ประเทศไทยผู้นำในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ประเทศไทยผู้นำในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

วันอนามัยโลกคือวันก่อตั้งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) ดำเนินการของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและสังคม

ขององค์การสหประชาชาติก่อตั้งเมื่อ 7 เม.ย. 2491 (ค.ศ. 1948) ครบรอบการก่อตั้ง 70 ปี ในปีนี้ มีสมาชิกจำนวน 194 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลและคอยประสานงานด้านการสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วโลก

การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อปี 2491 ได้ประกาศให้วันที่ 7 เม.ย.ของทุกปี เป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดหัวข้อประเด็นหลักด้านสุขภาพ เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกันสนับสนุน ภายใต้วิสัยทัศน์ “Health For All” หรือ “สุขภาพดีถ้วนหน้า” สำหรับปี 2561 (ค.ศ 2018) หัวข้อหลักของปีนี้ คือ เรื่อง Universal Health Coverage: Everyone, Everywhere หรือ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อทุกคนทุกหน ทุกแห่ง”

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage ตัวย่อ UHC) หมายถึงปัจเจกบุคคลและประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นเมื่อต้องการ โดยไม่ล้มละลายจากการค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล

องค์การอนามัยโลก ตระหนักว่า จากประสบการณ์ได้พิสูจน์แล้วว่า ทุกประเทศ เป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีเจตจำนงทางการเมืองที่ชัดเจน ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจะสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นถึงพลังของผู้นำการตัดสินใจทางนโยบายในการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของประเทศตนเอง  สร้างแรงจูงใจ และ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน โดยการเตรียมเครื่องมือสนับสนุนทางนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายในประเทศ เพื่อให้องค์กรเครือข่าย ประเทศต่าง ๆ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดความมุ่งมั่นการพัฒนาสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการสร้างหลักประกันสุขภาพของไทย ได้พิสูจน์แล้ววว่า ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชากรได้สำเร็จใน 3 มิติ ประกอบด้วย 1.ความครอบคลุม 99.99% ของประชากรทั้งหมดที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพ ที่มีหลักประกันสุขภาพและสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต่อสุขภาพได้ 2.สิทธิประโยชน์ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ ร่วมทั้งการรักษาพยาบาลที่ราคาแพงจำนวนมาก และ 3.การปกป้องครัวเรือนจากการรักษาพยาบาลต้องยากจนเพราะค่ารักษาพยาบาล

นอกจากนี้ หลักฐานเชิงประจักษ์ได้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์สำคัญของการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ การทำให้คนยากจนในเมืองและชนบท รวมทั้งประชาชนที่อาศัยในถิ่นทุรกันดารสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิเคราะห์ด้านสิทธิประโยชน์ ที่พบว่าการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยนั้นเป็นการดำเนินงานให้คนจนได้มีโอกาสเข้าถึงบริการมากขึ้น และทรัพยากรของภาครัฐกระจายไปสู่ประชากรที่ยากจนเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ส่งผลลัพธ์ดังกล่าว คือ

1.การมีระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศจนถึงระดับชุมชนและหมู่บ้าน จากการที่รัฐบาลได้ลงทุนด้านโครงสร้างและกำลังคนด้านสุขภาพในสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม

2.การกำหนดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมที่ด้านโดยไม่ต้องมีการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ ซึ่งทำให้ลดรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน ลดภาวะการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและป้องกันครัวเรือนไม่ให้ประสบภาวะความยากจนจากค่ารักษาพยาบาล

บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยครอบคลุม 75% ของประชากรทั่วประเทศ มีชุดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกด้าน สามารถดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เนื่องจากใช้วิธิการบริหารงบประมาณแบบปลายปิดและจ่ายจ่าบริการโดยวิธีผสมผสาน คือใช้อัตรเหมาจ่ายรายหัวสำหรับกรณีผู้ป่วยนอก และจ่ายเงินชดเชยให้กับสถานพยาบาลตามภาระโรค (DRG) สำหรับผู้ป่วยในและค่ารักษาที่มีราคาแพง ซึ่งวิธีนี้ มีประสิทธิผลในการควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นอย่าง และพบว่าผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปมีความพึงพอใจต่อการให้บริการภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 82-96% จากการสำรวจในปี 2546 ถึง 2560

ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ที่ดำเนินงานภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่หวังผลกำไร และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการหลักประเทศ บุคลกรสาธารณสุข ผู้ซึ่งทำงานอย่างเสียสละเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการสร้างหลักประกันสุขภาพดังกล่าว

จากความสำเร็จด้านผลลัพธ์สุขภาพ (outcome) โดยเฉพาะปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุค่าเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเพิ่มขึ้นเป็น 74 ปี อัตราตายของทารกเพียง 12.3 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศคิดเป็น ร้อยละ 4.6 ของผลิตภัณธ์มวลรวมในประเทศ นับว่าระบบสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพและถูกจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุด

 

โดย... 

นพ.แดเนียลเอ. เคอร์แทสซ์ 

ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย