นโยบายการเงิน กระสุนที่เหลืออีก 7 นัด

นโยบายการเงิน กระสุนที่เหลืออีก 7 นัด

ปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่การดำเนิน “นโยบายการเงิน” มีความท้าทายเป็นอย่างมาก

       ถ้าจำได้ปลายปีที่แล้ว “

นักเศรษฐศาสตร์

      ” ส่วนใหญ่ ประเมินตรงกันว่า ในปีนี้ “ดอกเบี้ยนโยบาย” ของไทย มีแนวโน้ม 

คงกับ ขึ้น

       ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

แต่เอาเข้าจริงยังไม่ทันสิ้นไตรมาสแรกของปีดี การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2558 ก็สร้าง “เซอร์ไพร์ส” ให้กับตลาดเงิน ด้วยมติ “4 ต่อ 3” เห็นชอบให้ “ลด” ดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.75% เป็นการลดดอกเบี้ยลงครั้งแรกในรอบ 1 ปีเต็ม

เหตุผลการปรับลด “น้ำหนัก” ส่วนใหญ่เน้นไปที่การ “พยุงความเชื่อมั่น” ของภาคเอกชน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ขณะเดียวกันยังมองว่า การลดดอกเบี้ยจะช่วย “บรรเทา” ภาระทางการเงินให้กับภาคธุรกิจที่มี “ภาระหนี้” และได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยยังช่วย “รักษาความน่าเชื่อถือ” ของการดำเนิน “นโยบายการเงิน” ในภาวะที่ “เงินเฟ้อทั่วไป” ติดลบ และน่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อ(ที่ 1%)ไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเห็นของ กนง. เสียงส่วนใหญ่ 4 ท่าน

ส่วนความเห็นของ กนง. อีก 3 ท่าน ที่ลงมติให้ “คง” ดอกเบี้ยเอาไว้ ท่านเหล่านี้ให้ “น้ำหนัก” ในเรื่อง “ประสิทธิผล” ของการปรับลดที่มองว่า “มีจำกัด” เพราะการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระหนี้สะสมที่สูง และภาคธุรกิจที่เลื่อนการลงทุนออกไป ก็ด้วยเหตุผลว่า ต้องการรอการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้งบางส่วนยังมีกำลังผลิตส่วนเกินที่สูงอยู่ ดังนั้นแม้ดอกเบี้ยจะลดลงก็คงไม่ได้ช่วยมากนัก

นอกจากนี้การ ผ่อนคลาย” นโยบายการเงินเพิ่มเติม อาจสร้างความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ เช่น การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาวได้ ขณะเดียวกันยังส่งผลต่อการออมของประเทศด้วย

โดยรวมแล้ว กนง. ทั้ง 3 ท่านมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน เพียงพอต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบัน ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังเป็นหลัก ดังนั้นในส่วนของนโยบายการเงิน จึงควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย(Policy space) ไว้ใช้ยามที่จำเป็น เพราะมองไปข้างหน้าตลาดเงินโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก

อย่างไรก็ตามในความเห็นของ กนง. ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เสนอให้ลดหรือเสนอให้คง ต่างมี “มุมมองเดียวกัน” ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่คาด เพราะการขับเคลื่อนของ “ภาครัฐ”  ไม่ได้มาตามนัด ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคเอกชนเปราะบางมากขึ้น

 ผมเองเชื่อว่าความเห็นของ กนง. ทุกท่าน น่าจะมองตรงกันว่า การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง คงไม่ได้ช่วยฟื้นเศรษฐกิจใน ทางตรงมากนัก เพียงแต่ มติที่ออกมา ต่างกันน่าจะเป็น ความเห็นที่มีต่อ ผลทางอ้อมของการฟื้นตัวมากกว่า ..เพราะเหตุผลหลักที่ให้ไว้ในการปรับลดครั้งนี้ ก็ชัดเจนว่าเพื่อ พยุงความเชื่อมั่นภาคเอกชน

คำถามที่น่า “คิดต่อ” คือ ดอกเบี้ยที่ปรับลง เพียงพอต่อการ ฟื้นเศรษฐกิจหรือไม่?

นักเศรษฐศาสตร์ระดับ “อาจารย์” ท่านหนึ่ง บอกกับผมว่า อย่าไปคิดว่ากระสุน (ดอกเบี้ย) เรามี 7 นัด(1.75%) เพราะถ้าดอกเบี้ยลดต่ำกว่า 1% หรือใกล้ศูนย์ ก็ไม่มีผลแล้ว และกระสุนถ้าจะยิงให้ได้ผล ต้องยิงต่อเนื่อง ไม่ใช่ยิงทีเดียวแล้วหยุด แต่คำถาม คือ เวลานี้ถึงจุดที่ควรต้องยิงต่อเนื่อง เป็นชุดหรือไม่ อาจารย์ท่านนี้ บอกกับผมด้วยว่า ทางที่ดีควร เก็บกระสุน” เอาไว้ก่อน เพราะหนทางข้างหน้ายังมี “ช็อก” อีกเยอะ โดยเฉพาะช็อกที่มาจากเศรษฐกิจจีน ช็อกนี้อาจรุนแรงกว่าที่ใครหลายคนคาดการณ์เอาไว้ก็ได้!