ธนาคารพาณิชย์ของไทย กำไรมากไปไหม !!!

ธนาคารพาณิชย์ของไทย กำไรมากไปไหม !!!

“ธนาคารพาณิชย์ ในฐานะตัวกลางของตลาดการเงินถูกกล่าวหาว่าเป็นเสือนอนกินมาตลอด 3 ไตรมาสแรกปีนี้ กำไรรวมกันมากกว่า 150,000 ล้านบาท

ธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มทุนได้เปรียบในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่า และต้นทุนต่ำกว่า ในขณะที่ประชาชนทั่วๆ ไป ถูกเอาเปรียบเพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม

การออม การลงทุน และการระดมทุน เพื่อการผลิตหรือใช้บริโภคเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกคน ธุรกิจทุกแห่ง และหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเป็นธุรกรรมสำคัญ ในระบบเศรษฐกิจ ถ้ากลไกเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ติดขัดแล้ว การผลิตและการบริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ก็สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการทุกฝ่าย เป็นการส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศไทย พัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้

ตลาดการเงิน เป็นแหล่งกลางที่ทำหน้าที่ในการระดมเงินจากผู้ออมเพื่อกระจายต่อไปให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน แต่มีความต้องการใช้เงินทุน ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินทุน ปัจจุบันการ หมุนเวียนหาเงินทุน ยังคงเป็นทางอ้อม ซึ่งสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ให้บริการในฐานะ ตัวกลาง และจะได้รับผลตอบแทนเป็นส่วนต่าง (Spread) ซึ่งคำนวณส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ในหลายความหมาย เช่น Nominal Spread (ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ MLR เฉลี่ยลบด้วยดอกเบี้ ยเงินฝากออมทรัพย์เฉลี่ย), 

Effective Spread (ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อรับเฉลี่ย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจ่ายเฉลี่ย) และ Net Interest Margin (NIM) หรือส่วนต่างรายได้ ดอกเบี้ยสุทธิ เป็นเครื่องบ่งชี้ที่สะท้อน ความสามารถในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่ได้สะท้อนผลกาไรที่แท้จริง (Net Profit) โดยองค์ประกอบที่สาคัญของดอกเบี้ยรับ คือ ปริมาณสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนต่างๆ ได้แก่ ต้นทุนทางการเงิน (Funding Cost), ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้ สินเชื่อ (Credit Cost) และ ต้นทุนการดาเนินงาน (Operating Cost) รวมถึงผลกาไรเพื่อการดาเนินธุรกิจ และการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังมีรายได้อื่น เช่น ค่าธรรมเนียม กาไรจากธุรกรรม การตลาด และเงินปันผล

ธนาคารพาณิชย์ ที่มีผลประกอบการ (กำาไรสุทธิ) 7 อันดับ ในรอบ 3 ไตรมาสแรก ปี 2561

  1. ธนาคารไทยพาณิชย์ 32,983.95 ล้านบาท
  2. ธนาคารกสิกรไทย 31,426.15 ล้านบาท
  3. ธนาคารกรุงเทพ 27,228.80 ล้านบาท
  4. ธนาคารกรุงไทย 22,332.71 ล้านบาท
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 18,702.51 ล้านบาท
  6. ธนาคารทหารไทย 9,900.19 ล้านบาท
  7. ธนาคารออมสิน 9,400.00 ล้านบาท (6 เดือน)

รวมทั้งสิ้น 151,974.31 ล้านบาท

Spread นั้นเป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพของตลาดการเงิน หากตลาดมีประสิทธิภาพ Spread ย่อมไม่สูงมากนัก ประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลาดการเงินมีประสิทธิภาพมากกว่า มีแนวโน้มที่ Spread จะแคบกว่าประเทศที่กาลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา สิ่งที่น่าสังเกตคือ Spread ของไทยเราค่อยๆขึ้นจากระดับ 4% ในปี 2555 มาเป็นเกือบ 7% เพราะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 0.5% ขณะที่ MRR (Minimum Retail Rate) หรือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดี เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อยู่ที่อัตราเฉลี่ยสูงกว่า 7% สาเหตุที่ Spread สูง อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ไม่ได้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่น ทาให้มีต้นทุนสูง มีสภาพคล่องล้นระบบ เงินในระบบไม่หมุนเวียนเท่าที่ควร ธนาคารพาณิชย์เองยังมีต้นทุนในการดาเนินงานที่สูงอยู่

ทำาอย่างไรให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคได้ประโยชน์มากขึ้น

1.ธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องหากลไกที่โปร่งใสและเป็นธรรม ในการเพิ่มปริมาณเงินบาทหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ให้สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) จะช่วยลดความกดดันของเงินเฟ้อ ซึ่งจะทาให้ไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย ลดภาระของประชาชนโดยทั่วไป

2.ธนาคารพาณิชย์ของไทย เป็นลักษณะการแข่งขันน้อยรายกึ่งผูกขาดจากธนาคารใหญ่ไม่กี่ธนาคาร ในการกาหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ถูกกล่าวหาว่าเป็นเสือนอนกินมาโดยตลอด ธนาคาร

แห่งประเทศไทยในฐานะผู้กากับดูแล จะต้องหากลไกให้เกิดการแข่งขันที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ควบคุมเพดาน Spread สูงสุด เพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์เอาเปรียบผู้บริโภคมากจนเกินไป

3.พัฒนาตลาดตราสารหนี้ เพิ่มช่องทางการระดมทุนของธุรกิจเอกชนในการออกตราสารหนี้ระยะยาวมากกว่า 1 ปี เพื่อปรับต้นทุนให้ต่าลง ปัจจุบันยอดออกหุ้นกู้สูงกว่า 8 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทใหญ่ๆได้ประโยชน์ ขณะที่บริษัทเล็กๆยังมีข้อจากัด เพราะอันดับเครดิตเรทติ้งไม่สูงนัก จึงต้องเจอเงื่อนไขในการออกหุ้นกู้ที่มากขึ้น รัฐบาลต้องหาแนวทางมาช่วยเหลือตรงจุดนี้ เช่น การส่งเสริมการนาทรัพย์สินประเภทอื่นๆมาเป็นหลักประกัน, การพัฒนาด้านข้อมูลลูกหนี้ เป็นต้น

4.เร่งพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนของธนาคารเองให้ลดลง เพื่อให้ Spread ลดลง ประชาชนได้รับบริการทางการเงินที่ค่าธรรมเนียมไม่สูงจนเกินไป ส่งเสริมการใช้ E-Banking และ Fintech ให้มากที่สุด Spread ที่ลดลง ทาให้การเข้าถึงเงินทุนของประชาชนง่ายขึ้น มีผลลดปัญหาการกู้เงินนอกระบบไปในตัว (ซึ่งปัจจุบันสูงถึงห้าหมื่นล้านบาท)

5.ใช้นโยบายเสรีทางการเงินเต็มรูปแบบ อนุญาตให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาแข่งขันในประเทศไทย