หมั่นเช็คสุขภาพหัวใจ ลดเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลัน

หมั่นเช็คสุขภาพหัวใจ ลดเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลัน

แพทย์ชี้วัยไหนก็เป็นโรคหัวใจได้ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพหัวใจ ลดเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลัน

แพทย์โรงพยาบาลรามาฯแจงโรคหัวใจไม่ได้เป็นเพียงโรคของผู้สูงอายุเท่านั้นแต่มีโอกาสเป็นได้  ทุกวัยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เตือนผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายและหัวใจประจำปี ลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดและเสียชีวิตเฉียบพลัน พร้อมเชิญชวนผู้สนใจร่วมสมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อซื้อเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO ) กับโครงการอิ่มบุญ อิ่มใจฯ ปี 6 มอบแด่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

.นพ. ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ  อายุรแพทย์โรคหัวใจภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า โรคหัวใจ (Heart Disease)  สามารถพบได้ในทุกเพศและช่วงอายุ แต่คนทั่วไปมักจะคิดว่าโรคหัวใจจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งแต่ละช่วงอายุจะพบโรคหัวใจชนิดที่แตกต่างกัน โดยในเด็กที่เป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ส่วนในผู้ใหญ่จะพบว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด  ซึ่งมีสาเหตุการเกิดโรคหัวใจแต่ละชนิดแตกต่างกัน

โดยโรคหัวใจแต่กำเนิดสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว ความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือด และ/หรือหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยไม่มีการผสมกันของเลือดดำและเลือดแดงจึงไม่มีอาการเขียว ส่วนโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว คือ ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจและ/หรือหลอดเลือดที่เกิดขึ้น โดยที่ความผิดปกตินั้นๆ ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในฝั่งของเลือดแดง ทำให้เด็กอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้าจึงมีสีออกเขียวๆ ม่วงๆ ซึ่งจะเห็นชัดเจนที่เด็กร้องหรือดูดนมการเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มนี้จะน้อยกว่าปกติเพราะเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ 

ยกตัวอย่างเคสผู้ป่วยโรคหัวใจ  ..ธีริศรา อาชาฤทธิ์ (น้องการ์ตูน)ปัจจุบันอายุ 13 ปี ป่วยเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว ผ่านการผ่าตัดทั้งเล็กและใหญ่มานับ10ครั้ง โดยน้องการ์ตูนต้องเข้ารับการผ่านตัดเพื่อรักษาหลังลืมตาสู่โลกภายนอกได้เพียง 10 วัน เนื่องจากแพทย์ได้ใช้เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO) ตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจและพบว่าน้องไม่มีหลอดเลือดจากหัวใจไปยังปอด รศ.นพ.ปิยะ สมานคติวัฒน์ ศัลยแพทยท์ทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมด้วยทีมแพทย์ จึงได้ผ่าตัดเพื่อใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดไปที่ปอด แต่หลังจากผ่าตัดได้เพียง 2 วัน พบว่ามีลิ่มเลือดอุดตัน อยู่ในหลอดเลือดเทียม จึงต้องผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมอีกข้างหนึ่ง รวมเป็น 2 เส้น เนื่องจากแพทย์พบว่าการใส่หลอดเลือดเทียมแค่เส้นเดียว ยังไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงที่ปอดได้เพียงพอ หลังจากการผ่าตัดในครั้งนั้น น้องการ์ตูนอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมระยะเวลาที่ต้องอยู่ รพ.รามาธิบดีนับตั้งแต่แรกคลอดนานถึง 4 เดือน

 

พออายุครบ 3 ขวบน้องการ์ตูนต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อเชื่อมหลอดเลือดระหว่างหัวใจกับปอดใหม่ ภายหลังการรักษาไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนมารักษาโดยการใส่ขดลวดเข้าไปในหลอดเลือดแทน ซึ่งน้องการ์ตูนก็ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นอย่างดี

จนเมื่อ ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา น้องการ์ตูนต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่อีกครั้ง  เนื่องจากที่ผ่านมาหัวใจของน้องการ์ตูนสามารถทำงานได้เพียง 3 ห้องและมีภาวะหัวใจรั่ว รวมทั้งภาวะเลือดดำและเลือดแดงไหลมารวมกัน ส่งผลให้น้องตัวเขียว และหัวใจเต้นเร็วมาตลอด ครั้งนี้ทีมแพทย์ใช้เวลาผ่าตัดนานถึง 12 ชั่วโมง โดยผ่าตัดหัวใจให้มีห้องล่างขวา พร้อมทั้งอุดรูรั่วของหัวใจ ปัจจุบันหัวใจของน้องการ์ตูนสามารถใช้งานได้ทั้ง 4 ห้อง เหมือนคนทั่วไปและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เรียน เล่นและอยู่กับครอบครัว แต่ยังอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยมีนัดติดตามอาการตลอดเพื่อประเมินอาการของโรค 

 

ส่วน โรคหัวใจขาดเลือดนั้น เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน หรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบจึงทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจขาดเลือดจะพบในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจจะช้าหรือเร็วกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคนที่เป็นโรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ความอ้วน ความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ซึ่งสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน การบริโภคอาหาร และการไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสะสมเป็นเวลานานโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตกะทันหันนั้นเกิดจากผู้ป่วยไม่ทันระวังตัวว่าตนเองมีโรคนี้อยู่เมื่อออกแรงหนักๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่หนักกว่าที่ทำปกติ หรือเล่นกีฬาหนักๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน อาจจะกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น จึงทำให้ตะกรันไขมันสะสมในหลอดเลือดหัวใจนั้นสามารถเกิดการปริแตกออกได้ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลันได้และทำให้เสียชีวิตกะทันหัน

 

.นพ. ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญกล่าวต่อว่า เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO) มีความสำคัญมากในการตรวจวินิจฉัยพยาธิสภาพในเบื้องต้น เพื่อให้ทราบแน่ชัดถึงโครงสร้างของหัวใจที่มีความซับซ้อน และนำไปสู่การตรวจวินิจฉัยหรือใช้เครื่องมือแพทย์อื่นๆที่เฉพาะเจาะจงกับโรคต่อไป ซึ่งปัจจุบันยังคงขาดแคลนงบประมาณเพื่อการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์

โดยปีนี้มูลนิธิรามาธิบดีฯ มีโครงการเครื่องมือแพทย์เพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงได้ร่วมกับบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้ ซึ่งเป็นพันธมิตรและจัดทำโครงการ  อิ่มบุญ อิ่มใจ กับผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้”  ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยปีนี้ ทางมูลนิธิรามาได้ร่วมกับผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้ จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อสมทบทุนซื้อเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(ECHO) เพื่อมอบให้สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ด้านนางสาวชัชณีอนันต์วัฒนพงษ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในนามของผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้ ได้กล่าวถึงโครงการเพื่อสังคมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ว่า  โครงการ “อิ่มบุญ อิ่มใจ กับผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้”   ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนผู้ใจบุญและผู้ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เซอร์เทนตี้ เป็นอย่างดีต่อเนื่องมาตลอด 6 ปี โดยปีนี้มีผู้ใจบุญทั้งหลายร่วมสมทบทุนซื้อเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(ECHO) ผ่านสองช่องทาง ได้แก่ ช่องทางแรก การบริจาคผ่านกิจกรรมในโซเชียลมีเดีย 1 Share 1 Baht  โดยการแชร์คลิปวีดีโอถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว โดย1แชร์เท่ากับร่วมบริจาค 1 บาท

คลิกชมคลิป: https://www.facebook.com/certaintyclub/videos/331042614342226/?t=33

และช่องทางที่สอง รายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมยอดบริจาคจากทั้งสองช่องทาง 1,000,000 บาท เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งนี้บริษัทฯตั้งมั่นที่จะพัฒนาโครงการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัยและประชาชนทั่วไปอย่างยั่งยืนเพราะ "การให้" คือความสุขที่ยิ่งใหญ่ทั้งผู้ให้และผู้รับ.