EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

นิสสัน มอเตอร์ เตรียมเปิดภารกิจ EV เชื่อมขั้วโลก จับมือ คริส แรมซีย์ ขับ นิสสัน อริยะ (Nissan ARIYA)  ครอสโอเวอร์ อีวี รุ่นล่าสุด จากขั้วโลกเหนือ สู่ขั้วโลกใต้ ต้นปี 66 

ที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ของนิสสัน มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น ประกาศความร่วมมือกับ "คริส แรมซีย์" นักผจญภัยชาวอังกฤษ ในกิจผจญภัยด้วยการขับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV จากขั้วโลกเหนือ ไปยังขั้วโลกใต้ หรือ Pole to Pole เป็นครั้งแรกของโลก

การผจญภัยระยะทางมากกว่า 27,000 กิโลเมตร ด้วย อีวี รุ่นล่าสุดที่กำลังได้รับความสนใจจากตลาดในขณะนี้ นั่นคือ “นิสสัน อริยะ” (Nissan ARIYA) จะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม 2566 

การผจญภัยครั้งนี้เป็นการเดินทางผ่านหลายภูมิภาคและทวีปต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะมีช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างกันตั้งแต่ -30 ไปจนถึง 30 องศาเซลเซียส 

ซึ่งแน่นอนเรื่องของอุณหภูมิเป็นอีกหนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นกับ อีวี ว่าจะสามารถใช้งานได้ประสิทธิภาพแค่ไหน พลังงานจะหมดเร็วหมดช้ามีผลจากอุณหภูมิมากน้อยต่างกันอย่างไร ซึ่งนิสสัน เชื่อว่าการเดินทางครั้งนี้จะเป็นข้อพิสูจน์ประสิทธิภาพของ อีวี อริยะ ได้อย่างดี 

ทั้งนี้หากไม่มีใครชิงตัดหน้าเดินทางก่อนเดือนมีนาคมปีหน้า แรมซีย์ จะเป็นมนุษย์คนแรกที่ขับรถยนต์จากขั้วโลกหนึ่งไปอีกขั้วโลกหนึ่ง 
โดยแรมซียร์จะเดินทางจากอาร์กติก (Arctic) ผ่านทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ก่อนที่จะข้ามไปยังทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica)

EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

เส้นทางดังกล่าวถือว่ามีความเป็นที่สุดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความทรหด ความรุนแรง ความยากลำบาก และมีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก 

การเดินทางจะเริ่มจากภูมิประเทศที่มีน้ำแข็งปกคลุม การข้ามผ่านเขาสูงชัน การลุยไปในเนินทรายกว้างใหญ่ ภารกิจขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ 

“นิสสันภูมิใจที่ประกาศความร่วมมือกับคริส แรมซีย์ และทีมสำรวจขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ โดยนิสสัน อริยะ รถยนต์เอสยูวีครอสโอเวอร์ไฟฟ้า 100% ช่วยให้ไปได้ไกลขึ้น ง่ายขึ้นอย่างสะดวกสบาย” อาซาโกะ โฮชิโน่ รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายการตลาดและการขายระดับโลกของนิสสัน กล่าว

ทั้งนี้จุดเด่นสิ่งหนึ่งของ อริยะ กับภารกิจนี้คือ การมีเทคโนโลยีการควบคุมการขับขี่ e-4ORCE ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความเสถียรและการยึดเกาะบนพื้นผิวที่หลากหลาย

EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ นิสสัน เพิ่งเปิดตัวยานสำรวจดวงจันทร์ต้นแบบ ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency - JAXA)

โดยนิสสันได้เข้ามาทำงานร่วมกับ JAXA ในการควบคุมการขับขี่ของยาน ที่จะต้องจะต้องตอบสนองลักษณะเฉพาะของภูมิประเท ซึ่งมีพื้นผิวที่เป็นฝุ่นแป้ง ก้อนหิน และผิวที่เป็นลูกคลื่น ซึ่งจุดนี้เองที

เทคโนโลยี e-4ORCE ของนิสสัน เข้าไปมีส่วนร่วม นอกเหนือจากระบบจัดการแบตเตอรี ที่นิสสันมีประสบการณ์มายาวนานกับนิสสัน ลีฟ (NISSAN LEAF)
โฮชิโน่ กล่าวว่าการผจญภัยสุดท้าทายที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับทุกคนนี้ช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ระยะยาว Nissan Ambition 2030 เพื่อพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนด้วยการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก โดยวิสัยทัศน์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบรถยนต์และเทคโนโลยีที่ยกระดับการเดินทางและชีวิตผู้คนในสังคม

ทั้งนี้นิสสัน อริยะ e-4ORCE ของแรมซีย์จะได้รับการปรับแต่งเสริมความแข็งแกร่งบึกบึนมากขึ้น เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บในแถบอาร์กติกและแอนตาร์กติก รวมถึงล้อ ยาง และระบบกันสะเทือนที่อัพเกรดให้เหมาะกับการยึดเกาะบนพื้นผิวที่หลากหลาย 

EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

ขณะเดียวกันก็จะมีนิสสัน อริยะ e-4ORCE อีก 1 คัน ที่ไม่มีการปรับแต่งใดๆ ร่วมเดินทางไปสนับสนุนทั่วทวีปอเมริกาอีกด้วย 

สำหรับ e-4ORCE เป็นเทคโนโลยีการควบคุมล้อทั้ง 4 ขั้นสูง ที่จัดการการส่งกำลังไปที่ล้อรวมถึงการเบรกได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้การขับขี่มีความราบรื่นและมั่นคง บนพื้นผิวถนนเกือบทุกรูปแบบ รวมทั้งถนนที่เปียกและเต็มไปด้วยหิมะ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการหรือรูปแบบการขับขี่

EV ฝ่าขั้วโลก Nissan ส่ง ARIYA ผจญภัย จาก Arctic สู่ Antarctica

สำหรับอริยะ เป็น ครอสโอเวอร์ อีวี มีทั้งรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ และขับเคลื่อน 4 ล้อ ระยะทางการใช้งานสูงสุด 610 กิโลเมตร ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง โดยก่อนหน้านี้ผู้บริหารนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย คนก่อน เคยแสดงความสนใจที่จะนำเข้ามาทำตลาดในไทย อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าจะทำตลาดหรือไม่ แต่ก็ไม่มีการปฏิเสธที่ชัดเจนเช่นกัน 

หมายเหตุ

*** ภาพอริยะ ในพื้นที่ขั้วโลก เป็นภาพจำลอง