวัตกร ลองไปดูสิครับ หลักสูตรนวัตกรรมในองค์กรมีคนอยากลงเรียนกี่คน ไม่ใช่เพราะไม่สนใจ แต่กลัวว่าถ้าเรียนแล้วเดี๋ยวกลับมา “ต้องทำ”

5) Innovation ≠ Big Idea หลายองค์กรมักทำนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใหญ่ จัดประกวดแข่งขันหาทีมที่ชนะ ตัวช่วยเหล่านี้ทำให้เรื่องการผลักดันด้าน Innovation ดูเป็นรูปธรรมก็จริง แต่มันสร้างได้แค่คนส่วนน้อยที่เข้าร่วม และบางครั้งทำให้ทีมที่ไม่ได้ชนะเสียกำลังใจ

6) Innovation ≠ Die นวัตกรรมบนความหวังดีกว่านวัตกรรมบนความตระหนก จริงอยู่สัญชาติญาณการเอาตัวรอดอาจทำให้สมองตื่นตัว แต่มันเป็นการกระตุ้นแค่ชั่วคราว สมองที่สร้างสรรค์ทำงานได้ดีบนความรู้สึกบวก งั้นหากขู่แล้วไม่ได้ผลลองใช้ความหวังดูบ้างไหม

7) Innovation ≠ Invent การคิดค้นของใหม่ไม่ใช่วิธีเดียวสู่นวัตกรรม ในยุค 4.0 แบบ Open Source เรามีทรัพยากรมากมายอยู่แล้วที่รอการปะติดปะต่อ ลองคิดเชิงประยุกต์แทนการคิดเชิงประดิษฐ์ มีอะไรอยู่แล้วบ้างที่นำมาผสมกันได้ให้เกิดคุณค่าใหม่

8) Innovation ≠ Talent ความเชื่อผิด ๆ คือนวัตกรรมถูกผูกให้อยู่กับความเก่ง คนฉลาด ๆ เท่านั้นจึงจะคิดสิ่งใหม่ได้ มันอาจจะจริงอยู่บ้าง แต่ในยุคปัจจุบันที่คนเก่งหายากและอยู่ไม่ทน ลองเปลี่ยนวิธีมาสร้างนวัตกรรมจากความคิดแทน ลงทุนกับการเฟ้นหาความคิดดี ๆ ในองค์กรที่มาจากใคร ๆ ก็ได้

9) Innovation ≠ Hardware เมื่อ 5 ปีที่แล้วผมเคยเลิกสอนหัวข้อนวัตกรรม เพราะรู้ว่าสำหรับคนทั่วไปอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ การจะคิดค้นอะไรใหม่ ๆ เป็นเรื่องเกินตัว ตอนนี้กลับมาหามันอีกครั้งเพราะคิดว่าสิ่งแวดล้อมพร้อมแล้ว เหลือเพียง Heartware เท่านั้นที่รอการจุดประกาย

10) Innovation ≠ Impossible นำ 9 ข้อนี้มาร้อยเรียงกัน เราจะเห็นว่าการ Innovate ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงรู้ทันเทคโนโลยี เปลี่ยนทัศนคติ ใส่ใจในเรื่องเล็ก ๆ ใกล้ ๆ ตัว ช่วยคนอื่นต่อยอดไอเดีย โฟกัสที่ความคิดไม่ใช่บุคคล จงเชื่อว่า

เราสามารถมีส่วนร่วมสร้างนวัตกรรม เพื่ออนาคตใหม่ที่ดีขึ้น เท่านี้ก็เป็นไปได้แล้ว

ส่วนแบบฝึกหัดของคนอยากโกอินเตอร์ ลองหาทางสร้างคอนเทนท์ของตัวเองด้วยการสังเกต ตั้งสมมติฐาน หาข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างมุมมองที่แตกต่างครับ