CPHI ดันไทยสู่ 'Medical Hub' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

CPHI ดันไทยสู่ 'Medical Hub' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

เตรียมจัดงาน CPHI South East Asia 2024 ระหว่างวันที่ 10 - 12 ก.ค. 67 เป้าหมายสร้างความมั่นคงทางการยา ช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

KEY

POINTS

  • ตลาดเภสัชกรรมของไทย มีมูลค่าตลาดประมาณ 225 พันล้านบาท ขึ้นแท่นชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้ง รัฐบาลยังได้เสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ในเอเชีย
  • การเป็น Medical Hub ประเทศไทยล้วนมีความสามารถและได้รับการยอมรับทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านโรงพยาบาลหรือคลินิก ก็มีมาตรฐานที่สูง ราคาในการเข้ารับการรักษาถือว่าสมเหตุสมผล 
  • ล่าสุด เตรียมจัดงาน CPHI South East Asia 2024 ระหว่างวันที่ 10 - 12 ก.ค. 67 เป้าหมายสร้างความมั่นคงทางการยา ช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

เตรียมจัดงาน CPHI South East Asia 2024 ระหว่างวันที่ 10 - 12 ก.ค. 67 เป้าหมายสร้างความมั่นคงทางการยา ช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 225 พันล้านบาท ประเทศไทยจึงเป็นหนึ่งในตลาดเภสัชกรรมชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ยามีราคาไม่แพงและเข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มูลค่าตลาดยาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

 

อีกทั้ง รัฐบาลยังได้เสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ในเอเชีย เพื่อดึงดูดผู้ป่วยชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ รวมทั้งเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) ในภาคเภสัชกรรมที่จะเพิ่มศักยภาพของบริษัทของตนเอง

 

การจัดงาน “ซีพีเอชไอ เซาธ์ อีสต์ เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) ระหว่างวันที่  10 - 12 กรกฎาคม 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในปีนี้เป้าหมายสำคัญคือสร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทย เพื่อช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรฐานการผลิตยาในประเทศไทยนั้น มีมาตรฐานในระดับสากลพร้อมแข่งขันในการเป็นผู้ผลิตยาสู่ตลาดต่างประเทศ 

 

ไม่ว่าจะเป็นการจัดแสดงงานคู่กับ “Medlab Asia & Asia Health 2024” ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมยา อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ และการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงศักยภาพของภาคส่วนในอุตสาหกรรมยาไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในสายตาของนานาชาติ ภายใต้คอนเซ็ป International Healthcare Week ที่มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบและการดูแลสุขภาพครบวงจร 

 

CPHI ดันไทยสู่ \'Medical Hub\' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

นวัตกรรมยาดันไทยสู่ Medical Hub

"รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์"  ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์ อธิบายว่า การเป็น Medical Hub หากพิจารณาจากทั้งด้านบุคลากรทางการแพทย์ในทุกสาขา ประเทศไทยล้วนมีความสามารถและได้รับการยอมรับทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านโรงพยาบาลหรือคลินิก ก็มีมาตรฐานที่สูง ทั้งยังได้รับมาตรฐาน JCI (Joint Commission International )เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในการเข้ารับการรักษาถือว่าสมเหตุสมผล 

 

อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐและ Soft Power ของไทย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การนวดแผนไทย อาหารไทย ล้วนแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และเสริมความแข็งแกร่งให้กับความเป็น Medical Hub ของไทยมากขึ้น 

 

ดังนั้น ในส่วนของภาคเอกชนของอุตสาหกรรมยานั้น มีความจำเป็นอย่างมากในการเตรียมความพร้อมในการยกระดับกระบวนการผลิต มาตรฐานและควบคุมคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและต้องพัฒนายกระดับมาตรฐานนี้ให้สูงขึ้นตลอด เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของระดับนานาชาติ

 

"การจัดแสดงงานในปีนี้เป้าหมายสำคัญ คือการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทย เพื่อช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรฐานการผลิตยาในประเทศไทยนั้น มีมาตรฐานในระดับสากลพร้อมแข่งขันในการเป็นผู้ผลิตยาสู่ตลาดต่างประเทศ เวทีนี้จะเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงศักยภาพของภาคส่วนในอุตสาหกรรมยาไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในสายตาของนานาชาติ การสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบและการดูแลสุขภาพครบวงจร"

 

CPHI ดันไทยสู่ \'Medical Hub\' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค
 

 

ภก.ประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีแมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ทีแมน ที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแบบครบวงจรมากว่า 50 ปี ช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงยาที่ดีมีคุณภาพ ราคาที่เข้าถึงได้ มีเป้าหมายก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร

 

ทั้งคิดค้น วิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ยาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ด้วยกระบวนการผลิตยาและการกระจายยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลของอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และมาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับสากลเป็นที่ยอมรับของระดับนานาชาติ พร้อมในการการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Medical Hub ต่อไป

 

ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเทคโนโลยี NatureCeutical ซึ่งประยุกต์มาจากเทคโนโลยีการผลิตยาแผนปัจจุบัน เป็นการนำสารสำคัญออกจากวัตถุดิบจากธรรมชาติมาอยู่ในรูปแบบสารสกัด ให้มีฤทธิ์สรรพคุณทางยาที่มีการควบคุมทั้งในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการเจ็บคอ ที่นำเทคโนโลยี NatureCeutical มาใช้สร้างสารสกัดจึงทำให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพร ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ Original โดยคนไทย ซึ่งนอกจากตลาดในประเทศแล้ว ยังตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันเข้าสู่ตลาดโลกต่อไป

 

ปัจจุบันมีสินค้าภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ รวม 216 แบรนด์และแบรนด์จากบุคคลภายนอกอีก 13 แบรนด์ รวมกว่า 756 รายการ (SKU) ทั้งผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน บำบัด รักษาและบรรเทาอาการระบบต่างๆร่างกาย / กลุ่มยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรดูแลและช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ เพื่อดูแลสุขภาพทั่วไปสำหรับทุกเพศทุกวัย

 

"การร่วมงานซีพีเอชไอ เซาท์อีสเอเชีย (CPHI South East Asia 2024) เชื่อว่าจะมีผู้เข้าชมงานจากหลายกลุ่มอาชีพและจากหลายประเทศในภูมิภาค ทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องจักร ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์เภสัชกรฝ่ายผลิต และอีกมาก มีส่วนผลักดันให้เป็นที่รู้จักและขยายฐานลูกค้าใหม่ทั้งในประเทศไทยและกว่า 21 ประเทศทั่วโลก เช่น กัมพูชา จีน เมียนมา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม ฮ่องกง เป็นต้น"

 

CPHI ดันไทยสู่ \'Medical Hub\' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

 

สเต็มเซลล์ ผู้นําอุตสาหกรรมยาอาเซียน

ภก.ดร.เชิญพร เต็งอำนวย กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด  ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเวชภัณฑ์ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) จากจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี รวมทั้งคุณภาพของบุคลากร โดยเฉพาะแพทย์ทางเลือกและการดูแลฟื้นฟู ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยครบวงจร มีแนวโน้มการลงทุนสูงในอนาคต

 

ขณะที่ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 65% ของตลาดอุตสาหกรรมยาที่มีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท โดยมีเพียง 35 % เท่านั้นที่เป็นการผลิตยาในไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยาสำเร็จรูปหรือขั้นปลายน้ำ หรือเป็นการผลิตยาชื่อสามัญ (Generic drug) โดยเป็นการผลิตลอกเลียนสูตรยาต้นตำรับหรือยาต้นแบบจากต่างประเทศที่หมดสิทธิบัตรไปแล้ว

 

ส่วนการผลิตยาขั้นต้นน้ำ หรือยาค้นคว้าขึ้นมาใหม่ และการผลิตยาขั้นกลาง หรือการผลิตวัตถุดิบนั้นยังมีน้อยมาก จึงจำเป็นต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของคนไทย ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ด้วยราคาที่ยุติธรรม ทดแทนการนําเข้าและยังสามารถสร้างผลกําไรให้กับคู่ค้าได้อย่างยั่งยืน

 

“เราวางเป้าหมายของบริษัทไว้ว่าต้องการเป็นผู้ผลิตยาแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้นน้ำถึงปลายน้ำโดยเฉพาะในยากลุ่มเฉพาะทาง เพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น ยากลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advance Therapy Medicinal Products) ยาชีววัตถุ และผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ (Probiotic) เป็นต้น”

 

การพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พัฒนาชุดทดสอบและวัคซีนโรคภูมิแพ้ ตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยงไรฝุ่น และแมลงสาบ และกระบวนการสกัดเพื่อให้ได้สารสำคัญซึ่งเป็นวัตถุดิบที่จำเพาะต่ออาการแพ้ของคนไทย

 

ตลอดจนกระบวนการผลิตชุดทดสอบและวัคซีนจนได้ผลิตภัณฑ์สู่ตลาด วิจัยและพัฒนายากลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advance Therapy Medicinal Products) เช่น สเต็มเซลล์ และการพัฒนา NK cell เพื่อเป็นการรักษาทางเลือกในการรักษามะเร็งได้รับการอนุมัติใบอนุญาตเพื่อการผลิต จากคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข

 

CPHI ดันไทยสู่ \'Medical Hub\' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

 

“Stem Cell”นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์

สเต็มเซลล์ (Stem Cell) นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนานากลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advance Therapy Medicinal Products; ATMP5) โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาธนาคารเภสัชกรรมเซลล์ต้นกำเนิด (Pharmaceutical Stem Cell Bank) ในรองรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สเต็มเซลล์ NK cell และยากลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

 

โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สเต็มเซลล์จากเด็กแรกคลอดและสเต็มเซลล์จากไขมันของผู้ใหญ่ที่ถูกเพาะเลี้ยงกว่า 30 วัน และผ่านกระบวนการตรวจสอบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สำหรับรองรับการรักษาโรคแบบจำเพาะบุคคลในอนาคต เช่น โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้น ระยะเวลาในการรับฝากตามสัญญา 20 ปี และการรับสเต็มเซลล์แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

วัคซีนโรคภูมิแพ้จากไร้ฝุ่น

ส่วนการผลิตสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการศึกษาและผลิตสารก่อภูมิแพ้มาอย่างยาวนานถึง 40 ปี เป็นที่น่าเชื่อถือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่การผลิตในโรงพยาบาลมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ จึงร่วมกันผลิตภายใต้หลักเกณฑที่ดีในการผลิต GMP/PICs และได้รับอนุมัติทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชีววัตถุจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

โดยเพาะเลี้ยงไรฝุ่น ได้แก่ แมลงสาบ เชื้อรา หญ้าขน สุนัข แมว วัชพืช ฯลฯภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมความสะอาด อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม และการใช้วัคซีนในการรักษาเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ผู้ได้รับวัคซีนทนต่อยาไม่ใช่แค่ควบคุมเหมือนยาแก้ภูมิแพ้ทั่วไป แต่จะใช้ระยะเวลาการรักษาที่นานถึง 3-5 ปี โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลดีต่อผู้ป่วยเนื่องจากใช้วัตถุดิบในประเทศที่ตรงต่อการแพ้ของคนไทยโดยเฉพาะ

 

เทรนด์การแพทย์ที่ได้รับความนิยม

Growth factor หรือ เทรนด์ที่สำคัญในการทำให้ตลาดเติบโตด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย คือ

1. เทรนด์ผู้สูงอายุทั่วโลกประเทศไทยถือเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และยังมีอีกหลายประเทศก็กำลังประสบปัญหานี้ และปัญหาอีกอย่างคืออัตราการเกิดที่ต่ำลง ทำให้ต้องกลับมาผลักดันเศรษฐกิจจากคนกลุ่มนี้แทนเป็น silverage economy ต้องรักษาคนกลุ่มนี้ให้ชีวิตยืนยาวและมี Quality of Life ที่ดีด้วย จึงเป็นโอกาสของผลิตภัณฑ์กลุ่ม NCDs รวมถึงอาหารเสริมต่างๆ

 

2. เทรนด์การดูแลสุขภาพตนเองหลังจากโรคระบาดโควิดเป็นสาเหตุที่ทำให้คนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อยากดูแลสุขภาพให้ดี ไม่อยากป่วยง่าย ไม่ว่าจะเป็นโควิด หรือโรคต่างๆ จึงมองหาอาหารเสริมพวกภูมิคุ้มกัน อีกทั้งเจอปัญหา long covid เช่น ไอเรื้อรัง หายใจหอบเหนื่อย นอนไม่หลับ เจอปัญหาผลข้างเคียงจากวัคซีน ก็ต้องไปพึ่งอาหารเสริมต่างๆ ช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

 

3. เทรนด์สิ่งแวดล้อมที่คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บวกกับคนมารับประทานผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้นเทรนด์ สมุนไพรกับสินค้าผลิตภัณฑ์ Healthcare ต่างๆจึงเป็นเทรนfด์ที่ดี ร่วมกับไทยที่มีกระแสของ BCG model ที่มามุ่งเน้นเรื่องสมุนไพรไทยด้วย

 

CPHI ดันไทยสู่ \'Medical Hub\' สร้างความมั่นคงทางยาภูมิภาค

 

‘Health Rider’ยาถึงบ้าน

วานนี้(18 มีนาคม 2567) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดตัว Health Rider หรือสม.ไรเดอร์ บริการส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการ “ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”โดยจะเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วจัดส่งยาและเวชภัณฑ์จำเป็นให้กับผู้ป่วยถึงบ้านฟรี โดยเฉพาะผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ป่วยและญาติ ไม่ต้องเดินทางมารับยาถึงโรงพยาบาล

 

รวมทั้ง เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกไปรับยาที่โรงพยาบาลหรือไปรับที่ร้านยา ซึ่งจะต้องได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถรับยาที่บ้านได้ โดยจะให้บริการระบบเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ควบคู่ไปด้วย เพื่อยืนยันการรับยาและแนะนำวิธีการรับประทานยาให้กับผู้ป่วย ทำให้ช่วยลดความแออัด ลดการรอคอยลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่โรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับยาได้

 

บริการ Health Rider ยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับ อสม. และบุคลากรโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา หลายจังหวัดได้นำร่องบริการนี้บ้างแล้ว อาทิ จังหวัดน่าน ดำเนินการแล้ว14 โรงพยาบาล มี อสม.และบุคลากรร่วมเป็น Health Rider 78 คน ให้บริการในระยะทางไม่เกิน 15 กิโลเมตรจากโรงพยาบาล ตั้งแต่ ธันวาคม 2566-14 มีนาคม 2567 จัดส่งยาไปแล้ว 2,976 ออเดอร์ ช่วยลดความแออัดหน้าห้องยาลงได้ ร้อยละ 14 ต่อวัน

 

ภาพรวมทั่วประเทศ ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 มีนาคม 2567 มีหน่วยบริการเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว 184 แห่ง ใน 32 จังหวัด อสม. และบุคลากรสาธารณสุข เข้าร่วมโครงการฯ 1,414 คน จัดส่งยารวม 44,174 ออร์เดอร์ ผลสำรวจพบผู้ป่วยพึงพอใจเรื่องความรวดเร็วในการส่งยา ร้อยละ 99.2 ช่วยลดระยะเวลาในการรอคอยยา ร้อยละ 99.5

 

โดย อสม. และบุคลากรของโรงพยาบาลต้องขึ้นทะเบียน Provider ID ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ขณะที่ระบบการส่งยาจะมีบริษัทขนส่งภาคเอกชนเข้ามาร่วม อาทิ นินจา, Global Jet Express, GRAB, ไปรษณีย์ไทย, Robinhood, LINE MAN, SCG Logistic, Kerry และ Dowel เป็นต้น