สั่งใช้ม.44กําหนดใช้ที่ดิน พื้นที่ระเบียงศก.พิเศษภาคตะวันออก

สั่งใช้ม.44กําหนดใช้ที่ดิน พื้นที่ระเบียงศก.พิเศษภาคตะวันออก

"พล.อ.ประยุทธ์" สั่งใช้ม.44 กําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๖๐ เรื่อง ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีเจตจํานงแน่วแน่ที่จะพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อันได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยองซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นศูนย์กลางการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยจัดให้มีการวางผังเมืองและพัฒนาเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้สอดคล้องกัน อันจะทําให้การใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นไปโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพท่ีแท้จริงของพื้นที่ ทั้งจะทําให้การจัดทําโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยสมบูรณ์แต่ปัจจุบันการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการวางข้อกําหนดในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการจัดทํากฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ยังไม่แล้วเสร็จ ทําให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกไม่สามารถเตรียมการหรือวางข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกทั้งสามจังหวัดให้สอดคล้องกันได้ อันเป็นอุปสรรคสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกกรณีจึงมีความจําเป็นเร่งด่วนที่จะต้องวางข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การดําเนินการต่อไปเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
“กรศ.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
“สกรศ.” หมายความว่า สํานักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
“กิจการเป้าหมาย” หมายความว่า กิจการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม หรือบริการ บรรดาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด

ข้อ ๒ ให้ กรศ. จัดทํานโยบายและแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินในภาพรวม แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค และแผนการดําเนินงาน รวมทั้งกําหนดหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการในแต่ละกรณี เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนตามวรรคหนึ่งต้องเชื่อมโยงกับแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของพื้นที่ต่อเนื่องกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยให้ยึดหลักการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบตามหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของการประกอบธุรกิจ และสิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

ข้อ ๓ เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนตามข้อ ๒ แล้วให้ สกรศ. ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทํารายละเอียดของแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกัน โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไปแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่ง ต้องคํานึงถึงความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของพื้นที่ต่อเนื่องกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้วย และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยระบบ ดังต่อไปนี้

(๑) ระบบสาธารณูปโภค
(๒) ระบบคมนาคมและขนส่ง
(๓) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔) ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการเป้าหมายและการอยู่อาศัย
(๕) ระบบบริหารจัดการน้ํา
(๖) ระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ
(๗) ระบบป้องกันอุบัติภัย
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ สกรศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคํานึงถึงความสัมพันธ์กับชุมชน สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งนี้ โดยให้สร้างความรับรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ ๔ ในระหว่างการจัดทําแผนผังตามข้อ ๓
(๑) มิให้นํากฎหมายว่าด้วยการผังเมืองมาใช้บังคับแก่การจัดทําแผนผังนั้น
(๒) คณะกรรมการนโยบายจะมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามนโยบายและแผนตามข้อ ๒ ในเรื่องใดไปพลางก่อนก็ได้

ข้อ ๕ แผนผังที่จัดทําขึ้นตามข้อ ๓ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้ผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองในส่วนที่ใช้บังคับในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอยู่ในวันก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนผังนั้นเป็นอันยกเลิกไปและให้กรมโยธาธิการและผังเมืองดําเนินการจัดทําผังเมืองขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับแผนผังดังกล่าวโดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ในระหว่างที่ยังจัดทําผังเมือง
ไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่าแผนผังที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองสําหรับแต่ละจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
แผนผังที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นผังเมืองรวมตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับตามกฎหมายใด ๆที่เกี่ยวกับการผังเมืองโดยไม่มีกําหนดเวลาสิ้นอายุ
ให้เลขาธิการ หรือพนักงานของ สกรศ. ซึ่งเลขาธิการมอบหมายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งมีหน้าที่และอํานาจในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

ข้อ ๖ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ตามที่เห็นสมควร

ข้อ ๗ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ