คาดเร็วสุดเดือนม.ค.62 ได้ใช้กัญชาในคน

คาดเร็วสุดเดือนม.ค.62 ได้ใช้กัญชาในคน

ประธานคกก.กัญชา เผยช่องทางกฎหมายปลดล็อกกัญชาเร็วสุด "รมว.สธ." ออกประกาศกำหนด "สารสกัดจากกัญชา" เป็นยาเสพติดประเภท 2 เหมือนมอร์ฟีน คาดได้ใช้ในคนเร็วสุด ม.ค.2562

วันนี้ (18 ต.ค.) ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม(บอร์ดอภ.) และประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ กล่าวในการสัมมนาและระดมสมอง เวที ฬ.จุฬาฯ นิติมิติ เรื่อง " กัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis)กับกฎหมาย:จาดยาเสพติดสู่ยารักษาโรค"ว่าแนวทางด้านกฎหมานที่จะสามารถปลดล็อกกัญชาให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้มีหล่ยท่งเลือก ได้แก่ 1.การออกประมวลกฎหมายาเสพติด แต่น่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันในสมัยของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) 2.ร่างพรบ.ใหม่เกี่ยวกับกัญชา ซึ่งได้มีการทำประชาพิจารณ์ระหว่างวันที่ 1-15 ต.ค.2561 และพบว่ามีผู้แสดงความคิดเห็นกว่าแสนคนและเห็นด้วยถึง 98.9% แต่ไม่แน่ชัดว่าจะสามารถออกมาบังคับใช้ได้จริงภายในเมื่อไหร่ 3.ใช้มาตรา 44 ซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอต่อพล.อ.อ.ประจิณ จั๋นตอง รองนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ต่อไป แต่หากมีการใช้ม.44 ปลดล็อกกัญชาก็จะต้องใช้เวลาออกกฎหมายลูกรองรับอีกราว 3 เดือน และ4.ใช้แนวทางที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเสนอ คือการให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)ลงนามในประกาศ เพื่อใหเสารสกัดจากกัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 2 แทนเหมือนมอร์ฟีน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ และในพรบ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 ระบุเพียงกัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 แต่ไม่ได้ระบุเกี่ยวกับสารสกัดจากกัญชา


"หากใช้แนวทางที่4 จะสามารถปลดล็อกได้เร็วที่สุด และจะสามารถนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในคนเพื่อทดลองเสริมการรักษาใน 4 กลุ่มโรคได้ภายในเดือนม.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม อาจจะส่งผลต่อการใช้กัญชาในตำรับยาแผนไทยที่มีอยู่หลายตำรัยที่เข้ากัญชาจะไม่สามารถปลดล็อกได้ เพราะส่วนใหญ่จะใข้จากดอกหรือใบ ไม่ได้ใช้สารสกัด แต่หากในระยะนี้ให้มีการปลดล็อกในส่วนสารสกัดกัญชาก่อน แล้วอนาคตรอการปรับแก้กฎหมายให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ก็สามารถทำได้"นพ.โสภณกล่าว


นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า เมื่อมีการปลดล็อกให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แล้ว แนวทางการควบคุมจะทำแนวทางเดียวกับมอร์ฟีน คือ ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ขายเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เงินที่ได้จะนำเจ้ากองทุนยาเสพติดที่กระทรวงการคลังดูแลเหมือนกับมอร์ฟีน ในแง่ของการสั่งใช้อาจให้โรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)สั่งใช้ได้โดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมเฉพาะ และอาจมีศูนย์กลางระดับประเทศเป็นเจ้าภาพหลักในการกระจายสารสกัดกัญชา เช่น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หรือกรมการแพทย์ สธ.เป็นต้น ทั้งนี้ การศึกษาการทำสารสกัดน้ำมันกัญชาจากกัญชาแห้งของกลางที่ได้รับมอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ 100 กิโลกรัมนั้น ในรอบแรกองค์การเภสัชกรรม(อภ.)ยังไม่สามารถดำเนินการได้บรรลุตามเป้า โดยสารสกัดที่ได้พบว่า มีสารสำคัญที่ต้องใช้ในการรักษาโดยมีทีเอชซี(THC)30-40 และสารซีบีดี(CBD) 1 ขณะที่หากใช้เพื่อเสริมการรักษา 3 โรคคือ อาการปวดรุนแรง ปลอกประสาทอักเสบ และอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัดจะต้องใช้สัดส่วนทีเอชซีและซีบีดี 1 ต่อ 1 ส่วนรักษาโรคลมชักต้องใช้ที่มีสารซีบีดีสูง ดังนั้น หากกฎหมายปลดล็อกและระยะเร่งด่วนมีความจำเป็นต้องใช้สารสกัดน้ำมันกัญชาในคน อภ.ก็อาจจะมีการนำเข้าสารสกัดซีบีดีจากต่างประเทศเข้ามาก่อนในระยะแรก


"สำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่สำคัญ จะใช้รูปแบบใด รัญจะดำเนินการเองทั้งหมด หรือให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแล้วรัฐควบคุมและเก็บภาษีนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล แต่จะต้องมีการเขียนไว้อย่างรัดกุมในกฎหมายหรือไม่ เพราะหากเป็นช่วงเวลาที่นักการเมืองเข้ามาแล้วในอนาคตบอกให้หัวคะแนนตัวเองตั้งโรงงานผลิตสารสกัดกัญชาได้จะเป็นอย่างไร โดยเรื่องกัญชาทั้งหมดที่ดำเนินการมาอยู่ในเป้าหมายที่จะให้ประชาชนได้ประโยชน์ เข้าถึงยาในราคาที่ไม่แพง"นพ.โสภณกล่าว


นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า อภ.วางแผนในเรื่องการจัดเก็บและผลิตสารสกัดไว้ 3 ระยะ เริ่มจากระยะแรก ทำในห้องปฏิบัติการที่องค์การเภสัชกรรม ที่ถนนพระรามหก ซึ่งจะมีชั้นดาดฟ้าในการเพาะพันธุ์แบบลอยฟ้า มีระบบคุมเข้ม ไม่ให้มีการเล็ดลอด ระยะที่สอง เป็นระดับกึ่งอุตสาหกรรม โดยจะไปทำที่โรงงานผลิตยาที่รังสิต ซึ่งยังมีพื้นที่อยู่ โดยจะนำเข้าเครื่องสกัดสารขนาดใหญ่ขึ้น งบประมาณ 7-8 ล้านบาท และจะทำสถานที่ปลูกบนดาดฟ้า และ 3.เป็นระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากต้องใช้พื้นที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน อภ.มีที่ดินอยู่บริเวณอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรีจำนวน 1,500 ไร่ วางแผนทำเป็นเหมือนคอมเพล็กซ์ แบบครบวงจร ทั้งแหล่งปลูกกัญชาถูกกฎหมาย แหล่งสกัดสาร วิจัยพัฒนาต่อยอด สกัดเป็นน้ำมันกัญชารักษาโรค และจะเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องนี้ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นครั้งแรกของไทยถ้ากฎหมายปลดล็อกได้