30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

ล้วงลึกบ้านใหญ่ ‘บูรณุปกรณ์’ แสดงจุดยืนไม่เอา ‘ทักษิณ’ จัดทัพสู้ศึก อบจ.เชียงใหม่ ท้าพิสูจน์ศรัทธาบารมีตระกูลการเมืองท้องถิ่น

30 ปี บนถนนการเมือง จากนวรัฐพัฒนาถึง ‘เชียงใหม่คุณธรรม’ สู่ใต้ร่มเงา ‘ทักษิณ’ ก่อนแยกทางกันเดิน ในวันหน้าอาจพึ่งพาชายคาก้าวไกล

บูรณุปกรณ์’ ตระกูลธุรกิจและการเมืองของเชียงใหม่ ที่เติบโตหลังเหตุ การณ์พฤษภาคม 2535 เริ่มต้นจากการเมืองท้องถิ่น หักโค่นตระกูลตันตรานนท์ ยึดเทศบาลนครเชียงใหม่

ปี 2544 ตระกูลบูรณุปกรณ์ และตระกูลชินวัตร ร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมือง ใต้ร่มธงไทยรักไทย กอดคอร่วมสู้ศึกเลือกตั้งทั้งท้องถิ่นและระดับชาติ 

ปี 2562 ความหวาดระแวงในตัวบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ กรณีมีความใกล้ชิดกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า แกนนำพรรคพลังประชารัฐ นำไปสู่การแตกหักของ 2 ตระกูล ในสนามเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงใหม่ เมื่อปลายปี 2563

กลางปีที่แล้ว ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต สส.เชียงใหม่ ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย หลังมีการปิดดีลจัดรัฐบาลข้ามขั้ว

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

ด้วยเหตุนี้ ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ แสดงจุดยืนทางการเมืองในวันที่ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับเชียงใหม่ครั้งแรกในรอบ 17 ปี

‘เชียงใหม่ไม่ใช่เมืองหลวงของเพื่อไทย แต่เชียงใหม่เป็นเมืองหลวงของฝ่ายประชาธิปไตย’

ทัศนีย์ ยอมรับว่า ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไก เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 ซึ่งการสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ไม่ได้ไปทำความเดือดร้อนให้ใครเป็นสิทธิส่วนบุคคล

นอกจากนี้ ทัศนีย์ยังเปิดตัวจะลงสมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ โดยมีทีม ส.อบจ.เชียงใหม่ 18 คน สังกัดกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม เป็นฐานเสียง

ทัศนีย์ และบ้านใหญ่ตระกูลบูรณุปกรณ์ ยังไม่ตกตะกอนทางความคิดว่า จะใช้แบรนด์เดิม-เชียงใหม่คุณธรรม หรือแบรนด์ใหม่สีส้ม เพราะยังมีเวลาอีกนานกว่า อบจ.ชุดปัจจุบันจะครบวาระ

บ้านใหญ่ล้านนา

ยุคสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ เทศบาลนครเชียงใหม่ ตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มอานันทภูมิ ที่มี วรกร ตันตรานนท์ 


ปี 2494 ง่วนชุน แซ่ตัน อพยพมาจากกวางตุ้ง เป็นชาวจีนรุ่นที่ 2 ของเชียงใหม่ ได้เข้ามาเปิดร้านตันตราภัณฑ์ ร้านค้าสมัยใหม่บนถนนท่าแพ 

วรกร ทายาทตระกูลตันตรานนท์ ได้ก่อตั้งกลุ่มอานันทภูมิ เล่นการเมืองท้องถิ่น และครองตำแหน่งนายกเทศมนตรีนานถึง 10 ปี(ปี2528-2538) ก่อนจะมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจ จากตระกูลตันตรานนท์ ไปยังยังตระกูลบูรณุปกรณ์

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยให้สัมภาษณ์ The Momentum กรณี ‘บ้านใหญ่เชียงใหม่’ ไม่เหมือนบ้านใหญ่ในจังหวัดภาคกลาง

‘เชียงใหม่มีระบบเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อนกว่าที่จะมีใครมาผูกขาดทรัพยากรได้ทั้งหมด...ครั้งหนึ่ง นักการเมืองท้องถิ่นที่มาจากตระกูลตันตรานนท์ ได้ผูกขาดการเข้าถึงทรัพยากร แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นบ้านใหญ่ เพราะมันมีการขัดขากันหลายฐาน’

กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม

ต้นตระกูลบูรณุปกรณ์ นายใช้ เดินทางจากเมืองจีนมาปักหลักอยู่เชียง ใหม่ เปิดร้านขายของชำชื่อ จิ้มชุ่ยใช้ อยู่ย่านกาดหลวง แต่งงานกับนางจิตรา และมีทายาท 11 คน

ประกอบด้วย 1.ชัยทัศน์ บูรณุปกรณ์ 2.พรทัศน์ บูรณุปกรณ์ 3.สมจิตร บูรณุปกรณ์ 4.สมพร สุวรรณธนาทิพย์ 5.สมร พาณิชย์พิศาล 

6.ประพันธ์ บูรณุปกรณ์ 7.อารีย์ อุดมศิริธำรง 8.วิชิต บูรณุปกรณ์ 9.วิไล บูรณุปกรณ์ 10.บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ 11.ปกรณ์ บูรณุปกรณ์

ทายาทของนายใช้ ที่เข้าสู่แวดวงการเมืองมีอยู่ 3 คนคือ ประพันธ์ บูรณุปกรณ์ อดีต สว.เชียงใหม่ ,บุญเลิศ  บูรณุปกรณ์ อดีตนายก อบจ.เชียง ใหม่ และปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต สส.เชียงใหม่

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

เสี่ยตุ๊-ปกรณ์ ทายาทคนสุดท้องของตระกูล ก้าวสู่การเมืองท้องถิ่นปี 2538 ในนามสมาชิกกลุ่มนวรัฐพัฒนา ของ เสธ.ม่อย-พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย และบุษบา ยอดบางเตย

ปีนั้น กลุ่มนวรัฐพัฒนา โค่นกลุ่มอานันทภูมิ ยึดเทศบาลนครเชียงใหม่ได้สำเร็จ แต่เสี่ยตุ๊ เป็นแค่สมาชิกสภาเทศบาล 

ต่อมา ปกรณ์ได้รวบรวม สท.สาย เสธ.ม่อย แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม เอาชนะบุษบา ยอดบางเตย ได้เป็นนายกเทศ มนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ติดต่อกัน 2 สมัย(ปี 2541-2543

ปลายรัฐบาลชวน 2 เสี่ยตุ๊ ปกรณ์ ได้เข้าร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา เตรียมลงสมัคร สส.เชียงใหม่ ภายหลัง เจ๊แดง-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ได้เจรจาให้ไปสังกัดพรรคไทยรักไทย สนับสนุนทักษิณ เป็นนายกฯ 

เมื่อปกรณ์ เป็น สส.เชียงใหม่ ก็ผลักดันพี่ชาย เสี่ยโต๊ะ-บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ เป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 

ปี 2546 ปกรณ์ส่งหลานสาว กุ้ง-ทัศนีย์ ทายาทของ พรทัศน์ บูรณุปกรณ์ และผ่องศรี บูรณุปกรณ์ ไปยึดเทศบาลตำบลช้างเผือก

กุ้ง-ทัศนีย์ เป็นนายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก 2 สมัย จนถึงปี 2554 ก็ลาออกไปสมัคร สส. และส่งต่อให้ คเชน เจียกขจร เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลช้างเผือก จนถึงปัจจุบัน

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

ปี 2551 บุญเลิศ ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.เชียงใหม่ ก็หนุนหลานชาย ไก่-ทัศนัย บูรณุปกรณ์ เป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่แทน

ปี 2554 ทัศนีย์ ในฐานะตัวแทนปกรณ์ ที่ต้องเว้นวรรคทางการเมืองได้รับการเลือกเป็น สส.เชียงใหม่ เขต 1 เป็นครั้งแรก

วันที่ 1 ก.ย.2556 ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต สส.เชียงใหม่ พรรคไทยรักไทย และอดีตสมาชิกบ้านที่ 111 ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ด้วยวัย 55 ปี

หลังรัฐประหาร 2557 บุญเลิศแต่งตั้ง กุ้ง-ทัศนีย์ เป็นรองนายก อบจ.เชียงใหม่ และบุญเลิศถูกคำสั่ง คสช.ให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่และถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น 

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

ปี 2560 บุญเลิศ และทัศนีย์ พร้อมเครือญาติ ถูกจับในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องในการรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ

กระทั่งเดือน มิ.ย.2561 บุญเลิศได้รับคำสั่งให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ. จนครบวาระในปี 2563 

จุดนี้เอง ที่กลายเป็นความร้าวฉานระหว่างตระกูลบูรณุปกรณ์ กับเจ๊แดง-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ 

แลนด์ลอร์ดเชียงใหม่

ในมิติทางธุรกิจ ตระกูลบูรณุปกรณ์ ที่เริ่มต้นมาจากเปิดร้านขายของชำในกาดหลวงหรือตลาดวโรรส และปัจจุบัน กลายเป็นแลนด์ลอร์ดมีที่ดินสะสมไว้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไม่น้อยกว่าหมื่นไร่ รอบตัวเมืองเชียงใหม่

ปี 2512 นายใช้ บูรณุปกรณ์ เห็นว่ากิจการร้านขายของชำ มีแนวโน้มไม่ดี จึงตัดสินใจขยายกิจการด้วยการเปิดร้านขายผ้าพื้นเมืองชื่อทัศนาภรณ์ ย่านถนนท่าแพ รับผ้าพื้นเมืองจากแหล่งต่างๆมาขาย 

จากร้านขายผ้า ได้ก่อตั้งบริษัท เชียงใหม่ทัศนาภรณ์ จำกัด และบริษัท เชียงใหม่สุดาลักษณ์ จำกัด เป็นบริษัทส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้สักรายใหญ่

ปี 2549 ปกรณ์และบุญเลิศ ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เต็มตัวในนามกลุ่มอรสิริน โดยเริ่มต้นหมู่บ้านอรสิริน 1 ถนนเชียงใหม่-แม่โจ้ จำนวน 135 ยูนิตขายหมดภายใน 4 เดือน

ปัจจุบัน บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อต้นเดือน เม.ย.2566 

ด้วยเหตุนี้เอง เสี่ยโต๊ะ-บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ จึงถอยห่างจากเวทีการ เมือง และส่งไม้ต่อให้หลานสาว กุ้ง-ทัศนีย์ ลุยสนามการเมืองท้องถิ่นแทน

30 ปี ‘บูรณุปกรณ์’ จากร่มเงา ‘ชินวัตร’ สู่ชายคา ‘สีส้ม’?

คล้อยหลัง ทักษิณกลับจากการเยี่ยมญาติที่เชียงใหม่ บุญเลิศและหลานสาว ทัศนีย์ ได้จัดทริปพากำนัน 25 อำเภอในเชียงใหม่ไปเที่ยวทะเลชะอำ

แค่ยกแรกโหมโรงศึกนายก อบจ.เชียงใหม่ ระหว่างตระกูลบูรณุปกรณ์-ชินวัตร ก็ส่อเค้าเดือดไม่แพ้ 4 ปีที่แล้ว