MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 11-15 มีนาคม 2567

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 11-15 มีนาคม 2567

เงินบาทพลิกอ่อนค่า ขณะที่หุ้นไทยร่วงลงท้ายสัปดาห์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจไม่รีบลดดอกเบี้ย

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

• เงินบาทพลิกอ่อนค่า สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นตามแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด

เงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ประกอบกับมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (+3.2% YoY ในเดือนก.พ. สูงกว่าตลาดคาดที่ 3.1% YoY) ดัชนีราคาผู้ผลิต (+1.6% YoY ในเดือนก.พ. สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.1% YoY) และจำนวนผู้
ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (ลดลง 1,000 ราย มาที่ 209,000 ราย ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 218,000 ราย)

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ลดทอนโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเห็นเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุม FOMC ใกล้ๆ นี้ลง 

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 11-15 มีนาคม 2567

• ในวันศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ฯ  (หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 35.86 บาทต่อดอลลาร์ฯ) เทียบกับ ระดับ 35.42 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า ( 8 มี.ค. 67) สำหรับสถานะ พอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 11 -15 มี.ค. 2567 นั้น นักลงทุน ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 4.9 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจาก ตลาดพันธบัตรไทย 11,670 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 11,170 ล้านบาท และ ตราสารหนี้หมดอายุ 500 ล้านบาท)

 

สัปดาห์ถัดไป (18 -22 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 35.30 - 36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินลงทุนต่างชาติผลการประชุมนโยบาย การเงิน Dot Plot และตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ทบทวนใหม่ของเฟด (19 -20 มี.ค.) รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (18 -19 มี.ค.) และธนาคารกลางอังกฤษ (21 มี.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย และข้อมูลเบื้องต้นของ PMI สำหรับเดือนมี.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนีPMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมี.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR และตัวเลขเศรษฐกิจของจีน อาทิการผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และอัตราการว่างงานด้วยเช่นกัน

 

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

• ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงช่วงท้ายสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาคจากความกังวล ว่าเฟดจะตรึงดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน

 

หุ้นไทยย่อตัวลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค ท่ามกลางสัญญาณระมัดระวังของนักลงทุนระหว่างรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีหุ้นไทยกลับมาปรับตัวขึ้นช่วงกลางสัปดาห์โดยมีแรง หนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่ม ไฟแนนซ์และหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น หุ้นไทยย่อตัวลงอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค หลังจาก ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งส่งผลทำให้ตลาดกังวลว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน

ในวันศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,386.04 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.03% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 42,227.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.16% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนีmai เพิ่มขึ้น 2.10% มาปิดที่ระดับ 418.76 จุด

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 11-15 มีนาคม 2567

• สัปดาห์ถัดไป (18-22 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทย มีแนวรับที่ 1,375 และ 1,365 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,400 และ 1,415 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (19-20 มี.ค.) และทิศทางเงินทุนต่างชาติส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือนมี.ค. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การ ประชุม BOJ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือนมี.ค. ของยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น ตลอดจนการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR เดือนมี.ค. และ ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนม.ค.-ก.พ. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม