TMB - ถือ

TMB - ถือ

ธนาคารเน้นคุณภาพสินทรัพย์เป็นหลักปี 2561

ประเด็นการลงทุน

คาดว่า TMB เพิ่มการตั้งค่าสำรองเพื่อหนี้สูญฯ ขึ้นในไตรมาส 4/60 เป็นต้นไป ดังนั้นคาดการณ์การตั้งสำ รองเพื่อหนี้สูญของเราในปี 2561 อาจจะต่ำจนเกินไปปัจจุบันเราคาดการณ์การตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญ ณ ปี 2561 อยู่ที่ 9 พันล้านบาท ลดลง 10% YoY นอกจากนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอาจหดตัว เนื่องจากผลของการขยายธุรกิจปล่อยสินเชื่อบ้านซึ่งมีผลตอบแทนต่ำ อย่างไรก็ตามเราคาดว่าณปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ที่ 3.15% ในปี 2560 และ 3.27% ในปี 2561 เรามองว่ายังคงมีแนวโน้มความเสี่ยงขาลงต่อประมาณการจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในปี 2561 ของเรา หากภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวไม่เร็วพอที่จะทำให้ธนาคารเร่งการปล่อยสินเชื่อที่มีผลตอบแทนสูง ทั้งนี้ราคาหุ้นยังคงถูก PBV ณ สิ้นปี 2561 ที่ 1.16 เท่า (โดยเป้าหมาย PVB อยู่ที่ 1.26 เท่า) เรานั้นเราจึงคงคำแนะนำ “ถือ”

คาด TMB จะเน้นสำรองฯค่าเผื่อหนี้สูญไตรมาส 4/60 และปีหน้า

แม้ว่าผู้บริหารสามารถลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อโดยรวมเหลือ 2.44% ณ สิ้นเดือน ก.ย. ซึ่งอยู่ในเป้าธนาคารที่ 2.3-2.5% ณ สิ้นปี
2560 แล้วก็ตาม แต่จากการที่ TMB มีนโยบายเร่งจากการปรับโครงสร้างหนี้เสียและการตัดจำหน่ายหนี้เสีย ทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญฯค่อนข้างสูงประมาณ 140-150 bps ของสินเชื่อในไตรมาส 4 และ ปี หน้า (ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.ย. การตั้งสำรองฯอยู่ที่ 1.49% ของสินเชื่อรวม) ทั้งนี้ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใหม่ (New NPL formation)ปรับตัวลดลลง 2.6% ของสินเชื่อโดยรวม ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2560 มาอยู่ที่ 2.2% ณ สิ้นเดือน ก.ย.ผู้บริหารเชื่อว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แตะจุดสูงสุดไปแล้วในไตรมาส 2/60 แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในไตรมาส 4/60 เป็นต้นไป ทั้งนีธนาคารตั้งเป้าอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ ที่ 140-150% เทียบกับ 141% ในไตรมาส 3/60 โดยหากธนาคารมีแผนเพิ่ม สำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปถึง 150% อาจมีความเสี่ยง ต่อประมารการของเราปีหน้า

แนวโน้มความเสี่ยงจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

เป้าหมายการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อของ TMB อยู่ประมาณ 8-10% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.16% (จากการเติบโต 4.4% YTD) เราคาดว่า
การเติบโตของการปล่อยสินเชื่อจะอยู่ที่ 6.5% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ 3.15% อย่างไรก็ตามทางธนาคารหันมาให้ความสำคัญแก่การปล่อยสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัยที่ให้ผลตอบแทนต่ำในช่วงม.ค.-ก.ย. 2560 ทั้งนี้ในช่วงม.ค.-ก.ย. 2560 พอร์ตสินเชื่อที่อยูอาศัยและบรรษัทจะเติบโต 18% YTD และ 3.2%
YTD ตามลำดับ เทียบกับการปล่อยสินเชื่อ SME ซึ่งหดตัว 4.2% YTD ดังนั้น เรามองว่ายังมีความเสี่ยงขาลงแก่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่จะลดลงในปีหน้า
ถ้าหากธนาคารยังไม่ขยายธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง สำหรับ ณ ตอนนี้คาดการณ์ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ณ ปี 2561 ยังคงอยู่ที่ 3.27%

การเพิ่มลงทุนแบบดิจิติลแบ๊งค์กิ้งอาจส่งผลกระทบกำไรปีหน้าเล็กน้อย

TMB ยังคงเป้าหมายการการเป็นผู้นำ ในการให้บริการทางธนาคารแบบดิจิตอล/ออนไลน์/และธนาคารไร้สาย ทำให้ธนาคารมีแผนลงทุนเพิ่มปีหน้า ส่งผลให้ อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับยังคงอยู่ประมาณ 45-47% ในสองสามปีข้างหน้า เนื่องจากการลงทุนทางแอปพลิเคชั่นที่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้เราประมาณอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับของเราที่ 46% ในปี 2560 และ 47% สำหรับปีหน้า โดยเราคาดว่าทางธนาคารยังคงลงทุนสูงกับดิจิตอลแอปพลิเคชั่นในปี 2561 มากกว่าที่เราคาดการณ์ อาจทำให้ อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับมากกว่าที่เราคาดการณ์ จะส่งผลให้กำไรอาจลดลงบ้าง