NeuroPreneur ทางรอดธุรกิจในยุค Disruption

NeuroPreneur ทางรอดธุรกิจในยุค Disruption

 

ทุกวันนี้เราได้เห็นเด็กรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่จบมาแล้วอยากเป็นผู้ประกอบการ สร้างบริษัท บริหารกิจการด้วยตัวเอง น่าสนใจตรงที่ว่าภาคการศึกษายุคใหม่ก็ออกมาตอบรับความต้องการดังกล่าวด้วยการปรับหลักสูตรเป็นการปั้นผู้ประกอบการกันมากมายเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นเทรนด์ที่น่าจับตาทีเดียว 

แต่เมื่อพูดถึงเรื่องศาสตร์การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ผมพบบทความจาก Forbes USA รู้สึกสะดุดตา กับบทความนี้ ที่กล่าวถึงศาสตร์ด้านสมองกับการเป็นเจ้าของธุรกิจเอาไว้ได้อย่างดี รวมถึงที่มาของคำว่า "NeuroPreneur" ซึ่งเป็นคำที่ Dr. James Nitit Mah, Entrepreneur ไทย - อเมริกัน ที่มีประสบการณ์หลากหลายธุรกิจ ไปสร้างผลงานโด่งดังอยู่ในสหรัฐอเมริกา และบัญญัติคำว่า NeuroPreneur ขึ้นมาเพื่อเป็นนิยามถึงผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เข้าใจเรื่องนี้และเอาไว้เตรียมรับมือกับการ Disruption ทางธุรกิจการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง

NeuroPreneur คือผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เข้าใจในศาสตร์ของ NeuroScience และสามารถใช้ทฤษฎีและทักษะที่มี รวมถึงเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยจุดที่น่าสนใจในบทความชิ้นนี้ Dr. James Nitit Mah ได้มองสถานการณ์ของโลกธุรกิจในปัจจุบันเอาไว้อย่างน่าสนใจ นั่นคือ เรามีตัวช่วย มีเครื่องมือ มีความรู้ มากมายมหาศาลเต็มไปหมด แต่เราจะหยิบอะไรขึ้นมาใช้เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นต่างหากที่เป็นเรื่องยาก และอาจจะสับสนจนไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรอย่างไร 

Dr. James Nitit Mah ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคยุค Millenialsก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนกลุ่มนี้เริ่มมีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ "สั้น" ลงเรื่อย ๆ แถมยังเป็นกลุ่มที่รู้ทันนักการตลาดไปเสียทุกเรื่องอีกต่างหาก การจะเจาะให้เข้าถึงใจคนเหล่านี้จึงไม่ใช่การแฝงโฆษณาเนียน ๆ เพราะสิ่งที่เขาต้องการก็คือ "ความจริงใจ" รวมถึงว่าคอนเทนต์เหล่านั้นต้อง Personalized มากพอกับชีวิตของเขา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน

NeuroPreneur ทางรอดธุรกิจในยุค Disruption

และในวันที่ AI เริ่มเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสทธิภาพและมีความสามารถมากกว่ามนุษย์ งานที่สามารถ Personalized ตามความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้นนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องรีบปรับตัวเพื่อหนีการลงไปแข่งขันกับ AI ซึ่ง Dr. James Nitit Mah พบว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ ปฏิเศษไม่ได้ว่า ต้องมีความเข้าใจใน Consumer Mind ที่เป็น Default ของ Consumer Algorithm ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคต Algorithm of Need and Want เหล่านี้ของมนุษย์ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค กี่สมัยก็ยังคงอยู่ตลอดกาล

ดังนั้นความเข้าใจใน Default เกี่ยวกับ Algorithm เหล่านี้จะกลายเป็นแกนหลักของธุรกิจในอนาคตอย่างมากเลยทีเดียว และนั่นทำให้เขาเสนอเครื่องมือที่จะทำให้สมองทั้งสามชั้น สมองสัญชาติญาณชั้นใน, สมองอารมณ์ความรู้สึกชั้นกลาง และสมองความคิดชั้นนอก ได้ผสมผสานกันและทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ตนเองสนใจนั้นเกิดจากการตัดสินใจของผู้บริโภคเอง ไม่ได้มาจากการถูกโน้มน้าวใจจากผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่างชาติฮือฮามากนะครับ มันน่าจะหมายถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคธุรกิจได้เลยทีเดียว

สิ่งที่ผมสนใจอีกข้อก็คือ การที่ Dr. James Nitit Mah ฝากคำแนะนำไปถึงคนรุ่นใหม่ให้ใช้โอกาสจากการมาถึงของ Digital Device ทั้งหลายที่จะเชื่อมกันเป็น IOT รวมถึง Social Networking และ AI Technology ที่จะประมวลผลในการสร้าง Engagement กับลูกค้าและ Partner โดยบอกว่ามันจะเป็นจุดแข็งของพวกเขาต่อไปด้วย (แน่นอนล่ะครับ เพราะคนรุ่นก่อนไม่ได้สร้าง Connection จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้ในระดับนี้) ดังนั้น เมื่อโลกยุคต่อไปขึ้นไปอยู่บน Digital Technology ใครไปถึงได้ก่อนย่อมได้เปรียบกว่าแน่นอน แต่ก็ต้องไม่ลืมความสำคัญของ Consumer Algorithm ที่เป็น Default เช่นกัน

ยุคนี้การนำศาสตร์ด้านสมองมาผนวกเข้ากับการสร้างธุรกิจและรวมถึงการใช้เทคโนโลยี ให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะเริ่มมีการใช้งานกันแล้วในหลาย ๆ ภาคส่วน เรียกว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ จากประสบการณ์ผู้เขียนเอง ไม่เคยพบว่า มี Entrepreneur ไทยได้ลงในบทความของ Forbes USA มาก่อน หากโอกาสหน้ามีจังหวะดีๆ ที่ Dr. James Nitit Mah กลับมาประเทศไทย เราจะเชิญมาให้สัมภาษณ์หรือร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับเราบ้างครับ

ติดตามเพิ่มเติม https://www.forbes.com/sites/bradauerbach/2018/01/19/the-author-of-neuropreneur-discusses-his-research-into-successful-traits-of-entrepreneurs/#4bc74dcc2800