“ไพรบึง” ฟื้นไหม 4 เผ่า เรื่องเล่าจุดร่วมคนต่างถิ่น

“ไพรบึง” ฟื้นไหม 4 เผ่า เรื่องเล่าจุดร่วมคนต่างถิ่น

จุดร่วมของคนต่างเผ่า มาใช้ชีวิตในชุมชนท้องถิ่นเดียวกัน จนส่งต่อมรดกการทอผ้า ความงามในวิถีชีวิตที่ฝ่าภัยแล้ง ความต่างเผ่า เชื้อชาติ ภาษา แต่มาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จุดกำเนิดชุมชนเข้มแข็ง ที่ชูจุดขายคุณค่าภูมิปัญญา 4 เผ่า

จากตำบลดินแดง ท้องถิ่นที่มีจุดกำเนิดของการมาอยู่ร่วมกันของชนเผ่าต่างถิ่น 4 เผ่า ต่างภาษา และที่มา ประกอบด้วย เผ่าเยอ เผ่าลาว เผ่าเขมร และเผ่าส่วย กลายเป็นจุดหลอมรวมของการอยู่ร่วมกันของความแตกต่างทางภาษา และวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน จนกลายเป็นการส่งต่อภูมิปัญญา วิถีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น

ปราจิต แก้วลา นายอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีษะเกษ เล่าถึงแผนการยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนต.ดินแดงด้วยการคิดค้นการพัฒนาผ้าผืนที่เป็นอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น เพราะเป็นว่าเป็นมรดกส่งต่อกันมาในชุมชนที่เรียว่า”ผ้าไหม 4 เผ่า ซึ่งเป็นการที่พัฒนารูปแบบให้มีลายที่แตกต่าง มีความสร้างสรรค์เฉพาะตัวที่โดดเด่นและสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับท้องถิ่นได้

จุดเด่นของผืนผ้า นอกจากลายทีงดงามและแนกต่างเป็นอัตลักษณ์เฉพาะในท้องถิ่นแห่งนี้ มีการพัฒนาสีและส่วนผสมของเส้นด้ายที่มาจากสีของเปลือกไม้ เช่น ใช้สีจากเปลือกไม้ เช่น ต้นแก่นเข้นำมาย้อมส้นไหมจะได้สีเหลืองทองเข้ม, ต้นแก่นฝาง นำมาย้อมส้นไหมจะได้สีชมพูอมม่วงหรือสีกลีบบัว, ต้นแก่นคลั่ง นำมาย้อมส้นไหมจะได้สีเทา, ต้นมะเดื่อ นำเปลือกไม้ มาย้อมเส้นไหมจะได้2สีอยู่ที่ว่าจะเคี่ยวไหมนานแค่ไหน ซึ่งไม่มีส่วนผสมของสารเคมี จึงมีความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่ สอดคล้องกับเทรนด์โลก

“ลวดลายบนผ้าไหมเป็นส่วนที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของชุมชน ส่วนผสมของลายทั้ง 4 ชนเผ่าที่นำมาร้อยเรียงเข้ากันเป็นการบ่งบอกถึงการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างของรากเหง้าและวัฒนธรรมได้อย่างผสมผสานและกลมกลืนจนกลายเป็นชุมชนเดียวกัน”นายอำเภอไพรบึงเล่า

ที่มาของโครงการเกิดจาก ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพรบึง ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.ดินแดง) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ จึงได้ทำการส่งเสริมให้ชาวบ้านทั้ง 4 เผ่าได้มีรายได้เสริมด้วยการสนับสนุนให้ทอผ้าไหม ด้วยการปลูกต้นหม่อนเอง เลี้ยงไหมเอง สาวไหมเอง เพื่อสร้างทางเลือกหารายได้เสริมหลังจากฤดูทำนา ที่สามารปลูกข้าวได้แค่ปีละครั้ง

นอกเหนือจากฤดูทำนา คนในชุมชนต่างก็ต้องออกไปหางานทำ หารายได้เลี้ยงครอบครัวในเมืองหลวง นี่คือวิถีชีวิตที่ไม่ยั่งยืน โดยทำให้คนในชุมชนสามารถสร้างรายได้หล่อเลี้ยงตัวเองจากผลิตภัณฑ์ที่มีในชุมชน และสร้างคุณค่าในชุมชน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

“เนื่องด้วยพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นดินแดนที่แห้งแล้ง และพื้นดินจะมีลัษณะดินเหนียวปนทราย จะทำนาได้เฉพาะฤดูฝน เพราะผืนดินไม่กักเก็บน้ำ และไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ๆ ไหลผ่าน จึงต้องพัฒนาการสร้างงานสร้างอาชีพโดยการฟื้นฟูมรดกในท้องถิ่น เพราะอาชีพนี้ ที่ผลิตภัณฑ์จากไหมนอกจากเป็นเส้นด้ายยังพัฒนาเป็นแหล่งอาหารจากดักแด้

หลังจากมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์สร้างชื่อเสียงเฉพาะในชุมชนแล้ว ก็ขยายไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชน เดินคู่ขนานกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นทั้งต้นแบบของการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้อง ในการเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาชุมชน ที่ยังเปิดรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการพัฒนาชุมชนเข้ามาได้เรียนรู้ ซึ่งมีกลุ่มผู้เข้ามาศึกษาทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น กัมพูชาได้เข้ามาให้ความสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชุมชนแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของการหลอมรวมวิถีชีวิตวามเป็นอยู่ของชนเผ่าทั้ง 4 เชื้อชาติ ทั้งไทย เผ่าเยอ เผ่าลาว เผ่าเขมร และเผ่าส่วย

นายอำเภอไพรบึง ยังกล่าวต่อว่า ได้เข้าไปพัฒนาพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐานเพื่อรองรับผู้ที่คนนอกชุมชนให้เข้ามาอยู่อาศัยและศึกษาวิถีชีวิตในชุมชน โดยการปรับปรุงพัฒนาที่พักอาศัยให้พร้อม รวมถึงอออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว และภูมิทัศน์ในชุมชนให้น่าสนใจ พร้อมที่จะทำกิจกรรมได้มากกว่า 2 วัน เช่น การทอผ้าไหม การปลูกต้นหม่อน การเลี้ยงดักแด้ การสาวไหม การดำนาปลูกข้าว การเที่ยวชมดูฝูงนกเป็ดน้ำ กิจกรรมไหว้พระธาตุ

เขายังกล่าวต่อว่า หลังจากเปิดตัวหมู่บ้านท่องเที่ยว “OTOP นวัตวิถี ชูของดีท้องถิ่น ผ้าไหม 4 เผ่า” ในช่วงเดือนที่ผ่านมาถือเป็นการประกาศให้พร้อมท่องเที่ยว และได้จัดทำแผนธุรกิจชุมชนท่องเที่ยว มีการพัฒนาไกด์ท้องถิ่นโดยการถ่ายทอดความรู้ให้เป็นนักเล่าเรื่องชุมชน และยังขยายผลไปสู่ชาวบ้านในท้องถิ่นพร้อมยกระดับตัวเองในการเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวในการให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ

“ตัวชูโรงที่จะพัฒนาให้เข้ากับแนวทางการตลาดในยุคปัจจุบัน นอกเหนือจากสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าดึงดูแล้ว ยังต้องสร้างจุดเช็คอินและแลนด์มาร์คในหมู่บ้านรองรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่าเรื่องราวการเดินทางผ่านโซเชียลมิเดีย เป็นแนวทางการประชาสัมพันธ์ชุมชนที่ทำให้ชุมชนก้าวขึ้นเป็นหมุดหมายใหม่ด้านการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องลงทุนด้านการประชาสัมพัน์หือทำการตลาด”

ด้านจรัญ ใจหาญ พัฒนาการ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีษะเกษ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการต้องคงความเป็นอัตลักษณ์ของดี ภูมิปํญหาท้องถิ่นที่แตกต่างจากกชุมชนทั่วไป ทีต้องเตรียมพร้อมการแสดงให้คนเข้ามาเยี่ยมชมชุมชนได้เห็นถึงความงดงามของคนในชุมชน ขณะเดียวกันชุมชนต้องมีความเข้มแข็งโดยการสร้างเวทีประชาคม ที่สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาขับเคลื่อนการทำงานในทุกภาคส่วนร่วมกัน เพื่อให้ชาวบ้านทุกคนได้รับรู้แนวทางการขับเคลื่อนชุมชน และรู้สึกภาคภูมิใจในชุมชนที่อาศัย

ในอนาคตอันใกล้จะขยายสินค้าในชุมชนให้หลากหลายเมื่อประชาชนได้เข้ามาท่องเที่ยวก็จะมีของฝากหรือสินค้าที่ระลึกจากชุมชนกลับไป เป็นแนวทางที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสุขใจ และยังช่วยให้ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น

“เกิดการกระจายรายได้จากนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน เมื่อชาวบ้านและคนในชุมชนสามารถเลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวได้ ช่วยให้ชาวบ้านได้มองโลกที่กว้างขึ้นได้พบเจอกับนักท่องเที่ยวที่หลากหลายได้แลกเปลี่ยน และสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ๆที่เกิดในท้องถิ่นจะได้สร้างเนื้อสร้างตัวในถิ่นกำเนิดไม่ต้องไปวิ่งหางานทำในกรุงเทพ หรือหัวเมืองใหญ่ ไม่ต้องพลัดถิ่นได้อยู่กับครอบครัวสร้างรายได้จากที่นี่ ที่ท้องถิ่น รายได้ต่างๆก็จะเกิดกับชุมชน"