ฝึกรวมครั้งที่ 2 กำลังพลฉุดชักราชรถ ในริ้วขบวนอิสริยยศ

ฝึกรวมครั้งที่ 2 กำลังพลฉุดชักราชรถ ในริ้วขบวนอิสริยยศ

วันนี้( 6 ก.ค.60) ที่โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรุงเทพฯ มีการฝึกซ้อมกำลังพลฉุดชักราชรถ รวมเป็นครั้งที่ 2และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันมีการคัดเลือกกำลังพลฉุดชักราชรถ ประจำริ้วขบวน พระมหาพิชัยราชรถและกำลังพลฉุดชักราชรถน้อยหรือราชรถพระนำ โดยไม่แบ่งแยกสังกัด

     ที่โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก กรุงเทพฯ มีการฝึกซ้อมกำลังพลฉุดชักราชรถในการอัญเชิญพระบรมโกศ พระบรมศพ ในริ้วขบวนอิสริยยศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งวันนี้เป็นครั้งที่ 2 ของการฝึกพร้อมกัน หลังจากที่แยกกันฝึก 2 จุด คือที่โรงเรียนทหารสรรพวุธ กรุงเทพฯ และกองพันสรรพวุธ ซ่อมบำรุงเขตหลัง จังหวัดสระบุรี รวมทั้งสิ้น 331 นาย

     

25600706_๑๗๐๗๐๖_0004

     พันตรีสิทธิศักดิ์ ศรีนวลดี หัวหน้าครูฝึกกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ฉุดชักราชรถ เปิดเผยว่า กำลังพลที่เข้ามาสมัครส่วนมากเคยผ่านงานพระราชพิธีมาแล้ว อย่างน้อย 2-3 งาน หลายคนทราบว่าเหนื่อย แต่ก็ตั้งใจมา ในช่วงแรกที่มีการฝึกซ้อมจากอาสาสมัครบางคนต้องถอนตัว เพราะถึงแม้ว่าใจจะสู้ แต่ร่างกายไม่ไหวก็ต้องถอย เราจะใช้เวลาซ้อมตั้งแต่ 9:00 - 16:00 น. ซึ่งในวันนี้เป็นการฝึกรวมกันเป็นครั้งที่ 2 โดยช่วงเช้าต้องปรับท่าให้เหมือนเป็นจังหวะเดียวกันก่อน ในท่ามาตรฐาน ทั้งท่าหยิบเชือก วางเชือก และท่าเดิน ในช่วงนี้เน้นความแข้มแข็งและความสมบูรณ์ของร่างกายกำลังพลก่อน ค่อยเก็บรายละเอียดความพร้อมเพียง

25600706_๑๗๐๗๐๖_0010

25600706_๑๗๐๗๐๖_0008

25600706_๑๗๐๗๐๖_0001

 

     ส่วนช่วงบ่าย  หากเห็นว่ากำลังพลมีความพร้อมเพรียงแล้ว จะมีการคัดเลือกกำลังพลว่า ใครจะประจำริ้วขบวนราชรถใด โดยดูจากสรีระ ท่าทาง ความสง่า ไม่แยกหรือจำกัดว่าใครอยู่หน่วยงานไหน เพราะทุกริ้วขบวนมีความสำคัญเท่ากันหมด โดยที่ขบวนพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เชือกฉุดชัก ทั้งหมด 4 เส้น เส้นละ 43 ห่วง รวมแล้วต้องใช้กำลังพล 172 นาย ส่วนเชือกฉุดชักด้านหลังจะสั้นกว่า โดยใช้ทั้งหมด 2 เส้น เส้นละ 22 ห่วง รวมแล้วต้องใช้กำลังพล 44 นาย และมีเสริมตำแหน่ง พลห้ามล้อ 1 นาย ซึ่งตำแหน่งเพิ่มขึ้นมาครั้งแรกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และขบวนราชรถน้อยหรือราชรถพระนำ ใช้เชือกฉุดชัก ทั้งหมด 4 เส้น เส้นละ 14 ห่วง รวมแล้วต้องใช้กำลังพล 56 นาย เชือกฉุดชักด้านหลังจะสั้นกว่าเช่นกัน โดยใช้ทั้งหมด 2 เส้น เส้นละ 9 ห่วง  รวมแล้วต้องใช้กำลังพล 16 นาย

25600706_๑๗๐๗๐๖_0006

25600706_๑๗๐๗๐๖_0005

     ทั้งนี้ การฝึกระยะที่ 2 จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายนศกนี้ ที่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทรกษัตริยาธิราช โดยจะฝึกตามลำดับทุกขั้นตอนเสมือนงานพระราชพิธี ทั้งเวลา ท่าทาง และความพร้อมเพรียง

 

25600706_๑๗๐๗๐๖_0007

25600706_๑๗๐๗๐๖_0009

     เรื่องเพลงในริ้วขบวนที่ 2 นั้น มีการเรียบเรียงขึ้นมาใหม่โดยใช้เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสรรเสริญพระนารายณ์ และเพลงพญาโศกลอยลมเป็นเพลงแม่แบบ ตามที่กองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้คัดเลือก ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการตั้งชื่อเพลงดังกล่าว ส่วนการฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ประจำเกรินบันไดนาค พันตรีสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า ขบวนเกรินบันไดนาค ต้องใช้กำลังพลทั้งหมด 110 นาย ซึ่งตอนนี้ได้เข้ามารับท่า หรือ ลักษณะทางการไปเพื่อฝึกซ้อมแล้วเรียบร้อยแต่ต้องแยกกันฝึกเพราะรายละเอียดของขบวนเกรินบันไดนาค จะแตกต่างจาก ขบวนฉุดชักพระมหาพิชัยราชรถและขบวนฉุดชักราชรถน้อยหรือราชรถพระนำ หลังจากนั้นค่อยมาซ้อมรวมกันอีกครั้ง

            

  25600706_๑๗๐๗๐๖_0002