ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

ฮุนได เข้ามาในไทยยาวนาน แต่ตลาดยังมีขนาดเล็ก แต่ฮุนได กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อบริษัทแม่เกาหลีตัดสินใจเข้ามาดำเนินธุรกิจเอง เล็งศึกษาแผนประกอบรถ ตลาดอีวี ปีนี้มีรถทำตลาดอย่างน้อย 5 รุ่น ประเดิมเปิดตัว สตาร์เกเซอร์ (Stargazer) งานมอเตอร์โชว์

ฮุนได (Hyundai) เข้ามาทำตลาดในไทยผ่านตัวแทนจำหน่ายทั้งกลุ่มทุนของไทย และกลุ่มทุนญี่ปุ่น โซจิทซ์ คอร์ปอเรชัน  บริษัทเทรดดิ้งชั้นนำ ร่วมทุนกับ บริษัท อาปิโก้ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ที่มีเจ้าของเป็นนักธุรกิจมาเลเซีย เปิดดำเนินการในนามบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งแต่ปี 2549 

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่น่าสนใจ เพราะฮุนได เกาหลี เข้ามาลงทุนเองโดยตรงด้วยการตั้ง “บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด” เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ซึ่งนั่นนอกจะเป็นการบ่งบอกว่าถึงความสนใจในตลาดเมืองไทยอย่างจริงจังแล้ว ยังเป็นการบ่งบอกถึงความรวดเร็วในการวางแผนการ การตัดสินใจ และความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ต่างจากที่ผ่านมา 

ทำไมฮุนไดถึงตัดสินใจเข้ามาดำเนินธุรกิจเอง

ผู้บริหาร ฮุนได มอเตอร์ ระบุในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนกลุ่มย่อมๆ จากไทย ที่สำนักงานใหญ่ กรุงโซล เกาหลีใต้ว่า เป็นเพราะมองเห็นถึงศักยภาพของตลาดประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่ง มีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต และที่สำคัญคือ 

เป็นตลาดที่มีอิทธิพลต่อประเทศเพื่อนบ้าน

แน่นอน คำอธิบายเช่นนี้ ชวนให้คิดตามว่าหมายถึงฮุนไดจะลงหลักปักฐานสร้างโรงงานผลิตในไทยด้วยหรือไม่ จากปัจจุบันฐานการผลิตหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ซึ่งประเด็นนี้ ฮุนได ไม่ได้ตอบคำถามแบบฟันธงว่าจะสร้างฐานการผลิตในไทยหรือไม่ แต่ระบุว่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในอนาคต

และอีกเรื่องที่มีการพูดคุยกันก็คือ ฮุนได จะทำอย่างไรกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดยังมีขนาดเล็ก มีรถทำตลาดหลักไม่กี่รุ่น รวมถึงภาพลักษณ์ที่ยังเป็นรองคู่แข่ง 

ผู้บริหารยอมรับว่าที่ผ่านมา ฮุนได อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับตลาดนี้เท่าที่ควร เป็นผลมาจากทั้งตลาดและความพร้อมของ ฮุนได มอเตอร์เอง 

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

นั่นคือ ก่อนหน้านั้น ฮุนได เน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก ก่อนที่ต่อมาจะเริ่มออกนอกประเทศ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดตลาดในสหรัฐ และยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยซ้าย (LHD) เหมือนเกาหลี ขณะที่ไทยมีความแตกต่างเพราะใช้พวงมาลัยขวา (RHD) ซึ่งมีผลหลายอย่างทั้งเรื่องของผลิตภัณฑ์ และการวางแผนงาน 

ปิกอัพ อุปสรรคการแข่งขันตลาดไทย 

นอกจากนี้ อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ไทยเป็นประเทศที่มีตลาดหลักคือรถปิกอัพ ซึ่งไม่ใช่จุดเด่นของฮุนไดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันลำบาก

แต่ปัจจุบัน สถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป ตลาดมีความหลากหลายมากขึ้น มีรถหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทั้ง เอ็มพีวี เอสยูวี และที่สำคัญคือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV 

ขณะที่ในมุมของฮุนไดเอง ก็เห็นได้ว่าที่ผ่านมา พัฒนาขึ้นมาจากอดีตอย่างมาก เป็นผู้ผลิตรถชั้นนำของโลก มีรถยนต์หลากหลายรูปแบบทำตลาด 

โดยปัจจุบัน ฮุนไดมีฐานการผลิตใน 9 ประเทศ มีกำลังการผลิตเกือบ 5 ล้านคัน/ปี มีศูนย์วิจัยและพัฒนาทั่วโลก 10 แห่ง มีวิศวกร และดีไซเนอร์มากกว่า 1.3 หมื่นคน มีเครือข่ายการจำหน่าย 6,200 แห่ง ใน 184 ประเทศ โดยปี 2565 ที่ผ่านมามียอดขายทั่วโลก 3.94 ล้านคัน และปีนี้ตั้งเป้า 4.32 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 9.6%

ดังนั้นถึงวันนี้ ฮุนได จึงเชื่อมั่นว่าพร้อมแล้วสำหรับการรุกตลาดหลายๆ แห่ง รวมทั้งไทยอย่างจริงจัง พร้อมจะแข่งกับจ้าวตลาดอย่างผู้ผลิตรถจากญี่ปุ่น ด้วยความพร้อมหลายๆ ด้าน รวมถึงตัวเลือกของสินค้า และที่สำคัญคือ “ข้อมูล” ที่เดินหน้าเก็บรายละเอียดต่างๆ มาก่อนหน้านี้

“ฮุนได มีดีเอ็นเอ ของตัวเองนั่นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างการยอมรับ และภาพลักษณ์ที่ดี ที่ผ่านมาเราอาจยังมี data ไม่พอ แต่เมื่อเรามีแล้ว ถ้าเริ่มต้น ใครก็ตามไม่ทัน” 

ทำตลาดอย่างน้อย 5 รุ่น ปี 66 คุยภาครัฐลุย EV

และสำหรับการเริ่มต้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ฮุนดวางแผนว่าในปี 2566 นี้ จะทำตลาดอย่างน้อย 5 รุ่น โดย 2 รุ่น เป็นรถที่จำหน่ายมาแล้วก่อนหน้านี้ คือ สตาเรีย (Staria) และ เครต้า (Creta) และเตรียมเปิดตัว สตาร์เกเซอร์ (Stargazer) รถเอ็มพีวี 6-7 ที่นั่งรุ่นใหม่ในงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ 

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน” ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

ส่วนอีก 2 รุ่น ยังไม่ระบุ แต่หนึ่งในนั้นมีความเป็นได้คือ ไอออนิค 5 (Ioniq5) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV

เพราะมองว่า อีวี คือ อนาคต ที่กระแสความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงในไทย และ ฮุนได ก็ได้หารือกับรัฐบาลไทยในแง่มุมต่างๆ ของอีวี รวมถึงมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลไทย ก่อนที่จะหาข้อสรุปต่อไป

ทั้งนี้เพราะฮุนไดเองก็เห็นถึงอุปสรรคสำคัญในการทำตลาด อีวี คือ “ความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน” ที่ทำให้การนำเข้า-ส่งออก อีวี ไม่เสียภาษี ทำให้รถที่นำเข้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ เสียเปรียบ เพราะต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราที่สูง

ดังนั้นการที่จะแข่งขันได้ด้านภาษีคือ การผลิตในประเทศหรือแหล่งผลิตที่มีเขตการค้าเสรี คือ จีน หรือ ภูมิภาคอาเซียน 

อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่มีกิจกรรมการผลิตในช่วงนี้ แต่ฮุนได ก็เชื่อว่าหากทำตลาดจะยังสามารถแข่งขันได้ ด้วยจุดเด่นหลักคือ คุณภาพ 

“เรามั่นใจในคุณภาพ เรามีรถอย่างไอออนิค 5 ไอออนิค 6 ตอนนี้ต้องมาดูตลาดว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถนำรถที่มีคุณภาพดีไปจำหน่ายในระดับราคาที่เหมาะสมได้”

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน” ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”

และก็ยืนยันว่าในอนาคตมีโอกาสอีกมากสำหรับตลาด อีวี เพราะฮุนได จะมีทางเลือกที่หลากหลายเหมาะกับตลาดต่างๆ และกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม 

โดยตามแผนงานภายในปี 2030 หรือ 2573 ตลาดจะได้เห็น อีวี จากแบรนด์ ฮุนได ไม่น้อยกว่า 11 รุ่น แบ่งเป็น ซีดาน 3 รุ่น เอสยูวี  6 รุ่น รถเพื่อการพาณิชย์ 1 รุ่น และยังไม่ระบุประเภทอีก 1 รุ่น

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์พรีเมียมในเครืออย่างเจเนซิส (Genesis) อีกอย่างน้อย 6 รุ่น แบ่งเป็นซีดาน 2 รุ่น และเอสยูวี อีก 4 รุ่น 

ฮุนได ยุคเกาหลีลุยเอง พร้อมแข่งญี่ปุ่น-รับมือ EV จีน “มี data ใครก็ตามไม่ทัน”