'อุตตม' หยอดหวาน ดูแลชาวไร่อ้อยนครสวรรค์ พัฒนาเศรษฐกิจ Bio ยั่งยืน

'อุตตม' หยอดหวาน ดูแลชาวไร่อ้อยนครสวรรค์ พัฒนาเศรษฐกิจ Bio ยั่งยืน

"เกษตรกร" อ้อนสัญญาใจพร้อมสนับสนุนบริหารงานต่อ แต่ข้อแก้ปัญหาด่วน 2 ข้อรถบรรทุกอ้อย-รถลาก พร้อมยันค้านร่าง พ.ร.บ.อ้อย-น้ำตาล ติงที่มาผู้แทนเป็นกรรมการน่าห่วง ระบุ 15 พ.ย.นี้พา 2,000 คนฟังคำตอบที่กระทรวง

เมื่อวันที่ 11 พ.ย.61 ที่หอประชุมสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 จ.นครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เมื่อเวลา 09.30 น. "นายอุตตม สาวนายน" รมว.อุตสาหกรรม เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ของสมาชิกชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ , นายทองคำ เชิงกลัด นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ และคณะ รวมทั้งพาณิชย์จังหวัด รอต้อนรับ

โดยนายอำนวย กลิ่นสอน เลขานุการสมาคมชาวไร่อ้อย เปิดเผยว่า การประชุมสามัญของสมาคมดังกล่าวเป็นการประชุมประจำปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสมาชิก 23,000 รายที่สังกัดสมาคมมีทั้งใน จ.นครสวรรค์ และพื้นที่นอกจังหวัดใกล้เคียง ขณะที่การประชุมเปิดให้เหล่าสมาชิกได้มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อน เพื่อสะท้อนปัญหาให้รัฐบาลรับทราบและหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยต่อไป

8846855310586

ขณะที่เมื่อเวลา 10.00 น. นายอุตตม รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมชาวไร่อ้อย ได้กล่าวเปิดใจกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มาร่วมการประชุมว่า วันนี้โอกาสของกลุ่มพี่น้องเกษตรกรมาถึงแล้วที่จะร่วมกันเป็นหุ้นส่วนขับเคลื่อนการการปลูกอ้อยของเราที่นอกจากจะนำมาแปรรูปเป็นน้ำตาลแล้ว เรายังสร้างผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ด้วย ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือที่เรัยกว่า Bio ทั้งการนำส่วนของอ้อย มาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์เป็นไบโอพลาสติก และไบโอเคมี อย่างเครืื่องสำอางค์ , เคมีภัณฑ์ , เวชภัณฑ์ ซึ่งหุ้นส่วนเราตอนนี้ คือ 1.กลุ่มเกษตรกร 2.กลุ่มโรงงาน 3.รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งภายใน 2 ปี มีความเป็นได้ที่เราจะปรับผลผลิตพืชผลทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องเต็มรูปแบบ และเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน มั่งคง

"เราจะดูแลกันอย่างต่อเนื่องให้เป็นเศรษฐกิจเพื่อชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มั่งคั่ง สร้างสรรค์ และยั่งยืนในเวทีโลก ก็ขอให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าเราจะทำให้เป็นจุดแข็งของประเทศ เราเป็นหุ้นส่วนจะแบ่งสันปันส่วนผลประโยชน์ให้อย่างเท่าเทียม ซึ่งวันนี้เราจะช่วยกันคิดว่าจะปรับโครงสร้างอย่างไรที่จะแชร์ผลประโยชน์อย่างแฟร์ๆ อย่าไปคิดว่าของเดิมดีอยู่แล้ว เอาของใหม่มาทำไม ตนยืนยันว่าเราจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ-อุตสาหกรรมการเกษตร สร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกร โดยไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน ซึ่งผลผลิตทางเกษตรของเราที่ส่งออกอันดับหนึ่งก็คือ มันสำปะหลัง , อันดับสอง อ้อย น้ำตาล ดังนั้นเราอย่าไปกังวลกลัวว่าจะทำไม่ได้ เราต้องเชื่อว่าทำได้แต่เราต้องร่วมกันเสนอพูดคุยกันแบบพร้อมจะเปิดกัน"

8846855673475

ภายหลัง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวเปิดใจถึงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรแล้ว กลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั้งใน จ.นครสวรรค์ และ ตัวแทน จ.กาญจนบุรี ก็ได้กล่าวถึงปัญหาที่ยังรอให้รัฐบาลและรมว.อุตสาหกรรม พิจารณาแก้ไข ด้วยว่า มีปัญหา 2 ข้อ คือ 1.เรื่องบรรทุกขนอ้อย ที่จำกัดความสูงก็ขอให้ตอนนี้ขนได้สูง 4 เมตร ที่จะพิจารณาลดความสูงที่ละ 10 เซนติเมตรก็ขอให้ชะลอไปก่อน 2.เรื่องรถเทรลลเอร์หรือนถลาก ที่ชาวบ้ายเกษตรกรต้องใช้ลากอ้อยจากพื้นที่นั้น ก็ขอให้ยังใช้ได้อยู่เพราะชาวบ้านมีฐานะยากจน ก็ขนส่งอื่นจะลำบากตอนนี้ยังต้องขอใช้รถเทรลเลอร์ลากไปก่อน และที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่เข้าสู่ช้้นคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น

"พวกเราเกษตรกรทุกคนยังคงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ เพราะเนิ้อหาที่กำหนดไว้จะทำให้เกษตรกรอ่อนแอ จากเดิมที่เราเคยเข้มแข็งมาได้ถึง 40 ปี ร่างนี้จะทำให้กบุ่มโรงงานได้ประโยชน์มากว่า เราก็ขอให้ได้พูดคุยกันก่อน และที่มาของคณะกรรมการบริหารในร่างกฎหมาย ก็เป็นปัญหาว่าก็ให้ได้มาจากตัวแทนอย่างแท้จริง ซึ่งพวกเราเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ขอบคุณ รมว.อุตสาหกรรม ที่ก่อนหน้านี้ได้แก้ปัญหาเบื้องต้นราคาผลผลิตให้อีก 50 บาทต่อตัน แต่ปัญหาเรื่องรถบรรทุกทั้ง 2 ข้อยังคงเป็นปัญหา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ..ด้วยที่จะทำให้เราอ่อนแอลง ดังนั้นขอรัฐมนตรี ขอให้สัญญาประชาคมกับเกษตรกร ณ ที่นี้ในวันนี้ด้วยว่า จะแก้ไขปัญหา หากยังไท่มีคำตอบเรา 2,000 คนจะเป็นตัวแทนจสกสมาชิกกว่า 20,000 คน ไปถามหาคำตอบที่กระทรวงในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เราขอบคุณและก็สนับสนุนท่าน รมว.อุตสาหกรรม มาตลอด ก็คิดด้วยว่าท่านจะยังเป็นรัฐมนตรีต่อไปถึงสมัยหน้า และขออย่าทำให้เกษตรกรต้องอ่อนแอในยุคนี้ ถ้าจะอ่อนแอขอให้เป็นสมัยอื่น"

8846856295362

โดย รมว.อุตสาหกรรม ได้กล่าวตอบในที่ประชุมต่อหน้ากลุ่มเกษตรกรจำนวนมากว่า ขอให้สัญญาประชาคม ณ ที่นี้จะรับข้อร้องเรียนถึงปัญหาดังกล่าวไปพิจารณา เพราะไม่ใช่ตนเพียงเดียวที่จะใช้อำนาจ ซึ่งจะทำอย่างไรได้บ้างก็ตรวจดูและศึกษา แต่รับรองได้ทุกคนจะได้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ก็ได้ระบุว่า นอกจากการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตในไร่อ้อยของเกษตรกรแล้วสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อก้าวไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยมีเทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ขณะที่ผลผลิตการปลูกอ้อยในช่วงปี 2561-2570 คาดว่าจะมีประมาณ 180 ล้านตัน โดยเป็นอุตสาหกรรมน้ำตาล ประมาณ 120 ล้านตัน และ 60 ล้านตันเป็นอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือ Bio

ทั้งนี้ภายหลังจากเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมใหญ่สามัญ รมว.อุตสาหกรรม ก็จะเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงไร่อ้อย เขตพื้นที่ อ.ตาคลี พร้อมเยี่ยมชมโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย เพื่อรับฟังโครงการ ไบโอคอมเพล็กซ์ Bio complex ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมชีวภาพจากอ้อยด้วย ซึ่ง "นายอุตตม" ให้สัมภาษณ์ย้ำว่า ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่มีสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 เป็นเจ้าภาพและมีสมาคมอื่นมาร่วมอีกหลายสมาคม ซึ่งได้มีโอกาสพบปะหารือกับส่วนที่เราเรียกว่าเป็นหุ้นส่วนของอุตสาหดรรมอ้อยและน้ำตาล ก็คือ ชาวไร่อ้อยที่ถือเป็นหุ้นส่วนแรกที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ผลิตปลูกอ้อย หุ้นส่วนที่ 2 ที่สำคัญอีกก็คือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำอ้อยไปผลิตเป็นน้ำตาลซึ่งยังมีศักยภาพที่จะทำอย่างอื่นได้อีกมาก และหุ้นส่วนที่ 3 คือภาครัฐ โดยที่ผ่านมารัฐบาล , คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็มาร่วมกันดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

8846856829410

ขณะที่โจทย์ใหญ่วันนี้ที่ได้มาหารือ คือ การยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ สินค้าที่สร้างมูลค่าสูงๆ ขณะเดียวกันก็ยกระดับระบบบริหารจัดการให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยหลักการแรก คือ มีความยั่งยืนเราจะก้าวสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ไปสู่อุตสาหกรนมชีวภาพ หรือ Bio economy ที่เราจะทำอย่างครบวงจรมองตลาด มองสินค้า และมองกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกลับมาถึงต้นทาง คือ การพัฒนาเรื่องการเกษตร กานปลุูกอ้อย การดูแลพันธุ์อ้อยให้มั่นใจว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนั้นสามารถแบ่งสันจัดกันได้ลงตัวเป็นธรรมกับทุกส่วนทั้งหมด และส่วนของรายได้ ผลประโยชน์ที่จะเพิ่มขึ้นนั้นมีความยั่งยืน ไม่ใช่เกิดแล้วล้นตลาด หายไปไม่เอา ซึ่งวันนี้โครงการ Bio economy ก็เริ้มขึ้นแล้ว

โดยที่ก่อนหน้านี้ตนได้นำเสนอสู่ ครม.แล้วว่ามีแผนที่จะดำเนินการเรื่องนี้ และจะไม่จำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น อย้างในพื้นที่ภาคตะวันออกก็มีอยู่แล้วเพราะมีฐานจาก ปตท. แต่มีข้อเสนอของภาคเอกชนร่วมกันว่ายังมีพื้นที่อื่น ระลอกแรกก็คืออีสาน ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครสวรรค์ที่เป็นฐานสำค้ญของการผลิตอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทยซึ่งทางนี้เรียกได้ว่ามีหุ้นส่วนที่เข้มแข็งทั้งภาคโรงงานและชาวไร่อ้อยโดยมีผลผลิตเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย วันนี้จึงหารือกันพร้อมตั้งโจทย์ว่า การเอาเรื่องเข้าสู่ครม.นั้นเป็นเฟสแรก ส่วนเฟสต่อไปคือจะทำอย่างไรให้ จ.นครสวรรค์และพื้นที่อื่นๆ เข้าสู่เป้าหมายที่เราร่วมกันวางว่าจะเป็น Bio hub Bio economy ซึ่งคำว่า "hub" เกินจากอุตสาหกรรม ไม่ใช่ว่าแค่เอาเทคโนโลยีมาผลิต แต่หมายถึงศูนย์กลางของการผลิตอ้อยและน้ำตาล ที่จะก้าวพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ

แต่ยังให้ยึดโยงกับการสร้างฐานความเจริญใหม่ในที่นั้นๆ เช่นเรื่องการพัฒนาชุมชน การพัฒนางานวิจัยและคน ที่จะทำให้การประกอบการรูปแบบใหม่อย่าง start up ได้หลากหลายขึ้น ซึ่งตนก็ได้ฝากโจทย์นี้ไว้แล้วทั้ง บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS , ปตท., สมาคมชางไร่อ้อยฯ ว่าครั้งนี้เป็นโอกาสจริงๆ โดยให้มาร่วมกับภาครัฐสร้างให้เป็นศูนย์กลาง หรือ Center ทาง Bio ในพื้นที่นี้อย่างแท้จริง โดยขณะนี้เราก็พยายามสร้างการลงทุนให้เป็นที่สนใจของต่างประเทศ เมื่อถามย้ำถึงความกังวลของกลุ่มเกษตรกรกับร่าง พ.ร.บ.ที่มีปัญหากรรมการตัวแทนอย่างแท้จริง และทำให้เกษตรก่อนอ่อนแอ

นายอุตตม กล่าวยืนยันว่า ความเป็นไปได้ในการดูแลเกษตรกรนั้นดูแลอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงไม่ต้องพูดถึงความเป็นไปได้ ดูแลทุกนาทีอยู่แล้ว เมื่อถามว่า ร่างกฎหมายจะขับเคลื่อนไปพร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพหรือไม่ และจะให้คำมั่นได้หรือไม่ว่าจะไม่ออกฎหมายที่เอาเปรียบเกษตรกร "รมว.อุตสาหกรรม" ย้ำว่า เรื่องนี้เราดูแลในทิศทางที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งกฤษฎีกา รัฐมนตรี เราดูแลตามระบบเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ แต่จะให้ตอบวันนี้ยังมำไม่ได้เพราะมันมีกระบวนการ เราบอกได้ว่าประเทศเรายึดกระบวนการและจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ตนให้คำมั่นเกษตรกรได้ว่า จะดูแลเต็มที่ ไม่ต้องเป็นห่วง กฎหมายที่ออกมาในทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนหลักการว่าเหมาะสม เป็นธรรมกับทุกฝ่าย แบบวิน-วินเพื่อประเทศ ไม่ใช่เพื่อใคร เพราะอุตสาหกรรมนี้ จะส่วนอื่นจะก้าวไปด้วยความร่วมมือ 3 หุ้นส่วนที่เคยกล่าวไว้แล้วทั้งประเทศก็จะไปได้

เมื่อถามว่า จะยับยั้งกรณีที่เกษตรกรบอกว่า วันที่ 15 พ.ย. จะเข้าไปทวงถามคำตอบการแก้ปัญหาที่กระทรวงด้วยหรือไม่ "นายอุตตม" กล่าวว่า เราจะแก้ปัญหาอย่างเต็มที่โดยเราไม่ได้เอาเวลามาเป็นตัวกำหนดเพราะเรา มีความจริงใจที่จะทำ แต่อย่างไรในการแก้ปัญหาต้องใช้เวลาดำเนินการดังนั้นต้องคุยกันก่อน และลึกๆ จากการทำงานกับทุกคนที่ผ่านมา ตนก็เชื่อว่าเดี๋ยวก็มีทางออก เมื่อถามว่า เกษตรกรบอกให้สัญญาใจอยากใก้เป็นรัฐมนตรีอีกสมัยหรือได้มาบริหารอีก "นายอุตตม" กล่าวว่า ไม่เกี่ยวเลย วันนี้ตนมาทำงานในฐานะ รมว.อุตสาหกรรม

เมื่อถามว่าในนามของพรรคประชารัฐ ในอนาคตโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลนั้นจะสานต่อใช่หรือไม่ นายอุตตม ย้ำว่าวันนี้มาในฐานะ รมว.อุตสาหกรรมที่ได้รับเชิญ วันนี้ตนขอตอบในฐานะ รมว.อุตสากรรมว่า อย่างไรเรื่องอุตสากรรมเมื่อถามไป หากใครบอกไม่เดินต่อ ก็ไม่ใช่แล้วไม่ว่าจะถามใครก็ตาม ดังนั้นตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประเทศไทย และโอกาสมหญ่ของประเทศที่เราต้องคว้าให้ได้ ในความเห็นตนคิดว่าในรัฐบาลอื่นก็ควรดำเนินการต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างเป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่สามัญฯ "นายอุตตม" รมว.อุตสาหกรรมยังเป็นประธานจับสลากรางวัลทองคำหนัก 2 สลึง ซึ่งสมาคมฯ จัดการจับสลากขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้รางวัลกลุ่มสมาชิกที่มาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง