จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

‘เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสหากรรมขนาดใหญ่ที่สุดในจีน ปรับปรุงโรงงานเก่าแก่ในอดีต ให้เป็นสถานที่ที่มีคุณค่า อาทิ สร้างพิพิธภัณฑ์อุตสาหกรรมจากโรงงานเก่า และสร้างห้องสมุดที่ดัดแปลงมาจากคลังสินค้าสมัยสงครามเกาหลี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมให้คนรุ่นใหม่

 ดูเหมือนว่า จีน ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “โรงงานของโลก” จะเป็นจริงดังว่า เมื่อกรุงเทพธุรกิจ มีโอกาสไปเยือนเมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง กับทัวร์ “Hello Shenyang” ของสำนักข่าว CRI Online ช่วง 26-30 ส.ค. ที่ผ่านมา

‘เสิ่นหยาง’ อดีตเมืองหลวงเก่าแก่สมัยราชวงศ์ชิง ศูนย์กลางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในจีน และเป็นฐานผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงของจีนอีกด้วย ซึ่งพิพิธภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องยืนยันว่า เสิ่นหยางคือเมืองแห่งอุตสาหกรรมหนัก และเทคโนโลยีล้ำสมัยมาตั้งแต่อดีต 

ภายในพิธิภัณฑ์มีการจัดแสดงเครื่องจักรขนาดใหญ่ ตั้งแต่เครื่องจักรไอน้ำในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ไป จนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ล้ำสมัยในยุคข้อมูลข่าวสาร อาทิ โทรทัศน์ขาวดำ กล้องถ่ายรูป เครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์ เรือดำน้ำจำลอง จรวดจำลองและชุดนักบินอวกาศ 

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

ในอดีต รัฐบาลผลักดันคนที่มีความสามารถจากทั่วประเทศ เข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเสิ่นหยาง จึงทำให้เมืองนี้มีความรุ่งเรืองด้านอุตสาหกรรมมาก ยกตัวอย่างเช่น เรือดำน้ำที่ออกแบบและผลิตโดยเสิ่นหยาง สามารถดำน้ำได้ลึกที่สุด 7,000 เมตร 

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว ปรับปรุงมาจากโรงงานเก่าในอดีต แสดงให้เห็นว่าเสิ่นหยางพัฒนาพื้นที่รกร้างให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น อีกทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์บางอย่างเป็นของโรงงานเก่าจริง ถือเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมจีนที่แท้จริง

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

เสิ่นหยาง ยังปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมเก่าอีก 2 แห่ง ให้เป็นห้องสมุดและสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ เพื่อเพิ่มพื้นที่พักผ่อนและพื้นที่สันทนาการให้คนรุ่นใหม่

โดย ‘ห้องสมุดไทม์ส’ เขตต้าตง พัฒนามาจากคลังสินค้าในสมัยสงครามเกาหลี ภายในออกแบบและต่อเติมด้วยวัสดุไม้สีน้ำตาลอ่อน พร้อมตกแต่งโทนสีขาว ทำหลังคาใสรับแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน และจัดพื้นที่อ่านหนังสือเป็นสวนป่าไม้ ให้ความรู้สึกร่มรื่น ผ่อนคลาย เหมือนอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ ส่วนใหญ่เด็ก ๆ และวัยรุ่น มักใช้ห้องสมุดนี้ เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ติวหนังสือ และพักผ่อนตามอัธยาศัย

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่
 

นอกจากนี้ ยังมีห้องหนังสือโบราณสมัยราชวงศ์ชิง ที่เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญาจำนวน 1,500 เล่ม รวมมูลค่า 600,000 หยวน หรือราว 3 ล้านบาท

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

ในการยืมหนังสือ ผู้ยืมต้องสมัครสมาชิกกับห้องสมุด จากนั้นติดต่อที่เคาน์เตอร์ยืมหนังสือ หรือใช้หุ่นยนต์ค้นหาหนังสือก็ได้

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

โรงงานเก่าอีกแห่งในเขตตี้สี ของเสิ่นหยาง ปรับปรุงเป็นพื้นที่จัดแสดงศิลปะและงานแฮนด์เมดสร้างสรรค์ หรือเรียกว่า “1905 Art Space” เมื่อวันที่กรุงเทพธุรกิจเข้าเยี่ยมชม มีการจัดแสดงงานศิลปะภาพวาด โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมในจีน

ถัดจากโซนจัดแสดงศิลปะ เป็นศูนย์ร้านค้าศิลปะและร้านค้าของที่ระลึก มีทั้งร้านวาดภาพ, ร้านประดิษฐ์เครื่องไม้ เช่น ช้อนหรือแก้วที่ทำจากไม้, ร้านโลหะทำมือ เช่น พวงกุญแจและแหวน, ร้านพิมพ์กระดาษ เช่น พิมพ์โปสการ์ดด้วยเครื่องพิมพ์โบราณ ส่วนร้านของที่ระลึก เป็นสินค้าขนาดเล็กน่ารัก อาทิ พวงกุญแจ พัด สมุด ตุ๊กตา และกระเป๋า

กรุงเทพธุรกิจมองว่า 1905 Art Space และห้องสมุดไทม์ส ถือเป็นการพัฒนาสถานที่เก่าให้มีคุณค่าต่อสังคม ซึ่งห้องสมุดไทม์ส เป็นทั้งสถานที่พักผ่อน และศูนย์การเรียนรู้เพื่อคนรุ่นใหม่ ขณะที่ 1905 Art Space เป็นทั้งศูนย์จัดแสดงและศูนย์กิจกรรมทางศิลปะ ที่สร้างรายได้ให้คนในเมือง ทั้งยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์ให้คนรุ่นใหม่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ เสิ่นหยางยังมีสถานที่อีก 2 แห่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่แพ้ที่ใด คือ พิพิธภัณฑ์แห่งอนาคตและโรงงานบีเอ็มดับเบิลยู

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีแห่งอนาคต ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ‘เจดีมอลล์’ เป็นตัวอย่างพิพิธภัณฑ์เทคฯและวิทยาศาสตร์ที่ประเทศไทยควรดูเป็นแบบอย่าง โดยส่วนแรก เป็นการนำเสนอประวัติและผลงานของนักวิทยาศาสตร์โลกและนักพัฒนาของจีน ในรูปแบบหุ่นจำลองเสมือนจริง สามารถขยับปากและตัวคล้ายมนุษย์ พร้อมเสียงบรรยายและภาพเคลื่อนไหวประกอบ ถือเป็นสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจเด็ก ๆ ได้ดี และทำให้เข้าใจข้อมูลง่ายขึ้น

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

โซนถัดไปเป็นการจัดแสดงนวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายคน แม้กระทั่งผิวหนังของหุ่นยนต์ยังนุ่มลื่นเหมือนสัมผัสผิวคนจริง ๆ ต่างกันแค่มีความเย็นมากกว่าผิวหนังมนุษย์

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

ส่วนโรงงานบีเอ็มดับเบิลยู เป็นโรงงานที่มีระบบการผลิตที่เป็นระเบียบ และทันสมัยมาก โดยโรงงานแบ่งการผลิตเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนผลิตชิ้นส่วน, โซนประกอบชิ้นส่วน, โซนลงสี, โซนประกอบรถยนต์, และโซนจัดส่งสินค้า

กรุงเทพธุรกิจได้เยี่ยมชมโซนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ พบว่า บีเอ็มดับเบิลยูใช้เครื่องจักรผลิตเป็นส่วนใหญ่ และใช้แรงงานคนควบคุมเครื่องจักรกับประเมินคุณภาพสินค้า ซึ่งโรงงานในเสิ่นหยาง มีเครื่องจักรราว 180,000 เครื่อง และไฮไลต์สำคัญของที่นี่ คือ โซนลงสีขนส่งรถยนต์ด้วยสายพาน ผ่านสำนักงานกลางไปยังโรงประกอบรถยนต์ สร้างความตื่นเต้นให้กับคณะเยี่ยมชมไม่น้อย

ทัวร์เสิ่นหยางปีนี้ แสดงให้เห็นว่าเมืองมีศักยภาพที่สามารถเป็นฐานผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำคัญของโลก ไม่เพียงให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น แต่เสิ่นหยางยังพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และส่งเสริมความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้แก่คนในท้องถิ่นและชาวต่างชาติอีกด้วย

จีนพลิกโฉม ’เสิ่นหยาง’ เมืองอุตสาหกรรมร้าง สู่แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่