อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้า

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้า

“แฟรนไชส์” เป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจ นักธุรกิจอาจลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาบริหาร หรืออาจเลือกขยายธุรกิจ ด้วยการ

ขายแฟรนไชส์ อาจมีคนเข้าใจผิดคิดว่าแฟรนไชส์เป็นธุรกิจจำหน่ายชุดเปิดร้านที่ประกอบด้วยการตั้งชื่อ และโลโก้ จัดเตรียมอุปกรณ์และตกแต่งหน้าร้าน จำหน่ายวัตถุดิบ และสอนกระบวนการผลิตหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ จริงๆ แล้ว แฟรนไชส์เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่เจ้าของสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใช้ประโยชน์ในการขยายธุรกิจโดยการตกลงให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาไปดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์เจ้าของสิทธิ์

เจ้าของธุรกิจอาจเริ่มต้นจากการผลิตสินค้า แล้วทำธุรกิจแบบลองผิดลองถูก แก้ไขข้อผิดพลาด เรียนรู้ ล้มเหลวและพัฒนาไปจนประสบความสำเร็จ การเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างนี้ย่อมนำมาซึ่งความภาคภูมิใจและนำมาซึ่งผลตอบแทนที่คุ้มค่า การดำเนินธุรกิจเช่นว่านี้อาจจะเหมาะกับผู้ที่กล้าจะเผชิญความเสี่ยงและพร้อมที่จะใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างบทเรียนจากความผิดพลาด แต่สำหรับผู้ประกอบการที่มีทรัพยากรจำกัดและไม่พร้อมที่จะล้มเหลวอาจทำธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ

ในการตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์โดยพิจารณาว่าทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องใดที่ทำให้ตัดสินใจเลือกธุรกิจนั้น เช่น ธุรกิจนั้นมีแบรนด์ที่ดีและเป็นที่รู้จัก หรือธุรกิจนั้นจำหน่ายสินค้า ให้บริการ หรือมีกระบวนการผลิตและดำเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะ เหนือสิ่งอื่นใด แฟรนไชส์นั้นจะต้องมีคุณภาพการบริหารจัดการได้มาตรฐาน หากธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการจากองค์กรที่เชื่อถือได้ ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจได้มากยิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ควรผ่านการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

สำหรับการขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการขายแฟรนไชส์นั้น ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจและโดดเด่นจูงใจให้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์อาจมีแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เติบโตเกินกว่ากำลังที่จะขยายสาขาเองได้ มีผลิตภัณฑ์หรือบริการ กระบวนการผลิตและดำเนินการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วัตถุดิบ หรือภูมิปัญญาที่เป็นลักษณะเฉพาะชองธุรกิจ หรือมีสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในกรณีที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศจะต้องดำเนินการคุ้มครองสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศนั้นๆ ด้วย

นอกจากธุรกิจจะต้องมีจุดเด่นจูงใจแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่ดำเนินการเอง ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องกำหนดกระบวนการที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะสามารถดำเนินการได้ตามต้นแบบ เช่น การจัดทำคู่มือการดำเนินงาน การฝึกอบรม และการกำหนดระบบการควบคุมมาตรฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องกำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ละเมิดสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของธุรกิจ ภายหลังการสิ้นสุดสัญญา หากไม่เช่นนั้นแล้ว การทำแฟรนไชส์จะก็จะกลายการถ่ายโอนความรู้เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปเปิดกิจการเอง ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อการรักษาฐานลูกค้า

การทำแฟรนไชส์ก็เปรียบเสมือนการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ธุรกิจต้องออกแบบระบบการดำเนินงานเพื่อควบคุม สนับสนุน และข่วยเหลือให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถดำเนินการได้มาตรฐานเทียบเท่าที่สาขาดำเนินการ ดังนั้น ธุรกิจควรมีประสบการณ์บริหารสาขา และการพัฒนาระบบการบริหารและควบคุมคุณภาพให้เรียบร้อย ก่อนที่จะปรับใช้ในการบริหารและควบคุมคุณภาพมาตรฐานในระบบแฟรนไชส์ แม้การทำแฟรนไชส์จะช่วยเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องลงทุนเปิดสาขาเอง แต่หากธุรกิจขาดการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพการดำเนินงาน ผลประโยชน์ทางการเงินอาจไม่คุ้มค่ากับแบรนด์หรือชื่อเสียงที่อาจเสียไปและยากที่จะเยียวยา

การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จจึงต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน ธุรกิจจำเป็นต้องตรวจประเมินและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริหารจัดการ เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจ ผมขอแนะนำโครงการ Thailand Franchise Standard 2016 ซึ่งจะมีงานสัมมนาในวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00-16.00 น.ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้าชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

กำไรต่อที่ 1: รับโอกาสตรวจเช็คศักยภาพธุรกิจโดยกูรูด้านการพัฒนาธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเนชั่น

กำไรต่อที่ 2: รับคำปรึกษา แนะนำการพัฒนาธุรกิจ ถึงสถานประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กำไรต่อที่ 3: เพิ่มโอกาสการสร้างเครือข่าย ได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจ

กำไรต่อที่ 4: เสริมทัพความน่าเชื่อถือ ด้วยการประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กำไรต่อที่ 5: อาจได้คัดเลือกให้เผยแพร่ธุรกิจผ่านสื่อในเครือเนชั่นที่มีผู้อ่านทั่วประเทศ

ท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียด สำรองที่นั่ง และ สมัครเข้าโครงการได้ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น โทรศัพท์ 02 338 3861 หรือ 081 358 4786 Email: [email protected]

---------------------

อ.ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น