ตั้ง ‘บอร์ดเอไอแห่งชาติ’ ดีอีชูยุทธศาสตร์เคลื่อนประเทศจากเศรษฐกิจดิจิทัล

ตั้ง ‘บอร์ดเอไอแห่งชาติ’ ดีอีชูยุทธศาสตร์เคลื่อนประเทศจากเศรษฐกิจดิจิทัล

กระทรวงดีอีร่ายยุทธศาสตร์เอไอ พร้อมปรับปรุงองค์คณะตั้ง ‘บอร์ดเอไอ’ แห่งชาติ เสริมด้านเศรษฐกิจดิจิทัลหวังดึงเม็ดเงินลงทุนมุ่งสู่ฮับของอาเซียน เผยวีซ่าคนพันธุ์เอไอจ่อรอเข้า ครม.แล้ว หลังตัวเลขกำลังคนในอุตสาหกรรมยังขาดแคลน

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ AI: Thailand Strategy ยุทธศาสตร์ AI ประเทศ ภายในงาน AI REVOLUTION 2024 : TRANFORMING THAILAND ECONOMY ว่า ยุทธศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ นั้น ไม่มีใครเลี่ยงได้ โดยตนได้เดินทางไปสัมมนาที่งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส มีการพูดถึงเรื่องการประยุกต์ใช้เอไออย่างแพร่หลาย และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 มีรายงานว่า รัฐสภาสหภาพยุโรป EU ได้อนุมัติกฎหมายด้านการจัดการปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เพื่อควบคุมปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับแถวหน้าที่ได้รับการลงทุนอย่างมหาศาล

ดังนั้น ดีอีเองจะนำเอากฎหมายดังกล่าวมาประยุกต์กับบริบทของประเทศไทย ให่ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและศักยภาพสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฮับดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ และครอบคลุมทุกมิติที่สุด

นอกจากนี้ ดีอียังได้ปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ โดยจะมีการปรับปรุงให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านเศรษฐกิจด้วย เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ให้มีความสัมพันธ์ทั้งดาต้า เซ็นเตอร์ คลาวด์ และระบบคอมพิวเตอร์ระดับสูง

"จะมีการปรับปรุงองค์คณะของบอร์ดเอไอแล้ว กระทรวงดีอีจะมีการผลักดันกฎหมายเอไอฉบับแรกของประเทศ เพื่อให้เกิดการสนับสนุน และพิจารณาเรื่องจริยธรรมเอไอให้มีความโปร่งใสด้วย"

ตั้ง ‘บอร์ดเอไอแห่งชาติ’ ดีอีชูยุทธศาสตร์เคลื่อนประเทศจากเศรษฐกิจดิจิทัล

รมว.ดีอี กล่าวถึงอุตสาหกรรมเอไอในประเทศไทยว่า จะต้องมุ่งเน้นด้านการพัฒนา Deep Tech มีการส่งเสริมการใช้ Large Language Model (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) ที่เป็นภาษาไทย ช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรให้มีข้อได้เปรียบหากเอาดาต้ามาผสานกับเอไอจะทำให้องค์กรเป็นเลิศ

นอกจากนี้ กระทรวงดีอีได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมุ่งหวังให้คนไทยได้ใช้สินค้า และบริการดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน ในราคาสมเหตุสมผล

รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการประชาชน  เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมบัญชีกลาง ซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลไทย ขณะเดียวกัน ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากบริการภาครัฐที่ได้รับการยกระดับด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นของคนไทย สอดรับกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

นอกจากนี้ หากพิจารณาในภาพของแรงงานบุคลากรด้านเอไอในประเทศ นายประเสริฐ ระบุว่า สถานการณ์กำลังคนเอไอจำนวนบุคลากรด้านนี้ในประเทศไทยขณะมีจำนวน 21,631 อัตรา และคนด้านเอไอมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในสายที่ไม่ใช่ด้านไอทีโดยประเทศไทยยังมีความต้องการคนทำงานบุคลากรด้านเอไออยู่มากกว่า 100,000 คน นั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรื่องผลักดันส่งเสริมวีซ่าสำหรับกลุ่ม Digital Nomad ในประเทศไทย เพื่อมาแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนกำลังคนด้านดิจิทัลในประเทศ เนื่องจากกำลังผลิตในการพัฒนากำลังคนดิจิทัลไม่เพียงพอ 

โดยที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และออกวีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดขึ้นมาเพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูง และนักลงทุนที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของกลุ่ม Digital Nomad ในลักษณะการพำนักแบบระยะยาว และระยะสั้น เนื่องจากมีปัจจัยหลายส่วนที่สามารถดึงดูดชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดีป้าเร่งผลักดันเข้าสู่คณะกรรมการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อผลักดันข้อเสนอและนโยบายแนวทางการขับเคลื่อน พร้อมเร่งดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมกลุ่ม Digital Nomad ต่อไป และกระทรวงดีอีจะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.โดยเร็วที่สุด

รมว.ดีอี กล่าวในสรุปว่า แผนงานของกระทรวงดีอีคือ ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเอไอโดยดึงบริษัทชั้นนำระดับโลกเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลากหลายไม่ได้เป็นรองใคร

เน้นส่งเสริมยกศักยภาพให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีกลุ่มสตาร์ตอัปประยุกต์ใช้เอไอกว้างขวางให้ เอสเอ็มอี มีทักษะเรียนรู้เอไอเพราะ เอไอเป็นหนึ่งเป้าหมายพัฒนาคนให้มีจำนวนคนที่ต้องการปัจจุบันจำนวนมีการอัปสกิล-รีสกิลชูมาตรการ Global Digital Talent Visa ลดหย่อนภาษี CIT ถึง 250% หากเข้าคอร์สฝึกอบรมหลักสูตรเอไอ

พร้อมกับส่งเสริมตระหนักรู้ทักษะเอไอให้แก่คนไทย ถึงเวลาแล้วคนไทยต้องมีความรู้เรื่องเอไอนโยบายส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์ยกระดับบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย ผู้ประกอบการสามารถลงทุน 100% แบบไม่จำกัดวงเงินลงทุนจากเดิม 50%

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์