ส่อง "e-Payment ไทย" โตเร็วเกินคาดคิด !

ส่อง "e-Payment ไทย" โตเร็วเกินคาดคิด !

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณธุรกรรม e-Payment โดยเฉพาะ mobile/internet payment เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากจะเกิดจากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่มากขึ้นแล้ว

ก็น่าจะมาจากการที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้สนับสนุนการใช้ e-Payment มาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงิน การลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคาร รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้ e-Wallet ของรัฐบาล

จากข้อมูลของ World Bank เปิดเผยว่า ในปี 2022 ประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์จำนวน 9.7 พันล้านครั้ง ครองอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย (48.6 พันล้านครั้ง) และจีน (18.5 พันล้านครั้ง) ซึ่งการชำระเงินแบบเรียลไทม์นี้ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็น 2.08% ของ GDP ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 จาก 30 ประเทศ ขณะที่ ปี 2022 และ 2021 ตัวเลขการทำธุรกรรมอยู่ที่ 5.24 พันล้านครั้ง และ 2.57 พันล้านครั้ง ตามลำดับ

E-Payment คืออะไร

E-Payment ย่อมาจากคำว่า Electronic Payment คือ กระบวนการของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน ชำระเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย ที่โดยทั่วไปแล้วมักทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ปั

จจุบันนั้นประเภทของ e-Payment ตาม พ.ร.บ.ระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก และแบ่งย่อยออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

1.ระบบบาทเนต BAHTNET สำหรับ e-Payment ประเภทแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลอยู่ก็คือ ระบบบาทเนต (Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network: BAHTNET) ที่หมายถึง ธุรกรรมการโอนระหว่างธนาคาร bulk payment เป็นการโอนเงินครั้งละหลายรายการ ATM และ counter หมายถึงการทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM หรือเคาน์เตอร์ที่ไม่ใช้เงินสดการทำรายการโอนเงินเพื่อลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าสถาบันและบุคคลใดก็ตามที่มีถิ่นฐานในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงรายการโอนเงินระหว่างสถาบันที่ทำเพื่อลูกค้าที่มีถิ่นฐานในประเทศและนอกประเทศ

2.ระบบโอนเงิน ซึ่งประกอบด้วย

2.1 IFTS Inter-institution Fund Transfer System ระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ช่วยให้การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินหรือธนาคารต่างๆ ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยการเคลื่อนย้ายเงินจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่งแบบเรียลไทม์หรือมีความล่าช้าน้อยที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตั้งแต่การโอนเงิน ธุรกรรมทางธุรกิจ การจ่ายบิล และการชำระหนี้ระหว่างธนาคาร ฯลฯ เป็นต้น

2.2 Payment Card Network หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า Card Network เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้บัตรชำระเงิน เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเติมเงิน

3.บริการการชำระเงิน

3.1 Credit Card, Debit Card และ Prompt Pay  ในปี 2558 บัตร ATM ที่พกติดตัวกันรวมทั้งประเทศ 72 ล้านใบ เป็นบัตรเดบิตที่สามารถใช้ชำระเงินได้ 50.4 ล้านใบ และมีเครื่องชำระเงินในรูปแบบ ATM 63,432 เครื่อง และ เครื่องรูดบัตรชำระเงิน EDC อีก 357,986 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 421,418 เครื่อง และปัจจุบัน มีเครื่อง EDC กระจายตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้า มากถึงกว่า 3 ล้านเครื่อง

3.2 Mobile Payment Mobile Payment คือ การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือ โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อในการโอนเงิน หรือชำระเงินให้แก่ร้านค้า รวมทั้งการชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิ Samsung Pay, Apple Pay เป็นต้น

3.3 Social Payment เป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ Social Network ตัวอย่างเช่น Line Pay, We Chat Pay

3.4 QR Code Payment QR code สำหรับการชำระเงินและการโอนเงิน หมายถึง รหัสแท่งสองมิติที่ปรากฏบนเอกสาร หรือหน้าจอของอุปกรณ์สมัยใหม่ สำหรับการชำระเงิน/โอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ การโอนเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการจัดการตามความเหมาะสม รวมถึงเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมการชำระเงินและการโอนเงิน

3.5 Bit Coin  บิทคอยน์ คือสกุลเงินในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่รับรองให้บิทคอยน์ สามารถใช้แทนเงินสดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สถิติที่น่าสนใจของการใช้ e-payment ในประเทศไทย

สถิติที่น่าสนใจของการใช้งาน e-Payment ในประเทศไทย เพื่อจะได้รู้ถึงเทรนด์ล่วงหน้าและพร้อมสำหรับการพัฒนา digital product เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจและผู้บริโภคชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น

โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.E-payment ในไทยเติบโตถึง 5 เท่า ระหว่างปี 2017 - 2021 ในปี 2017 เพียงปีเดียว จำนวนธุรกรรมสูงถึง 20,700 ล้านรายการ หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 460 ล้านล้านบาท

2.ราว 78% ของคนไทยใช้จ่ายและชำระเงินผ่าน mobile/internet banking เป็นการใช้จ่ายและชำระเงินผ่านทางแอปฯ ธนาคารบนมือถือและธนาคารออนไลน์

3.คนไทยอายุ 21-40 ปี คือกลุ่มที่โอนและชำระเงินผ่าน mobile/internet banking มากที่สุด โดยเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท และใช้มากกว่า 36 ครั้ง/คน/เดือน

4.กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง มักจะใช้บริการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการใช้เงินสด

5.ราว  65% ที่บอกว่าจะกลับไปใช้เงินสดเมื่อมาตรการรัฐหมดลง และมีเพียง 36% ที่บอกว่าจะใช้บริการ mobile/internet payment ต่อ