นักวิชาการมองการเมืองหลัง 24 มี.ค.

นักวิชาการมองการเมืองหลัง 24 มี.ค.

นักวิชาการจุฬาฯ เปิดใจสื่อนอก คาดรัฐบาลทหารมีโอกาสชนะเลือกตั้ง แต่ถ้าฝ่ายตรงข้ามชนะถล่มทลายอาจเกิดรัฐปรหาร

รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า รัฐบาลทหารมีโอกาสชนะเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะจัดทำกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้รัฐบาลทหารสามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเข้าไปทำหน้าที่ ส.ว. จำนวน250 คน 

เท่ากับว่าพรรคพลังประชารัฐที่ได้เสนอพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัยนั้นก็มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลค่อนข้างสูง เนื่องจาก พรรคประชารัฐต้องการเก้าอี้ ส.ส. เพียง 126 ที่นั่ง จากจำนวนสมาชิก ส.ส.ในสภาทั้งหมด 500 ที่นั่ง เพื่อทำหน้าที่โหวตเลือกผู้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ในทางตรงกันข้าม พรรคคู่แข่งจำเป็นต้องได้ ส.ส. 376 เพื่อให้ได้เสียงส่วนใหญ่ในสภา แต่การกลับมาเป็นนายกฯ ของพลเอกประยุทธ์ อาจถูกการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมจากการได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว.

พรรคฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอาจฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยได้ยาก แต่สามารถรวมเสียงกัน เพื่อใช้ช่องกฎหมายที่จำกัดจำนวนที่นั่ง ส.ส. ของพรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยไว้ 

การจับขั้วพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้คะแนนเสียงจากคนวัยหนุ่มสาว และผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีมากกว่า 7 ล้านคนล้วนมีความหมาย ในสร้างระบบการเมืองใหม่ และยังช่วยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้ที่นั่ง ส.ส. ในสภามากขึ้น เช่น พรรคอนาคตใหม่จะได้รับการยอมรับและมีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล หรือพรรคภูมิใจไทยนำโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล ทำหน้าที่เป็นนายหน้าให้กับพรรค และเขาเชื่อว่า พรรคภูมิใจไทยจะได้ที่นั่ง ส.ส. เป็นพรรคอันดับสาม เหมือนกับปี 2554

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังไม่อาจชนะการเลือกตั้งในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ พรรคประกาศชัดว่า จะไม่รวมเสียงกับพรรคเพื่อไทย

รัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่นั้น หากดูประวัติศาสตร์เมื่อถึงที่สุดแล้ว  พรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาลชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลาย โอกาสที่จะใช้ทางเลือกทหารก็จะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้ว 12 ครั้งในช่วงเวลา90 ปี โดยเฉลี่ยแล้ว ประเทศไทยเกิดรัฐประหารทุกๆ 7 ปี