เมื่อไอน์สไตน์เจอชาร์ลี แชปลิน

เมื่อไอน์สไตน์เจอชาร์ลี แชปลิน

ผมเห็นข้อความนี้แล้วชอบใจมาก

บทสนทนาระหว่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อเสียงระดับโลก เมื่อได้พบ ชาร์ลี แชปลินนักแสดงนามอุโฆษระดับสากลวันหนึ่ง

เมื่อไอน์สไตน์เจอชาร์ลี แชปลิน

ไอน์สไตน์: “ผมชื่นชมศิลปะการแสดงของคุณจริง ๆ เพราะสิ่งที่คุณทำมันเป็นเรื่องสากล คุณไม่ต้องพูดอะไรสักคำเดียวเลย แต่ทั้งโลกก็เข้าใจคุณได้อย่างถ่องแท้แน่นอน”

เมื่อไอน์สไตน์เจอชาร์ลี แชปลิน

แชปลิน: “แต่ชื่อเสียงของคุณยิ่งใหญ่กว่าของผมมากมาย ทั้งโลกยกย่องสรรเสริญคุณทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่คุณพูดเลย!”

แหลมคมและตรงประเด็นอย่างยิ่ง จนเรียกเสียงฮากันไปทั่วแน่นอน

ไอน์สไตน์ทึ่งในความสามารถของแชปลินตรงที่การแสดงของเขาในยุคแรก ๆ นั้นเป็นหนังใบ้ ไม่มีเสียง ทุกคนเข้าใจ จากลีลาท่าทางและสีหน้าเท่านั้น แต่คนทั้งโลกก็พากันไปดูหนังตลกของเขาจนกลายเป็นตำนานระดับโลก

ไม่ต้องพูดสักคำ ทุกคนก็รู้เรื่องหมด

แชปลินหัวไว ฉลาดเฉลียวยิ่งนัก เมื่อมีเพื่อนแสดงความชื่นชมเช่นนี้ ก็ย่อมจะต้องหาทางตอบสนองให้เจ๋งกว่าที่เขายกย่องมา

ไอน์สไตน์โด่งดังด้วยทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า Theory of Relativity หรือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ที่แสดงว่า ความเร็วของแสงที่กำลังเคลื่อนที่ของผู้สังเกตเห็นจะมีความเปลี่ยนแปลงไปโดยพื้นฐานเหมือน ๆ กัน

ไอน์สไตน์ปรับปรุงสมการสัมพัทธภาพพิเศษของเขาจนกลายมาเป็นสมการอันโด่งดังที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ E=mc² ซึ่งบอกว่า มวลขนาดเล็กจิ๋วสามารถแปลงไปเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการพัฒนาของพลังงานนิวเคลียร์

ทฤษฎีนี้น้อยคนที่ไม่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์จะเข้าใจ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ค่อยเข้าใจอะไรกับทฤษฎีนี้ ก็ยังถือว่าไอน์สไตน์เป็นอัจฉริยะเพราะผลจากการค้นพบของเขานำไปสู่การพัฒนานิวเคลียร์ และพลังงานอื่น ๆ ที่สร้างประโยชน์ให้กับโลกต่อมาภายหลัง

สรุปว่าคนไม่พูดก็ดัง

คนพูดไม่รู้เรื่องก็ดัง

สำคัญว่าจะสามารถสื่อความหมายไปยังคนทั้งโลกได้อย่างเป็นสาระที่มีคุณูปการต่อมนุษยชาติหรือไม่

ทั้งสองคนเป็นเพื่อนกัน และการพบกันในการเปิดตัวของหนังฮอลลีวูด City Lights เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 1931 เป็นการบรรจบพบกันของสองผู้ยิ่งใหญ่ ที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทีเดียว

ทั้งสองท่านมาถึงโรงหนังเกือบจะพร้อมกัน แต่งเต็มชุดสำหรับงานใหญ่ทั้งคู่โดยมีภรรยาของไอน์สไตน์มาร่วมงานด้วย

พอทั้งสองเดินเข้าสู่โรงภาพยนตร์ ผู้คนก็ปรบมือกันกึกก้อง

และบทสนทนาประวัติศาสตร์ที่ผมนำมาเรียงร้อยให้ได้อ่านวันนี้ก็บังเกิดขึ้นโดยไม่ได้นัดหมายกัน

หนังไร้เสียงเรื่องนี้แชปลินเป็นทั้งผู้เขียนบท ผู้กำกับ และผู้ผลิต ว่าด้วยความรักของ พระเอกจรจัด (Tramp) ที่มีต่อนางเอก (หญิงตาบอด) และเพื่อนรักเศรษฐีขี้เมา

กลายเป็นหนังในตำนานอีกหนึ่งเรื่องที่เล่าขานถึงวันนี้