คนอีสาน57%เลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง จัดมหรสพอยากชม'ต่าย อรทัย'

คนอีสาน57%เลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง จัดมหรสพอยากชม'ต่าย อรทัย'

ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน สำรวจความคิดเห็นคนอีสาน 57% เลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง ส่วนจัดมหรสพอยากชม "ต่าย อรทัย" ,ประถมบันเทิงศิลป์, ระเบียบวาทะศิลป์ และลำไย ไหทองคำ

วันนี้ (22พฤษภาคม 2561) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานจะเลือกส.ส. แบบใด” พบกลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่เห็นว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ช่วงปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 เหมาะสมที่สุดคุณสมบัติและผลงานของผู้สมัครคือเหตุผลหลักในการเลือกส.ส.โดยมีแนวโน้มจะเลือกนักการเมืองประสบการณ์สูงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และหากมีการจัดมหรสพช่วงหาเสียงกลุ่มตัวอย่างอยากรับชม "ต่าย อรทัย" หมอลำ "ประถมบันเทิงศิลป์" หมอลำ ระเบียบวาทะศิลป์ ลำไย ไหทองคำ และหมอลำเสียงอีสานมากที่สุด

4_2

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานกับการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งหน้า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม2561 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน1,100ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

2_3

ควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วงใด?
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า การจัดเลือกตั้ง ส.ส. ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งร้อยละ 45.0 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วง ม.ค-เม.ย. 62 รองลงมาร้อยละ 36.9 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ซึ่งทำให้ช่วงปลายปี 61 ถึงต้นปี 62 เป็นช่วงที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเหมาะสมสูงถึงร้อยละ 81.9ข ณะที่ร้อยละ 13.2 เห็นว่าควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค.62 ร้อยละ 3.7 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค.62 และมีเพียงร้อยละ 1.2 ควรจัดช่วงปี 63 หรือนานกว่านั้น

3_1

เมื่อสอบถามถึงเหตุผลสำคัญที่สุดที่ใช้ในการเลือกผู้สมัคร ส.ส.พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 59.6 พิจารณาจากคุณสมบัติและผลงานของผู้สมัคร รองลงมาร้อยละ 27.7 เลือกเลือกผู้สมัครจากการสังกัดพรรคที่ชอบ ตามมาด้วย ร้อยละ 8.5 เลือกผู้สมัครที่บุคคลที่เคารพนับถือแนะนำให้ และร้อยละ 4.2 เลือกผู้สมัครที่คุ้นเคยหรือเคยได้รับความช่วยเหลือจากผู้สมัคร

4_2

เหตุผลสำคัญที่สุดที่ใช้ในการเลือกผู้สมัคร ส.ส.
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัคร สส. แบบใด พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 57.2 จะเลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง รองลงมา ร้อยละ 17.4 เลือกนักธุรกิจประสบการณ์สูง ตามมาด้วย ร้อยละ 11.2 เลือกนักการเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ร้อยละ 4.8 เลือกอดีตข้าราชการพลเรือน ร้อยละ 4.0 เลือกนักวิชาการ/ที่ปรึกษา ร้อยละ 2.8 เลือกอดีตทหาร/ตำรวจ ร้อยละ 2.1 เลือกแกนนำมวลชน และอื่นๆ ร้อยละ 0.5

เมื่อสอบถามว่ามีพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจะสนับสนุนแล้วหรือยัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.4 มีพรรคที่จะสนับสนุนแล้ว ร้อยละ 3.1 จะไม่เลือกพรรคใด และร้อยละ 37.5 ยังไม่ตัดสินใจ

5_2

เมื่อสำรวจความคิดเห็นว่าหากมีการจัดมหรสพในช่วงหาเสียงต้องการรับชมนักร้องหรือหมอลำคณะใดมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 24.6ไม่อยากรับชมหรือไม่สนใจดูทั้งนักร้องและหมอลำขณะที่ในกลุ่มที่อยากรับชมมหรสพ พบว่า สามอันดับแรกซึ่งมีความนิยมเท่ากันหรือร้อยละ 6.5 ประกอบด้วย ต่าย อรทัย หมอลำประถมบันเทิงศิลป์ และหมอลำระเบียบวาทะศิลป์ตามมาด้วยร้อยละ 6.1อยากดู ลำไย ไหทองคำ ร้อยละ 5.8 อยากดูหมอลำเสียงอีสานร้อยละ 4.4 ไมค์ ภิรมย์พร ร้อยละ 3.4 ก้อง ห้วยไร่ ร้อยละ 3.3 ตูนบอดี้แสลม เป็นต้น