สศช.ชี้แจงแผนการปฏิรูปประเทศ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สศช.ชี้แจงแผนการปฏิรูปประเทศ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สศช.ขอชี้แจงเกี่ยวกับ แผนการปฏิรูปประเทศที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ขอชี้แจงเกี่ยวกับ แผนการปฏิรูปประเทศที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้

1. ประเด็นการขยายอายุเกษียณจาก 60 ปี เป็น 63 ปี เนื้อข่าวที่เสนอมีความสอดคล้องกับ แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม ที่ได้กำหนดให้สานักงาน กพ. และสำนักงาน กพร. ศึกษาความเหมาะสม ตำแหน่งที่จะมีการขยายอายุการเกษียณ และพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในการทำงาน รวมทั้ง จะไม่ครอบคลุมถึงตำแหน่งงานที่ต้องใช้ศักยภาพ ร่างกาย

2. ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการ ปฏิรูปประเทศ ทั้ง 11 คณะ ได้ดำเนินการทบทวนรายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิรูป ประเทศจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของ แผนการปฏิรูปประเทศ พร้อมทั้ง ได้ดำเนินการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภูมิภาค จำนวนรวม 52 ครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูป ประเทศในด้านต่าง ๆ

3. ประเด็นการขาดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนการปฏิรูปประเทศ แผนการปฏิรูป ประเทศสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในการดำเนินงานได้ โดยตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ได้กาหนดว่าในกรณีที่มีปัญหาอุปสรรคไม่อาจ ดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศได้ และเป็นเรื่องเร่งด่วน หรือในกรณีมีเหตุอื่นใดเป็นการเร่งด่วนเฉพาะ เรื่องให้สำนักงานฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่เกี่ยวข้อง รายงานปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐตาม มาตรา 24 วรรคสอง หรือรัฐสภาทราบโดยด่วน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอานาจต่อไป

4. ประเด็นความชัดเจนการปฏิรูปด้าน กระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม (ตารวจ) ดำเนินการโดยคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาแตกต่างจากแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้านที่ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทั้งนี้ ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ได้ดำเนินการแล้ว เสร็จและจะเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาในวันที่ 20 เมษายน