ทำไม 'ม็อบ 7 สิงหา' หาคำตอบอดีตแห่งปัจจุบัน

ทำไม 'ม็อบ 7 สิงหา' หาคำตอบอดีตแห่งปัจจุบัน

ย้อนหาคำตอบ "ม็อบ 7 สิงหา" พลิกปูมประวัคิศาสตร์การเมืองไทย อะไรที่ทำให้กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ร่วมกับเยาวชนปลดแอก นัดหมาย 7สิงหา ชักธงรบไล่ประยุทธ์ อีกครั้ง

สถานการณ์เดือนสิงหาคม ร้อนระอุโดยพลัน เมื่อกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ร่วมกับเยาวชนปลดแอก นัดหมาย ม็อบ7สิงหา ชักธงรบ “ไล่ประยุทธ์” อีกครั้ง

“...ต้องสังเวยด้วยชีวิตของประชาชนอีกเท่าไร จึงจะสำเหนียกได้ว่าเวลาของประยุทธ์...ได้หมดลงแล้วประเทศชาติ ณ เวลานี้ ต้องการนายกฯ ที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง... 7 สิงหาคมนี้ ทุบประตูบ้านเจ้าของxxxให้พาxxxกลับบ้าน”

ด้านหนึ่ง 7 ส.ค. 2564 ในมิติทางการเมืองนอกสภา เป็นวันครบรอบ 1 ปี ของ “คณะประชาชนปลดแอก” ซึ่งมีการประกาศจัดตั้งองค์กรต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่

พลิกแฟ้มข่าว 7 ส.ค.2563 ที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทัตเทพ เรืองประไพกิจ และจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเปิดตัว “คณะประชาชนปลดแอก” อย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาลประยุทธ์คือ

1.หยุดคุกคามประชาชน

2.ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่

3.ต้องยุบสภา เลือกตั้งใหม่

ทำไม 'ม็อบ 7 สิงหา' หาคำตอบอดีตแห่งปัจจุบัน

จากคณะประชาชนปลดแอก ได้แตกยอดเป็นคณะราษฎร, เยาวชนปลดแอก, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฯลฯ ที่ได้ยกระดับข้อเรียกร้องจาก “ไล่ประยุทธ์” ทะลุเพดาน สู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

ในรอบหลายปีมานี้ มีข้อน่าสังเกตว่า กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ มักจะเลือก “วันเชิงสัญลักษณ์” อย่าง 24 มิถุนา หรือ 7 สิงหา เป็นวันจัดกิจกรรมการเมืองนอกสภา

สำหรับ 7 สิงหาคม 2508 ที่เรียกกันว่า “วันเสียงปืนแตก” สมัยแดงทั้งแผ่นดิน ก็จะมี “กลุ่มแดงตาสว่าง” จัดงานรำลึกวันเสียงปืนแตก ขณะที่อดีตคอมมิวนิสต์ไทย (ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย) ส่วนใหญ่ ไม่ได้สนใจวันสำคัญของการปฏิวัติไทยดังกล่าวแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สิงหาเดือด‘แดง-ส้ม’ล้มกระดาน

ทำไม 'ม็อบ 7 สิงหา' หาคำตอบอดีตแห่งปัจจุบัน

56 ปีที่แล้ว ที่บ้านนาบัว อ.เรณูนคร จ.นครพนม มีการปะทะกัน ระหว่างตำรวจกับผู้ปฏิบัติงานของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 ส.ค.2508 และ พคท. ให้ถือเป็นวันแห่งการต่อสู้ด้วยอาวุธ เปิดสงครามสู้รบกับทหารรัฐบาลนับแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบชัยชนะ ในปี 2492 พคท.จึงรับเอา “ความคิดเหมาเจ๋อตง” เป็นความชี้นำของพรรค เน้นจัดตั้งชาวนาที่เป็น “ทัพหลวง” มีเป้าหมายโค่นล้ม “นายทุน ขุนศึก ศักดินา

ปี 2499 พคท.ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานออกสู่ชนบท เดินแนวทางชนบทล้อมเมือง และยึดเมืองในที่สุด เอกสารภายในของ พคท. ชื่อ “ประวัติการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยโดยสังเขป” ซึ่งตอนหนึ่งระบุว่า

“งานในชนบทของพรรคนับวันขยายตัวออกไป ศัตรูได้พยายามติดตามและปราบปรามอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดวันที่ 7 สิงหาคม 2508 เสียงปืนประเดิมชัย ก็ได้ระเบิดขึ้นที่บ้านนาบัว ต.เรณูนคร อ.นาแก จ.นครพนม(ข้อมูลปี 2508) สงครามปฏิวัติประชาชนได้เริ่มขึ้นแล้ว เสียงปืน “7 สิงหา” กระเทือนไปทั่วประเทศไทย...”

พคท.ได้ยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธ และกองทัพปลดประชาชนแห่งประเทศไทย(ทปท.) สลายตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตั้งแต่ปี 2525 แต่ “อุดมการณ์ 7 สิงหา” ได้ถูกรื้อฟื้นใหม่ในการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงบางกลุ่ม และส่งทอดมาถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่

สถานะของ 7 สิงหา ในปัจจุบัน เป็นวันเชิงสัญลักษณ์การต่อสู้ “พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน” จึงเป็นวันก่อการ “คณะประชาชนปลดแอก” เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงเป็นวันนัดหมาย “ไล่ประยุทธ์” ชนิดทะลุเพดานในปีนี้

ทำไม 'ม็อบ 7 สิงหา' หาคำตอบอดีตแห่งปัจจุบัน