วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.โกลเบล็ก ผันผวน

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.โกลเบล็ก ผันผวน

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงเช้า ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในช่วงแคบ แต่มีแรงซื้อเร่งตัวในช่วง 15.00 น. ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นราว +17 จุด แรงซื้อนำโดยหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และขนส่ง

นักลงทุนติดตามการรายงาน PCE ของสหรัฐฯ และติดตามงบของบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยประกาศ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,388.23 จุด +17.01 จุด +1.24% มูลค่าการซื้อขาย 41,247 ลบ. ต่างชาติ +1,328.70 ลบ. TFEX +21,564 สัญญา ตราสารหนี้ +5,892.08 ลบ.

ปัจจัยบวก    

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 2.33 ดอลลาร์ หรือ +2.8% ปิดที่ 85.54 ดอลลาร์/บาร์เรล วิตกความตึงเครียดในอิสราเอลและกาซาอาจลุกลามเป็นวงกว้างขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันดิบทั่วโลก แต่ปรับตัวลง 2.9% ในรอบสัปดาห์นี้
+ นักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์นี้ และเพิ่มน้ำหนักในการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการประชุมนโยบายการเงินครั้งสุดท้ายในปีนี้
+ ส.อ.ท.สนับสนุนการพัฒนาโครงการ "แลนด์บริดจ์" อภิมหา เมกะโปรเจกต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามันที่จะเป็นจุดขายใหม่ของประเทศไทย เพราะจะมีส่วนสาคัญกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและอาเซียน

ปัจจัยลบ

- ดัชนีดาวโจนส์ ร่วงลง 366.71 จุด หรือ -1.12% ถูกกดดันจากการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ไร้ทิศทาง และนักลงทุนวิตกกว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐจะยังคงอยู่ที่ระดับสูงต่อไป หลังจากการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
- สหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4%YoY ในเดือนก.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลังจากปรับตัวขึ้น 3.4% เช่นกันในเดือนส.ค.
- สอน.ออกประกาศราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานเป็น 4 บาท/กก. มีผลตั้งแต่ 28 ต.ค.นี้ หวังใช้ในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายประจำฤดูการผลิตปี 2566/67 เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงชาวไร่
 

 

- ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีความเสี่ยงต่อการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกระบุว่าจะฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึงในระยะปานกลางขยายตัวได้ในระดับ 3% เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี
- ตลาดหลักทรัพย์ สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-27 ตุลาคม 2566 พบว่าสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 60,781.19 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 3,287.36 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 169,822.13 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ) ซื้อสุทธิ 112,328.29 ล้านบาท

แนวโน้มตลาดวันนี้  

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันจากความวิตกที่ว่าความตึงเครียดในอิสราเอลและกาซาอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งในวงกว้างขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังทรงตัวในระดับสูง คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,380-1,395 จุด

กลยุทธ์การลงทุน    

• หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BDMS CPALL TOP
• น้ำมันขึ้นจากสงคราม : PTTEP SPRC BCP ESSO
• งบ 3Q23 ออกมาดีกว่าตลาดคาด : KBANK BBL KTB TTB
• ส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว : KSL KBS BRR XO PDJ
• คาดงบ 3Q23 ดี : XO SPA

 

 

หุ้นรายงานพิเศษ  

ORN - (SET / PROPCON / PROP)
ราคา IPO 1.49 บาท Trailing PE 5.73x
ราคาเหมาะสม Consensus อยู่ในช่วง 1.74 -2.20 บาท

 

•บมจ.อรสิริน โฮลดิ้ง หรือ ORN เป็น Holding Company ที่มีบริษัทย่อยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายในจังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก โดยมีโครงการทั้งแนวราบภายใต้แบรนด์บีลีฟ ฮาบิแทท และดิ เอสเคป เป็นต้น และโครงการแนวสูงทั้ง Low Rise และ High Rise ภายใต้แบรนด์เดอะ เน็กซ์ ดิ แอสตร้า และอะไรซ์ โดยปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างขายทั้งหมด 18 โครงการ มูลค่าคงเหลือขายรวม 2.2 พันลบ. และมีแผนจะเปิดขายใหม่ในปี 67 อีกจำนวน 9 โครงการ มูลค่าราว 5 พันลบ.

•ช่วงปี 63-65 มีรายได้ 850 ลบ. 677 ลบ. และ 1,532 ลบ. ตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย CAGR 33% ต่อปี มีปัจจัยเติบโตจากการทยอยรับรู้รายได้โครงการทั้งแนวราบและแนวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 65 รายได้เติบโตแรงจากการเริ่มรับรู้โครงการ High rise คือ โครงการ ดิ แอสตร้า สกายริเวอร์ มูลค่าโครงการ 2.3 พันลบ. (ปัจจุบันขายแล้วกว่า 64%) ส่วน %GPM อยู่ในช่วง 39.8%, 38.0% และ 44.4% ตามลำดับ และมีกำไร 129 ลบ. 75 ลบ. และ 281 ลบ. ตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย CAGR 48% ต่อปี ส่วนงวด 6M66 มีรายได้และกำไร 698 ลบ. +143%YoY และ 124 ลบ. +924%YoY ตามลำดับ โดยหลักมาจากการรับรู้รายได้โครงการ High Rise ข้างต้น

•ราคา IPO 1.49 บาท คิดเป็น Trailing PE 5.73x เทียบกับกลุ่ม PROP ที่ 13.85x และ Peers PE: LH = 12.47x, QH = 9.39x, SPALI = 4.67x, SIRI = 4.11x และ ORI = 6.7x จานวน IPO 406.5 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 606 ลบ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ลงทุนซื้อที่ดินหรือพัฒนาโครงการตามแผนธุรกิจ และ 2) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ ราคาเหมาะสม Consensus อยู่ในช่วง 1.74 - 2.20 บาท

•สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period: 262,578,300 หุ้น

หุ้นมีข่าว

(+) COTTO (Bloomberg consensus 2.24 บาท) SCGD ประกาศช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น IPO หุ้นละ 11.20-15.00 บาท พร้อมกำหนดทำเทนเดอร์หุ้น COTTO วันที่ 1 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2566 ที่ราคา 2.40 บาทต่อหุ้น และเตรียมเปิดให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ SCC ที่ได้รับสิทธิจองซื้อ และผู้ถือหุ้นของ COTTO ที่มีสิทธิจองซื้อหุ้น SCGD เพิ่มเติมในวันที่ 29 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2566 และประชาชนทั่วไปจองซื้อวันที่ 8 และ 12-13 ธันวาคม 2566 ชี้ตลาดตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ในอาเซียนมีศักยภาพเติบโตสูง วางกลยุทธ์ขยายตลาดในภูมิภาค (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CPANEL (Bloomberg consensus - บาท) โชว์โมเดลผลิตภัณฑ์ใหม่ จับมือ PRAPAT สร้างสระว่ายน้ำโครงสร้างแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป แห่งแรกในประเทศไทย ขยายฐานลูกค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ พร้อมแย้มแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 4/2566 เติบโตต่อเนื่อง จ่อปิดดีล โรงแรม คอนโด Low Rise ดัน Backlog แตะนิวไฮที่ 1.5 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SCGP (Bloomberg consensus 43.10 บาท) ทุ่ม 600 ล้านบาท ซื้อกิจการในยุโรป 2 แห่ง รุกธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ และธุรกิจอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อขยายสู่ตลาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เตรียมรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TPCH (Bloomberg consensus 12.90 บาท) ผู้ถือหุ้น TPCH ไฟเขียวขายหุ้นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ในราคาไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงซื้อกิจการอัพเมกะวัตต์ แตะ 500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569 ตามเป้าที่ตั้งไว้ (ที่มา ทันหุ้น)