เมื่อข้อสอบรั่ว อะไรก็ฉุดไม่อยู่

เมื่อข้อสอบรั่ว อะไรก็ฉุดไม่อยู่

คงจะกลายเป็นวาทะกรรมทางการเมืองไปอีกนาน ที่แต่ละพรรคจะออกมารุมถล่ม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาล กับมติให้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน

ในทางการเมืองมองแล้วประเด็นแบบนี้โอกาสจะได้เปรียบเทียบน่าจะยาก ฉะนั้นคอการเมืองย่อมที่จะไม่เห็นด้วยกับเรื่องแบบนี้ วันนี้สองพรรคใหญ่อย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทยต่างส่งลูกทีมออกมาถล่มทุกวัน แบบว่าเรียงหน้ากันทีเดียว ดูเหมือนทุกคนที่ออกมาปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้น แอบแฝงด้วยข้อกังขาทำนองเรื่องนี้“ไม่ปกติ”

อดีตส.ส.หรือแกนนำส.ส.ส่วนใหญ่มุ่งไปที่ ใบสั่ง” มากกว่า แม้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลายคนออกมายืนกรานทำนองไม่มี ใบสั่ง แต่เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพรรคการเมือง 

ยิ่ง ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน โฆษกคณะกรรมาธิการฯ ให้เหตุผลที่ต้องทำอย่างนี้ เพราะไม่ต้องการให้มีการใช้ ม.44 พร่ำเพรื่อ ในการแก้ปัญหา ในประเด็นการขยายเวลากฎหมายเลือกตั้ง ที่จริงฟังดูผิวเผินก็มีเหตุผลอยู่ เพราะตลอดเวลาคนใน สนช.ก็ยืนยันว่าทำด้วย ความบริสุทธิ์ แต่ทำไมคนการเมืองถึงไม่เข้าใจ 

แต่ยิ่งเห็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ออกมาเฉลยเสมือนข้อสอบยังไงไม่รู้ ทำนองทราบเรื่องมาล่วงหน้า 2 สัปดาห์แล้ว เพราะมี พรายกระซิบ เลื่อนกฎหมายเลือกตั้ง อยากจะเลื่อนเลือกตั้งโดยวิธีขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง”  

อภิสิทธิ์” บอกว่า รู้ล่วงหน้ามา 2 สัปดาห์แล้ว ไม่พูด ก็เพราะว่าไม่ได้มีใครมาถาม จะไปพูดก่อนก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะเป็นการกล่าวหาการทำงานทั้งที่ยังไม่มีมูล พร้อมกับยืนยันว่า มีพยานที่ฟังอยู่ด้วย” 

ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นแถมมีพรายกระซิบล่วงหน้าอย่างนี้ ไม่ต่างอะไรจาก ข้อสอบรั่ว เพียงแต่ว่า ข้อสอบที่รั่วออกมานั้น ใครได้ประโยชน์กว่ากัน ในทางการเมืองเรื่องแบบนี้ไม่จำเป็นต้องไปอธิบายอะไรมากมายเชื่อว่า ผู้คนจำนวนไม่น้อยย่อมคิดออกมา สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นสนองผลประโยชน์กลุ่มไหนกันแน่น 

ในภาวะ “ขาลง” อะไรๆ ก็ปิดกันไม่มิดกันเสียแล้วหรือนี่