โลกการทำงานของ ‘Gen Z’ ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

แม้เทรนด์ตลาดงานในปัจจุบัน ‘คนสมัครงาน หรือคนรุ่นใหม่ Gen Z จะเป็นผู้เลือกงาน มากกว่าองค์กรเป็นคนเลือกงาน’ ล่าสุด ตลาดการจ้างงาน ออกมาเปิดเผยว่า องค์กร หรือบริษัทต่างๆ อาจจะไม่เลือกทำงานกับคนกลุ่มนี้ เพราะทำงานด้วยยาก 

Keypoint:

  • Gen Z เริ่มเข้าสู่ตลาดงานในปี 2563 กลุ่มคนดิจิทัล มองเห็นคุณค่าตัวเอง มองทุกคนเท่าเทียม ไม่เชื่อในระบบอาวุโส เชื่อในสิ่งที่มีข้อมูลรองรับ
  • วิจัยเผยองค์กรทำงานร่วมกับ Gen Z ยาก พวกเขาเก่งเทคโนโลยี แต่ขาดทักษะเชิงลึก หรือเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก สื่อสารยอดแย่  เกิดช่องว่างระหว่างGen 
  • คนGen Z  เรียนรู้ไวมีความสามารถ องค์กรต้องปรับเปลี่ยน สถาบันการศึกษาต้องฝึกทักษะความคิด ความเป็นผู้นำ ทำงานร่วมกับผู้อื่นแก่นักศึกษา 

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ‘Tonno’ โพสต์ข้อความว่า ‘เหมือนจะมีรายงานเทรนด์การจ้างงาน Mercer ออกมาใหม่ บอกว่านายจ้างในโลกตะวันตก (ข้อมูลคือ Europe+NA) ไม่อยากจ้างเด็ก Gen Z มาทำงาน แต่เลือกจะจ้าง Gen Y ให้ไป Re-skill แทน เหตุเพราะ Gen Z ขาด working ethics และมี attitude กับการทำงาน ในขณะที่ value ในส่วน skill set น้อยกว่าคนรุ่นก่อน’

ขณะที่ ผลสำรวจของ ResumeBuilder.com ซึ่งทำการเก็บรวบรวมสถิติจากกลุ่มตัวอย่างคนทำงานระดับ Manager หรือ หัวหน้างาน 1,300 คน  พบว่า 74% ของระดับผู้จัดการและผู้นำทางธุรกิจรู้สึกว่า Generation Z เป็นเจเนอเรชันที่ทำงานด้วยยากมากกว่าเจเนอเรชันอื่นๆ  และ 12 % เผยว่า พวกเขาไล่คนทำงานอายุน้อยเหล่านี้ออกภายในสัปดาห์แรกของการทำงานทันที  และอีกกว่าครึ่งหรือ 49%  บอกว่าทำงานกับเจเนอเรชันนี้ยากทุกครั้งหรือเกือบทุกครั้ง

นอกจากนั้น59% ของผู้จัดการต้องการไล่พนักงาน Gen Z ออก  และ  20 % บอกว่า ต้องไล่ออกภายในสัปดาห์แรก  ขณะเดียวกัน  27% ไล่ออกภายในเดือนแรกหลังจากเริ่มงาน สาเหตุหลัก มาจากการรับรู้ถึงการขาดความพยายาม ไปจนถึงความอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และกว่า 65% ของผู้จัดการกลุ่มนี้มองว่าการปล่อยเด็กรุ่นใหม่ไปกลายเป็นเรื่องปกติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่อยากทำงานกับ ‘Gen Z’ ไล่ออกบางส่วนตั้งแต่สัปดาห์แรก

ความในใจ! นายจ้างสงสัยทำไม ‘Gen Z’ ชอบ สร้างเรื่อง ‘น่าปวดหัว’

 

รู้จัก Gen Z คนรุ่นนี้เป็นอย่างไร?

ในปี 2563 ถือเป็นปีแรกที่ประชากร Generation Z ได้เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ First Jobber ซึ่งในระยะข้างหน้าจะเข้ามาเป็นกำลังหลักของแรงงานในประเทศ ลักษณะนิสัย ทัศนคติในการทำงานรวมถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ของประชากรกลุ่มนี้มีความแตกต่างไปจากประชากร Generation ก่อน ๆ ค่อนข้างมาก

ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง จึงควรศึกษาและเข้าใจถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคลากรโดยเฉพาะในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน Generation เพื่อให้องค์กรเติบโตไปอย่างยั่งยืน

ประชากร Gen Z โดยนิยาม คือบุคคลที่เกิด​ในช่วงพ.ศ. 2538-2552 ซึ่งในปีปัจจุบันจะมีอายุ 12 – 26 ปี คิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนประชากรไทย1 (19% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด) บุคคลกลุ่มนี้เติบโตมาที่เกิดมาพร้อมกับในยุคสิ่งอำนวยความสะดวก มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ได้เร็ว มองเห็นคุณค่าของตัวเองและมองทุกคนเท่าเทียมกัน (ไม่แบ่งแยก)

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

รวมถึงไม่เชื่อในระบบอาวุโส เชื่อในสิ่งที่มีข้อมูลรองรับ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีกว่าคนใน Generation ก่อน ๆ ซึ่งความเชื่อ พฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ ส่งผลถึงมุมมองการทำงานของคนใน Gen Z ที่แตกต่างออกไป

คนกลุ่มนี้ไม่เคยมีประสบการณ์ในโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์และแอปพลิเคชัน รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยส่วนใหญ่คน Gen-Z  มีพ่อแม่คือคนรุ่น Gen-X และพ่อแม่ Gen-Y

 

Gen Z ทำงานตามความต้องการ ค่านิยมมากกว่าเงินเดือน

ระบบการศึกษา 4 ปีในระดับอุดมศึกษาเริ่มตอบโจทย์ในเรื่องการทำงานของคน Gen Z ลดลง ขณะที่สื่อออนไลน์ และคอร์สความถนัดเฉพาะต่าง ๆ ระยะสั้นเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น

ความแตกต่างของ Generation Z กับ Generation อื่น ๆ เริ่มตั้งแต่ในภาคการศึกษา เมื่อพิจารณาจำนวนนักศึกษาใหม่ในช่วงหลังที่ Generation Z เริ่มเข้าสู่วัยอุดมศึกษาจะเห็นว่าจำนวนนักศึกษาที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีลดลงแม้ว่าส่วนหนึ่งจะเกิดจากปัจจัยในเรื่องของประชากรที่ลดลงแต่เมื่อตัดปัจจัย

 ถึง เด็กรุ่นใหม่ Gen Z จะเกิดมาพร้อมกับความสะดวกสบาย แต่เป็นรุ่นที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูง และปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในและต่างประเทศ อย่าง สภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สงคราม ความรุนแรง หรือการแบ่งแยก ทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุของความสิ้นหวังและปัญหาสุขภาพจิตที่ปะทุขึ้นอย่างกว้างขวาง



โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

สิ่งที่ทำให้ คนกลุ่มนี้อยู่รอดได้ จะต้องเติบโตและเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อเก็บเงินและหาทางยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ด้วยปัญหาอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แถมผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้หลายบริษัทมีนโยบายลดการจ้างงาน และมองหาพนักงานที่มีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่มีเวลาและทรัพยากรที่เพียงพอในการฝึกสอนพนักงานใหม่ให้ทำงานเป็น จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ ‘รับเด็กจบใหม่ประสบการณ์ 3 ปี’ ขึ้นมา

"เด็ก Gen Z จะทำงานตามความต้องการ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ และค่านิยมของตนเอง มากกว่าเงินเดือน "

ข้อมูลจากการสำรวจ LinkedIn ในปี 2023 ของพนักงานทั่วโลกมากกว่า 7,000 คนแสดงให้เห็นว่า 64% ของพนักงาน Gen Z ในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และไอร์แลนด์ เชื่อว่าการทำงานในบริษัทที่สอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ พนักงานรุ่นใหม่เหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการเติบโตในสายอาชีพ เมื่อพิจารณาถึงสถานที่ทำงานที่มีศักยภาพ

คนรุ่นใหม่ทำงานด้วยยาก แม้เชี่ยวชาญดิจิทัล

สตาซี ฮอลเลอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านอาชีพของ Resume Builder ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของการศึกษาทางไกลและการทำงานในช่วงยุคโควิด อาจขัดขวางการพัฒนาทักษะการสื่อสารของคน Gen Z  ดังนั้น คนรุ่นนี้อาจจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในเรื่องทักษะทางวิชาชีพ

ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาทำงานด้วยยาก ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือสื่อสารดิจิทัล แต่พวกเขาอาจขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์บางอย่างที่จำเป็นสำหรับการโต้ตอบแบบเห็นหน้ากัน

ทางกลับกัน ผู้จัดการประมาณ 64% แสดงความชื่นชอบในการทำงานกับ Gen X (30%) หรือ Millennials (34%) มีเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น 4% ที่แสดงความเห็นชอบต่อ Baby Boomers

 เจนนิเฟอร์ สเตปเลตัน จาก Social Rise แนะนำว่า พวกเขาสามารถเพิ่มคุณค่าในที่ทำงานของตนได้ โดยการมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารระหว่างบุคคล การเปิดรับคำติชม และการแสดงความสามารถในการปรับตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ทั้ง Gen Z และนายจ้าง จำเป็นต้องปรับตัว หัวหน้าที่ปรึกษาด้านอาชีพของ Resume Builder เน้นย้ำว่า

"สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องเตรียมนักเรียนอย่างเพียงพอ รวมทั้งผู้จัดการและผู้นำธุรกิจจะต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับ Gen Z การเลือกปฏิบัติต่อพนักงานอายุน้อยกว่านั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้พอๆ กับลัทธิแบ่งแยกวัยสำหรับคนรุ่นเก่า"

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

ทำไม? ‘องค์กร’ ถึงไม่อยากทำงานร่วมกับ Gen Z

ว่ากันว่า จากผลสำรวจพบว่า 39% ของผู้จัดการที่มองว่า Generation Z ทำงานด้วยลำบากคิดว่าเด็กรุ่นใหม่ขาดทักษะด้านเทคโนโลยี

เป็นความคิดเห็นที่น่าประหลาดใจ เพราะหากเราพูดถึงเด็กรุ่นใหม่ที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘Digital Native Generation’ หรือรุ่นที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัลและใช้พวกมันอย่างคุ้นเคยและเป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวันแล้ว พบว่าห่างไกลกับการขาดทักษะทางเทคโนโลยี

"เด็ก Gen Z ถึงจะเติบโตมากับเทคโนโลยี แต่เมื่อทำงานพวกเขากลับขาดเทคโนโลยี เพราะสิ่งที่ตลาดแรงงานต้องการ คือ แรงงานที่มีทักษะเชิงลึกหรือเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  เด็กรุ่นใหม่กว่า 55% ยอมรับว่าตนเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับ AI "

และGen  Z กว่า 37% ระบุว่าการศึกษาไม่ได้มอบทักษะเทคโนโลยีที่เพียงพอและตรงกับความต้องการของสังคมการทำงาน ขณะที่อีก 44% กล่าวว่าพวกเขาได้เรียนแค่ทักษะพื้นฐานเท่านั้น



นอกจากขาดทักษะทางเทคโนโลยีแล้ว พบว่าพนักงาน Gen Z ขาดความพยายาม (Effort) แรงจูงใจ (Motivation)  และผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงาน เนื่องจาก บริษัทต่างให้ความสำคัญกับการเติบโตในหน้าที่การงานและเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น

คาดหวังชีวิตยืดหยุ่น ทักษะสื่อสารแย่ อ่อนไหวเกินไป

ส่วน Gen  Z คาดหวังชีวิตการทำงานที่ยืดหยุ่นกับชีวิตส่วนตัว ความสงบสุข และความสมดุลในชีวิตมากกว่า
 จึงเป็นสาเหตุให้เกิดช่องว่างความเข้าใจระหว่างพนักงานGen เก่ากับ Gen ใหม่

รวมทั้ง เด็กรุ่นใหม่มีทักษะการสื่อสารที่ยอดแย่  รู้สึกขุ่นเคืองได้ง่าย ไม่มีความจริงใจ ชอบอ้างสิทธิ์ และให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ประเด็นสังคม เคารพความหลากหลาย เป็นเหตุให้พวกเขาคาดหวังที่จะได้รับการเคารพให้เกียรติอย่างเท่าเทียม รวมถึงความเห็นอกเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์



ในสายตาพนักงานเจเนอเรชันเก่า เด็กรุ่นใหม่จึงค่อนข้างอ่อนไหวต่อ ‘ความอยุติธรรม’ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้อื่น และจะไม่ยอมให้ตนเองต้องทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย ไม่สงบสุข’

เทรนด์งานที่จะเกิดขึ้นในยุคคน Gen Z 

เว็บไซต์ innomatter เปิดเผยถึงเทรนด์การทำงานว่ามีดังต่อนี้ 

  • ‘งาน’ แบบไฮบริดและยืดหยุ่น

รัฐสภาในประเทศสิงคโปร์ ได้มีการถกประเด็นถึงความเป็นไปได้ของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เมื่อต้นปี พบว่า 2 ใน 3 ของพนักงานในสิงคโปร์ชื่นชอบการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่นที่จะเอื้อให้พนักงานสามารถควบคุมชั่วโมงการทำงานของตนเองได้ดีขึ้น

รายงานล่าสุดของ IDC แสดงให้เห็นว่าพนักงานทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความคิดที่คล้ายคลึงกัน โดยพนักงานมากกว่า 56% ในภูมิภาคนี้ต้องการลักษณะงานที่ยืดหยุ่นพร้อมให้เลือกการทำงานทั้งในสำนักงาน และจากทางไกล

อีกทั้ง การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ที่จัดขึ้นโดย Center for Creative Leadership พบว่าผู้นำจากญี่ปุ่น ออสเตรเลียและเวียดนามเปิดกว้างมากขึ้นในการเตรียมรับกรณีที่พนักงานจะไม่ทำงานในสถานที่ทำงานถึง 100% ทั้งนี้ สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดที่ยอมรับการทำงานแบบไฮบริดและให้ความยืดหยุ่นแก่พนักงานในการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลาและคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติงานในสถานที่ตลอดเวลาน้อยที่สุด

  • Gen Z ชอบการเชื่อมโยงทีมงานได้แบบเห็นหน้าเห็นตากัน

เมื่อองค์กรจำเป็นต้องให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานที่สำนักงาน คือต้องการให้พนักงานประสานเชื่อมโยงกับทีมงานกันได้ดีขึ้นเพื่อทำงานให้สำเร็จ เนื่องจากพนักงานให้ความสำคัญในเรื่องความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก ส่งให้องค์กรต่างๆ ต้องมองหาวิธี

สำหรับสถานการณ์ที่ไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติงานที่สำนักงาน  จึงมีโซลูชันที่เหมาะสมที่สามารถช่วยให้พนักงานเห็นหน้ากันแบบเสมือนจริงได้การลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานได้รับประสบการณ์การทำงานที่เท่าเทียมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบวิดีโอที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นชัดหรือระบบเสียงชั้นดีที่ไม่เพียงช่วยให้ผู้ร่วมประชุมทุกท่านได้ยินเสียงของผู้พูด

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

  • การเพิ่มขึ้นของ Gen Z 

กลุ่มคนGen Z หรือที่เรียกว่า Zoomers ซึ่งคาดว่ากำลังจะกลายเป็นประชากรประมาณ 27% ของพนักงานทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2568 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง  และยังคาดหวังในความสัมพันธ์ทั้งส่วนตัวและที่ทำงานอย่างจริงจังมากขึ้น ดังนั้น ผู้นำธุรกิจ จึงต้องปรับตัว เพื่อรองรับความคาดหวังของกลุ่มคนเจนนี้ องค์กรจำเป็นต้องปรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรการฝึกอบรมและวิธีการรักษาพนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการและสิ่งที่คนกลุ่มนี้เรียกร้องในขณะที่ยังคงต้องดูแลพนักงานในรุ่นต่างๆ อีกด้วย

"นายจ้างสามารถสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งขึ้นสำหรับพนักงานรุ่นใหม่นี้โดยพยายามทำความเข้าใจบุคลิกในที่ทำงานของพวกเขาหรือวิธีทำงานที่พวกเขาชื่นชอบให้ดียิ่งขึ้น ไปจนถึงความคิดเห็นและปฏิกิริยาที่มีต่อนโยบายการทำงาน องค์กรควรใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เข้าใจถึงการลงทุนและใช้เทคโนโลยีและการจัดสถานที่ทำงานที่ดีขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น"

ปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้นำต้องให้ความสนใจในความเห็นของพนักงานมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Gen Z หรือกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต้องรักษาและดึงดูดให้พนักงานรุ่นใหม่ๆ ที่มีความสามารถร่วมทำงานด้วยต่อไป

ผลตอบแทนในรูปตัวเงินที่สูงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถดึงดูดใจ Gen Z ได้อีกต่อไป  สังคมในการทำงาน ปัจจัยเรื่องความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษา Gen Z ให้พัฒนาและเติบโตไปกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน  

ด้านการทำงานผลสำรวจหลายแห่งระบุว่าคนใน Gen Z จะไม่ได้ยึดติดกับองค์กรมากเท่ากับคนใน Genอื่น ๆ นอกจากนี้ค่าตอบแทนที่สูงเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถดึงดูดใจให้คนใน Generation Z อดทนทำงานอีกต่อไป แต่จะต้องมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สถานที่​ทำงาน เวลาเข้า-ออกงาน โดยต้องการความยืดหยุ่นในชีวิต และ Work Life Balance ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีแนวคิดที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ ทำธุรกิจ start up มากขึ้น

นอกจากนี้ด้วยความที่ Gen Z เติบโตมาพร้อมกับช่วงที่เทคโนโลยีเริ่มมีความรุ่งเรืองจึงส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาก เช่น Youtuber /Vlogger  หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้น (ผู้ประกอบการ E-sports, วิศวกรด้าน Cybersecurity) จะเห็นได้ว่าคนใน Gen Z มีโอกาสและทางเลือกในอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น ความอดทนต่อการทำงานที่ไม่ชอบใจจึงมีแนวโน้มลดลง โดยมีการเปลี่ยนงานในระยะเวลาอันสั้น

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

ภาคการศึกษา องค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนวิถีรองรับคนGen Z

ข้อมูลจาก นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติระบุว่าปกติอัตราการลาออกจากงานของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 10% แต่เมื่อ Gen Z เข้าสู่วัยทำงานอัตราการลาออกจากงานได้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 12-15%

ทั้งนี้ คนใน Gen Z เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเรียนรู้ได้เร็วและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แต่ละองค์กรจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะรักษาบุคลากรเหล่านี้และสร้างสังคมในที่ทำงานที่แม้จะมีความแตกต่างในด้าน Generation แต่สามารถอยู่ร่วมกันเพื่อพัฒนางานให้กับองค์กรได้ 

Gen Z จะเริ่มเข้ามีบทบาทในสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ภาคการศึกษาควรปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบรับความต้องการ ขณะที่องค์กรต่าง ๆ ควรปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานทั้งในเรื่องของสถานที่และสังคมที่มีความแตกต่างในเรื่องของ Generation 

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนใน Generation Z จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมส่งผลให้หลาย ๆ ภาคส่วนต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือ ทั้งในภาคการศึกษาที่ต้องออกแบบหลักสูตร ปรับปรุงโครงสร้างต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์แก่ตลาดแรงงานมากขึ้น มีคอร์สระยะสั้นเฉพาะเรื่องเพิ่มขึ้น

รวมทั้ง การฝึกให้นักศึกษาได้เห็นประสบการณ์จริงหรือการสร้างทักษะความเป็นผู้นำและทักษะที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะแก่การเข้าสู่ตลาดแรงงานก็เป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่องค์กรควรเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น เวลาการทำงาน ปัจจุบันองค์กรบางแห่งได้ปรับเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ สถานที่การทำงานที่มีลักษณะเป็น co-working space ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันมากขึ้น  ซึ่งองค์กรหลายแห่งเริ่มปรับตัวมากขึ้นหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ในปีที่ผ่านมา

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

นอกจากนี้ บุคคลในองค์กรที่มีความแตกต่างกันทางด้านความคิดและลักษณะการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เช่น ให้ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ข้อดีและสนับสนุนกันในเรื่องนั้น ๆ ไม่นำอายุหรือความอาวุโสมาเป็นใหญ่ในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น 

ภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ด้านการตลาดก็มีความจำเป็นที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับพฤติกรรมที่แตกต่างไปของ Gen  Z นอกจากในเรื่องของการศึกษาและการทำงานในองค์กร ภาคส่วนอื่น ๆ เช่นการทำงานด้านการตลาดก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนใน Gen Z  เช่น การใช้สื่อออนไลน์ ต้องรู้ว่า platform ใดที่จะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้มากกว่า เช่น ผลสำรวจระบุว่าคนใน generation Z เริ่มใช้ Facebook ลดลง เป็นต้น

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคหรือ Genใด การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงก็ถือเป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ และพวกเราทุกคนควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมืออยู่เสมอ 

โลกการทำงานของ ‘Gen Z’  ทำไม?องค์กรขอบาย เป็นตัวปัญหา...จริงหรือ!!

อ้างอิง : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย , innomatter