'กรมอนามัย พัฒนาสื่อดูแล 'สุขภาพช่องปาก' ผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่'

'กรมอนามัย พัฒนาสื่อดูแล 'สุขภาพช่องปาก' ผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่'

'กรมอนามัย' ร่วมกับ 'การยางแห่งประเทศไทย' ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อ 'สุขภาพ' และ 'สุขภาพช่องปาก' ของผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษ จาก 'ยาพารา'

​วันนี้ (22 มิถุนายน 2564) ​นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดี'กรมอนามัย' ร่วมกับ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ 'การยางแห่งประเทศไทย' ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อ 'สุขภาพ' และ 'สุขภาพช่องปาก' ของผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษ ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย

อธิบดี'กรมอนามัย' กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า ในปี 2561 พบเด็กแรกเกิด 'ปากแหว่งเพดานโหว่' ในระบบบัตรทอง จำนวน 1,092 คน จากเด็กแรกเกิดทั้งหมด 516,326 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 2.11 คนต่อทารกมีชีพ 1,000 คน 

  • ขอบเขตความร่วมมือ 

ซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อ 'สุขภาพ' และ 'สุขภาพช่องปาก' ของผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้วยยางพารา สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนการดูแล 'สุขภาพช่องปาก' ของผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษ โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

1) 'กรมอนามัย' กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันนโยบาย จัดเตรียมเนื้อหาข้อมูล 'สุขภาพ' และ'สุขภาพช่องปาก' ออกแบบ จัดหาต้นแบบสื่อในการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อ 'สุขภาพ' และ 'สุขภาพช่องปาก' ของผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษ รวมทั้งจัดส่งสื่อให้แก่บุคลากรสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้ดูแล

2) 'การยางแห่งประเทศไทย' พัฒนาสูตรและวัสดุยางพาราที่มีความปลอดภัยในระดับการใช้งานภายในช่องปาก ขึ้นรูปต้นแบบสื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้วยวัสดุ'ยางพารา' 

3) ร่วมดำเนินการ แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ฐานข้อมูล และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้'สุขภาพ' รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น

162435226890

 

  • ผลิตสื่อต้นแบบจาก 'ยางพารา'

“ทั้งนี้ การสนับสนุนความร่วมมือพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้ 'กรมอนามัย' ได้เตรียมข้อมูลเนื้อหาทาง'สุขภาพ' และ 'สุขภาพช่องปาก' ออกแบบสื่อ เช่น โมเดลภาวะ 'ปากแหว่งเพดานโหว่' สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและตุ๊กตาเด็ก 'ปากแหว่งเพดานโหว่' สำหรับการฝึกทักษะผู้ปกครอง พัฒนารูปแบบ และให้ข้อมูลกับ 'การยางแห่งประเทศไทย' ผลิตสื่อต้นแบบจาก 'ยางพารา' ให้บุคลากรสาธารณสุขในเครือข่ายปฐมภูมิ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อส่งเสริม'สุขภาพ'

"โดยใช้สื่อที่ผลิตจาก 'ยางพารา' ไปใช้ในพื้นที่กับกลุ่มเป้าหมาย และร่วมประเมินผล เพื่อจะได้นำข้อเสนอแนะไปพัฒนาสื่อจาก 'ยางพารา' ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้ง มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความรอบรู้ให้แก่ผู้ดูแล ช่วยให้ผู้ป่วย 'ปากแหว่งเพดานโหว่' และกลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษมีสุขภาพที่ดี ตลอดจนพัฒนาสื่อความรอบรู้จาก 'ยางพารา' ใน กลุ่มเฉพาะกลุ่มพิเศษอื่น ๆ เช่น กลุ่มที่มีความพิการทางสายตา ต่อไปในอนาคต” อธิบดี'กรมอนามัย' กล่าว