CK - ซื้อ

CK - ซื้อ

การประมูลโครงการที่ชัดเจนขึ้นหนุนการปรับเพิ่มแนะนำ

ประเด็นการลงทุน

ภาพการประมูลที่ชัดเจนขึ้นและมูลค่างานในมือที่เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี ทำให้เราคิดว่าอาจถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มเข้าสะสมหุ้น CK เข้ามาในพอร์ตอีกครั้ง แนวโน้มเชิงบวกที่ดีขึ้นน่าจะช่วยหนุนราคาซื้อขายของ CK ขึ้นมาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของ PBV ที่ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เราจึงปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2560 มาอยู่ที่ 30.50 บาท และปรับคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ

ภาพการประมูลโครงการชัดเจนขึ้น

การประมูลโครงการขนาดใหญ่โครงการต่อไปคือโครงการรถไฟรางคู่ช่วง หัวหิน-ประจวบฯ มูลค่าโครงการ 8.4 พันล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการขายเอกสารประกวดราคาในช่วงวันที่ 16-23 พ.ค. ผู้ประมูลน่าจะยื่นเอกสารการประมูลได้ในต้นเดือนก.ค. และทำการประกวดราคาทางอิเล็คทรอนิกส์ในวันที่ 27 ก.ค. การประกวดราคา
โครงการต่อไปซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงครึ่งหลังปี 2560 อาจเป็นโครงการรถไฟรางคู่นครปฐม-หัวหิน มูลค่าโครงการ 8.5 พันล้านบาทสำหรับสัญญาที่ 1 และ 7.4 พันล้านสำหรับสัญญาที่ 2 นอกจากนี้ยังมีสัญญาโครงการรถไฟรางคู่อีก 10 สัญญามูลค่ารวมอยู่ที่ 7.3 หมื่นล้านบาท โดย รฟท. จะขายเอกสารประกวดราคาในไตรมาส 3/60 และการประกวดราคาทาง
อิเล็คทรอนิกส์สำหรับโครงการดังกล่าวน่าจะอยู่ในช่วงไตรมาส 1/61

สำหรับรถไฟฟ้าในกทม โครงการสายสีม่วงใต้มูลค่า 1.31 แสนล้านบาท น่าจะเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในเร็วๆนี้ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือนก่อนที่จะรู้ผลผู้ชนะการประมูล สำหรับการประมูลสายสีส้มตะวันตกมูลค่าโครงการ 1.11 แสนบาทน่าจะตามหลังสายสีม่วงมาติดๆ

งานในมือเกือบแตะ 1 แสนล้านในเร็วๆนี้

นับตั้งแต่ต้นปี CK เซ็นสัญญาใหม่ไปแล้ว 2.8 หมื่นล้านบาทและน่าจะเซ็นสัญญา M&E สำหรับ MRT สายสีน้ำเงินมูลค่า 1.96 หมื่นล้านบาทหากผู้ถือหุ้นของ BEM อนุมัติในการประชุมวันที่ 12 มิ.ย. นี้ หลังจากที่เซ็นต์สัญญางานดังกล่าวแล้ว งานในมือของ CK จะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.8 หมื่นล้านบาทซึ่งประมาณ 2.6-2.7 หมื่นล้านบาทจะรับรู้เป็นรายได้ในช่วงไตรมาส 2/60-4/60 ในระยะยาว CK คาดว่าจะมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 3-3.5 หมื่นล้านบาทโดยเซ็นงานใหม่เพิ่มราว 3-3.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปัจจุบัน CK มีศักยภาพที่จะรองรับรายได้ราว 5 หมื่นล้านบาทต่อปี


โครงการเขื่อนในประเทศลาวหนุนงานในมือปี 2562 อย่างมีนัยสำคัญ

CKP ได้เซ็นต์สัญญา MOU กับรัฐบาลลาวเพื่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานน้ำเป็นที่เรียบร้อย โดยมูลค่าโครงการนี้อยู่ที่ประมาณ 1.3-1.4 แสนล้านบาท ในขณะที่มูลค่างานก่อสร้างน่าจะอยู่ที่ราว 1 แสนล้านบาท โดยคาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มได้ต้นปี 2562 และจะใช้เวลาก่อสร้างถึง 7 ปี อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะสูงกว่าของโครงการเขื่อนไซยะบุรี (ที่มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2562) เนื่องจากความรู้ความเชี่ยวชาญและการบริการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งโครงการทั้งสองแห่งไม่ได้อยู่ไกลกันนัก