ยอดขายรถยนต์ร่วง หวังไฟแนนซ์ผ่อนคลายเงื่อนไข ฟื้นตลาด  ปิกอัพหดตัวแรง

ยอดขายรถยนต์ร่วง หวังไฟแนนซ์ผ่อนคลายเงื่อนไข ฟื้นตลาด  ปิกอัพหดตัวแรง

ยอดขายรถยนต์ ยู่ในช่วงยอดขายถดถอย จากปัจจัยลบหลายอย่าง รวมถึงความเข้มงวดของไฟแนนซ์ โดยเฉพาะตลาดปิกอัพ แต่ก็มีความหวังว่าหลังจากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำงานอย่างเป็นทางการย

ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม 2566 มียอดขาย 60,234 คัน ลดลง 11.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว

โดยผลกระทบหลักมาจากการถดถอยของตลาดรถปิกอัพที่ติดลบ 32.6% จากยอดขาย 24,622  คัน ขณะที่รถยนต์นั่งยังอยู่ในความต้องการของลูกค้า มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง  23,645 คัน เพิ่มขึ้น 4.9% 

การที่ภาพรวมตลาดเดือนสิงหาคมติดลบ 11.7% เป็นผลมาจากปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจที่ยังไม่ลื่นไหล ทำให้ผู้ภาคธุรกิจ และประชาชน ชะลอการสินใจซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจขนส่ง 

รวมถึงการที่สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากความกังวลต่อภาวะหนี้เสียที่เป็นผลต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา

ส่วนทิศทางตลาดเดือนกันยายนมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้คล่องตัวขึ้น 

และหากสถาบันการเงินผ่อนปรนความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เชื่อว่าจะช่วยขับเคลื่อนตลาดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ก่อให้เกิดความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีเ พื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

สำหรับ ยอดจำหน่าย 3 อันดับแรกในแต่ละตลาด 

ตลาดรถยนต์รวม 60,234 คัน ลดลง 11.7 %

  • โตโยต้า 20,871 คัน ลดลง 10.6 % ส่วนแบ่ง 34.6%
  • อีซูซุ 11,380 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่ง 18.9%
  • ฮอนด้า 7,084 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่ง 11.8%

รถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,645 คัน เพิ่มขึ้น 4.9 %                                  

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,346 คัน เพิ่มขึ้น 12.7% ส่วนแบ่ง 35.3%
  • ฮอนด้า 4,348 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่ง 18.4%
  • มิตซูบิชิ 929 คัน ลดลง 41.6% ส่วนแบ่ง 3.9%

รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 36,589 คัน ลดลง 19.9%                                 

  • โตโยต้า 12,525  คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่ง 34.2%
  • อีซูซุ 11,380 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่ง 31.1%
  • ฟอร์ด 2,956 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่ง8.1%

รถปิกอัพ 19,561 คัน ลดลง 36.3%                                 

  • อีซูซุ 8,423 คัน ลดลง 35.0% ส่วนแบ่ง 43.1%
  • โตโยต้า 7,967 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่ง 40.7%
  • ฟอร์ด 1,826 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่ง 9.3%     

รถพีพีวี 5,061 คัน 

โตโยต้า 2,047 คัน

  • อีซูซุ 1,576 คัน 
  • ฟอร์ด 1,130  คัน
  • มิตซูบิชิ 232 คัน
  • นิสสัน 76 คัน

ส่วนภาพรวมตลาดสะสม เดือน มกราคม – สิงหาคม รวม 524,784 คัน ลดลง 6.2%  

  • โตโยต้า 178,151 คัน ลดลง 4.0% ส่วนแบ่ง 33.9%
  • อีซูซุ 109,396 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่ง 20.8%
  • ฮอนด้า 60,769 คัน เพิ่มขึ้น 11.5% ส่วนแบ่ง 11.6%

รถยนต์นั่ง 194,243 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%                                 

  • โตโยต้า 67,435 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% ส่วนแบ่ง 34.7%
  • ฮอนด้า 39,695 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่ง 20.4%
  • มิตซูบิชิ 11,593 คันลดลง  20.4% ส่วนแบ่ง 6.0%

รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ)  330,541 คัน ลดลง 13.5%                     

  • โตโยต้า 110,716 คัน ลดลง 17.5% ส่วนแบ่ง 33.5%
  • อีซูซุ 109,396 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่ง 33.1%
  • ฟอร์ด 25,827 คัน เพิ่มขึ้น 11.4% ส่วนแบ่ง 7.8%

รถปิกอัพ  189,555 คัน ลดลง 26.8%

  • อีซูซุ 83,654 คัน ลดลง  29.5% ส่วนแบ่ง 44.1%
  • โตโยต้า 75,061 คัน ลดลง  23.9% ส่วนแบ่ง 39.6%
  • ฟอร์ด 17,493 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่ง 9.2%     

 รถพีพีวี 43,001 คัน 

  • โตโยต้า 15,585 คัน 
  • อีซูซุ 15,206 คัน 
  • ฟอร์ด 8,334 คัน 
  • มิตซูบิชิ 3,038 คัน  
  • นิสสัน 838 คัน