‘เมพ’ลุยขยายแพลตฟอร์ม ขึ้นแท่นผู้นำอีบุ๊กใต้ปีกเครือเซ็นทรัล

‘เมพ’ลุยขยายแพลตฟอร์ม ขึ้นแท่นผู้นำอีบุ๊กใต้ปีกเครือเซ็นทรัล

หากเอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลง ‘เทคโนโลยี’ คือหนึ่งปัจจัยสำคัญเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ! ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากกล้องฟิล์ม (Film) กลายมาเป็นกล้องคอมแพค (Compact) ก่อนเปลี่ยนมาเป็นกล้องดิจิทัล (Digital) ที่มีความละเอียดระดับสูง

หรือแม้แต่การเปลี่ยนผ่านของธุรกิจเพลง จนกลายมาเป็นระบบสตรีมมิงในปัจจุบัน

อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังถูกเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวเลือกจาก ‘ตัวหนังสือบนกระดาษ’ กลายเป็น ‘ตัวหนังสือบนอิเล็กทรอนิกส์’ (E-Book) ที่เป็นเทรนด์ของโลกยุคดิจิทัล สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และมองว่าตัวหนังสือบน E-Book จะเข้ามา ‘ดิสรัป’ ให้หนังสือกระดาษหาดูได้ในพิพิธภัณฑ์ ประเด็นดังกล่าวกำลังส่งผลบวกให้หุ้นน้องใหม่ไอพีโอ บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MEB ผู้นำธุรกิจจำหน่ายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านแพลตฟอร์ม MEB และ ReadAwrite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอ่านวรรณกรรมออนไลน์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย

รวิวร มะหะสิทธิ์

กำลังจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 75.50 ล้านหุ้น คิดเป็น 25.17% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออก และชำระแล้ว ในราคาหุ้นละ 28.50 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท โดยจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 14 ก.พ. 2566 คิดเป็นเงินระดมทุน 2,151.75 ล้านบาท !

จุดเด่นสำคัญ ! ของหุ้น MEB เป็นหนึ่งบริษัทในเครือของ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ที่ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท บีทูเอส จำกัด 56.08% ซึ่ง MEB มีธุรกิจมีการเติบโต ‘โดดเด่น’ มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ‘ไม่มีภาระหนี้สิน’ อีกทั้งธุรกิจเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book มีความพิเศษเฉพาะตัว และที่สำคัญทีมผู้บริหารมีความมุ่งมั่นจะนำคอนเทนต์ต่างๆ ของนักเขียนไทยสร้าง ‘ซอฟต์ พาวเวอร์’ สู่ตลาดระดับโลก !!

การเติบโตของบริษัทในอนาคต มาจากคนไทยเข้าถึง E-Book มากขึ้น ปัจจุบันรายได้รวมมาจากยอดขาย E-Book สูงถึง 90% แบ่งเป็นหนังสือกลุ่มนิยาย วรรณกรรม เป็นหลัก และหมวดอื่นๆ เช่น การ์ตูน บันเทิง และแพลตฟอร์ม readAwrite ราว 5% โดยปัจจุบัน MEB มีจำนวนผู้ใช้ ( User) กว่า 8 ล้านคน Active User ราว 6 แสนคน จำนวนนักเขียน 1.45 แสนราย จำนวนหนังสือวางขายกว่า 2 แสนเรื่อง

ปัจจุบันภาพรวมตลาด E-Book ในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท !! ส่วนตลาดหนังสือรวมในไทยมีมูลค่า 15,000 ล้านบาท หรือ E-Book คิดเป็นเพียงประมาณ 15-20% เท่านั้น โดย MEB มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) อันดับ 1 อยู่ที่ 60% ขณะที่อันดับ 2 ที่ 20-25% คาดหวังว่าคนไทยจะเข้าถึง E-Book มากขึ้น

‘รวิวร มะหะสิทธิ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MEB ให้สัมภาษณ์ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ว่า การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น จะไม่ได้ประโยชน์เพียงแค่มีช่องทางการหาเงินทุนมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขยายธุรกิจให้เติบโต แต่จะได้เรื่องหน้าตามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และความน่าเชื่อถือเต็มๆ มาตรฐานของบริษัทจะถูกยกระดับขึ้นทันที ที่สำคัญยังสามารถดึงดูดพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อให้บริษัทเป็นตัวแทนคอนเทนต์เพิ่มอีกด้วย

สะท้อนผ่านเงินระดมทุน ‘ขยายแพลตฟอร์ม’ (meb readAwrite และ Hytexts) ด้วยการเพิ่มเนื้อหาวรรณกรรมออนไลน์ ประเภทนิยาย และไม่ใช่นิยาย รวมทั้งเพื่อใช้ในการ ‘ขยายธุรกิจใหม่ๆ’ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจปัจจุบันไปยังต่างประเทศ โดยเน้นการใช้ภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ไปพร้อมกับซื้อลิขสิทธิ์วรรณกรรมภาษาไทย แปลเป็นภาษาอังกฤษ สอดคล้องกับแผนขยายธุรกิจ

 เพื่อเปิดโอกาสสำคัญในการต่อยอดธุรกิจทั้งการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ หรือการควบรวมกิจการ หรือการเข้าซื้อกิจการ (M&A)

และการ ‘ปรับปรุง-พัฒนาแพลตฟอร์ม’ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต และต่อยอดความเป็นผู้นำในธุรกิจด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม และระบบการดำเนินงานมุ่งสร้างประสบการณ์ที่พิเศษให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่เหลือเป็นเงินทุนหมุนเวียน

ทั้งนี้ MEB ดำเนินธุรกิจขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านเว็บ www.mebmarket.com รวมทั้ง www.readAwrite.com แล้ว และแอปพลิเคชัน meb และก็ readAwrite บนระบบปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งอีกทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีวรรณกรรมออนไลน์ที่จำหน่ายที่ต่างกันดังต่อไป โดย ‘แพลตฟอร์ม meb’ ขายวรรณกรรมออนไลน์ที่มีความมากมายหลากหลายจากสถานที่พิมพ์ และก็ผู้ครอบครองผลงานอิสระ เช่น นิยาย หนังสือทั่วๆ ไป (non-fiction) การ์ตูน , แมกกาซีน รวมทั้งหนังสือพิมพ์ฯลฯ โดยมีการขายวรรณกรรมเป็นเล่มรวมทั้งเป็นชุด

ส่วน ‘แพลตฟอร์ม readAwrite’ เป็นแพลตฟอร์มสำหรับชุมชนผู้เขียน-ผู้อ่าน โดยให้สมาชิกสามารถโพสต์คอนเทนต์หรือรายละเอียดได้ด้วยตัวเอง (UGC) โดยผู้ครอบครองผลงานสามารถเลือกที่จะขายผลงานของตนเอง และก็/หรือ ให้ผู้อ่าน Donate ให้เพื่อเป็นการส่งเสริม โดยลักษณะรายละเอียดจะเป็นการพรีเซนต์นิยายเป็นตอนแล้วก็นิยายแชท

นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การขายเครื่องมืออ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Reader) รวมทั้ง ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มระบบห้องหนังสือดิจิทัลสำหรับหน่วยงาน (Hibrary) โดยผู้รับบริการสามารถสร้างห้องหนังสือดิจิทัลของตน รวมทั้งเผยแพร่วรรณกรรมให้แก่ บุคลากรในหน่วยงาน โดยมีกรุ๊ปลูกค้าวัตถุประสงค์ ได้แก่ สถานที่เรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน และก็โรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทย่อยของบริษัท ซึ่งดำเนินงานผ่านบริษัทย่อยของบริษัท ได้แก่ บริษัท ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด (Hytexts)

สำหรับ ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ของ MEB จากการพึ่งพิงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจสำหรับธุรกรรมที่สำคัญเกือบทั้งหมด จึงมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในกรณีที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดความผิดพลาดหรือไม่สามารถใช้การได้ ซึ่งอาจส่งผลให้การดำเนินงาน ‘หยุดชะงัก’ รวมถึงอาจทำให้ ‘ลูกค้าสูญเสียความมั่นใจในแพลตฟอร์ม’ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ และฐานะทางการเงิน , ผลการดำเนินงาน

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการรั่วไหลหรือความเสียหายต่อข้อมูลของบริษัท ซึ่งอาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ เสียค่าปรับจำนวนมาก และอาจส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นในแพลตฟอร์ม และอาจนำไปสู่การเสียโอกาสทางธุรกิจในอนาคต และสถานะการเงินในภาพรวม

‘เมพ’ลุยขยายแพลตฟอร์ม ขึ้นแท่นผู้นำอีบุ๊กใต้ปีกเครือเซ็นทรัล

ดังนั้น บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก โดยจัดให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี ในการปฏิบัติการ และดูแลรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้มีการวางแผน และมีการลงทุนเพื่อบำรุงรักษาให้ระบบมีความเสถียร พัฒนาระบบงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และป้องกันความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และกำหนดมาตรการการควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

ท้ายสุด ‘รวิวร’ บอกไว้ว่า จะเห็นได้ว่า MEB ยังมีโอกาส และช่องทางการเติบโตทางธุรกิจได้อีกมาก และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์