ระดมกำลัง จัดตั้งกองทุนดูแลกันเองหนุนเพิ่มกำลังคนรุ่นใหม่

ระดมกำลัง จัดตั้งกองทุนดูแลกันเองหนุนเพิ่มกำลังคนรุ่นใหม่

ภาคประชาสังคมปรับขบวน ระดมกำลังจัดตั้งกองทุนดูแลกันเองหนุนเพิ่มกำลังคนรุ่นใหม่ ขยายเครือข่าย สร้างกลไกช่วยเหลือเยียวยาหลังพบคนทำงานประสบปัญหาขาดการดูแล

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.61 น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ในฐานะกรรมการดำเนินงานทอดผ้าป่าระดมทุนเข้ากองทุนภาคประชาสังคมกล่าวถึงแนวคิดการจัดตั้งกองทุนภาคประชาสังคม ว่า จากความพยายามขององค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมกว่า 50 องค์กร อาทิ เครือข่ายองค์กรเด็กเยาวชน และครอบครัวเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเครือข่ายองค์กรสุขภาพเครือข่ายองค์กรผู้หญิงเครือข่ายองค์กรแรงงานเครือข่ายองค์กรทรัพยากรเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เป็นต้น ร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อหางบประมาณสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายภาคประชาสังคมเนื่องจากบางโครงการไม่สามารถของบอุดหนุนจากกองทุนของรัฐได้ เช่น กองทุนคุ้มครองเด็กกองทุนสิ่งแวดล้อมกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ฯลฯ เพราะไม่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานดังกล่าวทำให้ไม่สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดงบจากส่วนอื่นๆมาสนับสนุนเบื้องต้นโดยระดมทุนจาก 50 องค์กรองค์กรละ 10,000 บาทเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อนำมาทำงานใน 3 ประเด็นได้แก่ 1.ผลักดันให้คนรุ่นใหม่ออกมาทำงานเพื่อภาคสังคมมากขึ้นเนื่องจากองค์กรภาครัฐเป็นภาคใหญ่ไม่เหมาะกับการทำเรื่องเล็กหรือถ้ามองอีกมุมภาครัฐทำเรื่องใหญ่ลำบากหากไม่ได้ความร่วมมือจากภาคประชาชน 2.สนับสนุนองค์กรอื่นๆทำงานข้ามเครือข่ายในประเด็นใหม่และประเด็นร่วมที่ไม่มีใครทำอาทิประเด็นคอรัปชั่นเป็นต้นและ 3.ผลักดันให้สังคมเห็นบทบาทของภาคประชาสังคมในการพัฒนาหรือหาทางออกเพื่อพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน

น.ส.สารีกล่าวอีกว่า กองทุนดังกล่าวนอกจากจะนำไปผลักดันให้สังคมเข้าใจว่าภาคสังคมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศแล้วยังนำไปสนับสนุนโครงการระดับจังหวัด/ระดับพื้นที่กว่า 200 โครงการเพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาชนสามารถเข้าไปติดตามปัญหาที่เกิดในพื้นที่ของตนเองได้และจากการร่วมมือระหว่างองค์กรและภาคประชาชนจะสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป

อย่างไร ก็ตามกองทุนดังกล่าวได้จัดตั้งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา และเพิ่งมีการระดมทุนครั้งแรกโดยการลงขันกันจากองค์กรภาคีเครือข่าย 50 องค์กรซึ่งงบประมาณในส่วนนี้อาจจะมีไม่เพียงพอดังนั้นทางกองทุนจึงมีแนวคิดระดมทุนด้วยการทอดผ้าป่าสามัคคีซึ่งการทอดผ้าป่านี้เป็นการทำบุญแนวใหม่เป็นการทำบุญจากประชาชนเพื่อประชาชนและเงินจากการทำบุญดังกล่าวยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สำหรับงานทอดผ้าป่าสามัคคีนี้ได้รับความเมตตานุเคราะห์จากพระพรหมวชิรญาณกรรมการมหาเถรสมาคมประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดยานนาวาพระอารามหลวงเมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และนายอานันท์ปันยารชุนอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฝ่ายฆราวาสซึ่งงานจะจัดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.00 - 12.00 น. ที่วัดยานนาวาพระอารามหลวงเขตสาทรกรุงเทพมหานคร

ด้านนายวันชัยบุญประชากรรมการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) กล่าวว่าแนวคิดการจัดตั้งกองทุนภาคประชาสังคมจุดเริ่มต้นมาจากประชาชนที่อยากมีส่วนร่วมดูแลสังคมไทยมารวมกลุ่มกันต่างคนต่างเอาทรัพย์สินความสามารถมาแชร์กันจนทำให้ 50 องค์กรรวมถึงมูลนิธิต่างๆและNGOs หารือกันและมีมติร่วมกันบริจาคเงินลงขันให้เกิดกองทุนนี้ทั้งนี้เงินในส่วนดังกล่าวเป็นเงินมาจากประชาชนเพื่อประชาชนซึ่งเป็นเงินที่มีค่าการนำเงินในกองทุนไปใช้ต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อสาธารณะอย่างแท้จริง เป็นการปิดจุดอ่อนที่โครงการซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างมีข้อจำกัด ไม่สามารถกระทำได้ สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนนอกจากจะผลักดันให้คนรุ่นใหม่ทำงานภาคประชาสังคมแล้วยังผลักดันให้ประชาชนที่พบปัญหาในพื้นที่จัดตั้งโครงการเพื่อช่วยกันแก้ไขในเรื่องดังกล่าวนอกจากนี้หากผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมเกิดปัญหาอุบัติเหตุความเจ็บป่วยหรือเกิดภัยคุกคามจากผู้มีอิทธิพลหรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมสามารถนำเงินในกองทุนมาเยียวยาช่วยเหลือได้

“องค์กรที่จะต่อสู้กับภัยคุกคามประชาชนจะของบจากกองทุนภาครัฐซึ่งเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเรื่องไม่ได้ดังนั้นการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อนำมาสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งประชาชนเป็นหลักการจัดตั้งกองทุนเป็นเพียงการปลุกกระแสให้ประชาชนหันมาทำงานภาคประชาสังคมมากขึ้นเราขอเพียงแค่ประชาชนพบปัญหาในพื้นที่แล้วไม่นิ่งดูดายร่วมมือกันดูแลปัญหาในพื้นที่ถือเป็นพลังของประชาชนอย่างแท้จริงนี่คือสิ่งที่ประชาชนและสังคมจะได้ประโยชน์จากกองทุนนี้ทั้งนี้สามารถติดต่อสนับสนุนและติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.thaicivilsociety.com” นายวันชัยกล่าว