ประกาศแล้ว! กําหนดค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายปี60

ประกาศแล้ว! กําหนดค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายปี60

ราชกิจจาฯประกาศแล้ว! กําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย ปี2560

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ กฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๖ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๕ สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล
ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นที่เพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษา แต่ไม่เกินสองล้านบาท
(๑) ลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา
(๒) ลูกจ้างมีความจําเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ”
ข้อ ๓ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่การกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ ให้สอดคล้องกับลักษณะของการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามความจําเป็นจนสิ้นสุดการรักษา แต่ไม่เกินสองล้านบาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้