โมเดล ‘ศิลปะทุ่งนา’ หนุนรายได้เกษตรกรเพิ่ม 2 เท่า

โมเดล ‘ศิลปะทุ่งนา’ หนุนรายได้เกษตรกรเพิ่ม 2 เท่า

ชาวนาทั่วไปอาจมีรายได้จากการจำหน่ายข้าวเพียงทางเดียว แต่ ‘Rice Dream Space’ ศิลปะนาข้าวในเมืองเสิ่นหยาง สามารถสร้างรายได้ให้ชาวนาจีนเพิ่ม 2 เท่า โดยแบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายข้าว และรายได้จากการท่องเที่ยว

แม้ ‘เสิ่นหยาง’ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม แต่บางพื้นที่ยังเป็นพื้นที่การเกษตร และมีเกษตกรเพาะปลูกข้าวอยู่ ซึ่งชาวนาทั่วไปที่ทำนาปีละครั้งหรือสองครั้ง มีรายได้จากการจำหน่ายข้าวเพียงทางเดียว แต่ชาวนาบางกลุ่มในเสิ่นหยางของจีน สร้างรายได้จากข้าวเพิ่มเป็น 2 เท่า เมื่อเปลี่ยนทุ่งนาเป็นทุ่งแสดงศิลปะ ทำให้ธุรกิจสามารถโกยรายได้จากการท่องเที่ยวและการจำหน่ายข้าวไปพร้อม ๆ กัน

‘Rice Dream Space’ เป็นศิลปะนาข้าวของบริษัท Xibo Longdi creative agricultural industry Co., Ltd. ภายในสวนศิลปะนาข้าว มีบริการนั่งรถไฟชมทุ่งนาสีทอง พร้อมรับลมหนาวระหว่างทาง  มีหอคอย 2 จุด ให้ขึ้นไปชมศิลปะ มีร้านอาหารและร้านจำหน่ายไอศรีมที่ทำจากข้าว เรียกได้ว่า ใช้ทรัพยากรที่มี สร้างมูลค่าให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

“หวัง อี้ตัน” ผู้จัดการฝ่ายทั่วไป เผยว่า ทุ่งนาแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก รัฐบาลท้องถิ่นวางแผนโครงการศิลปะนาข้าวในปี 2553 จากนั้นในปี 2555 รัฐบาลมอบโครงการดังกล่าวให้เกษตรท้องถิ่นนำไปใช้ ซึ่งเกษตกรเห็นด้วยว่าโครงนี้จะสร้างเม็ดเงินมหาศาล ผู้ประกอบการจึงเริ่มศึกษาต้นแบบรูปภาพศิลปะนาข้าวจากในข่าวและอินเทอร์เน็ต จนได้แรงบันดาลใจ และเปิดจัดแสดงศิลปะทุ่งนาในปี 2558
 

โมเดล ‘ศิลปะทุ่งนา’ หนุนรายได้เกษตรกรเพิ่ม 2 เท่า

วิธีการเพาะปลูกอย่างแรกคือ พิจารณารูปภาพจัดแสดงแบบ 2 มิติก่อน จากนั้นศึกษาขนาดพื้นที่ โดยใช้ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) วิเคราะห์สัดส่วนการใช้พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมในแต่ละจุด เพื่อให้ออกมาเป็นภาพ 3 สามมิติที่สวยงาม เนื่องจากศิลปะนาข้าว ใช้พันธุ์ข้าวหลากสีสันทั้งหมด 9 ชนิด และแต่ละชนิดมีความสูงแตกต่างกัน

ขั้นต่อไป เกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญจะลงพื้นที่ปลูกต้นข้าวตามแผนที่วางไว้ ซึ่งการทำนาข้าว 3 มิติ มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย เพราะต้องใช้เวลาลงต้นข้าว 7 วัน ด้วยแรงงานทั้งหมด 30 คน

ทั้งนี้ ธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายข้าวได้มากกว่า 1 ล้านหยวนต่อปี หรือราว 4.9 ล้านบาท และยังมีรายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงจำหน่ายสินค้าและอาหารอยู่ที่ 30 ล้านหยวนต่อปี หรือราว 147.9 ล้านบาท

โมเดล ‘ศิลปะทุ่งนา’ หนุนรายได้เกษตรกรเพิ่ม 2 เท่า