อนาคตยูโรและยุโรป(5)

อนาคตยูโรและยุโรป(5)

ในบริบทของพัฒนาการเศรษฐกิจอิตาลี เยอรมัน และญี่ปุ่น ที่เคยร่วมกันในสงครามและแพ้ฝ่ายพันธมิตรมีความเหมือนและความต่างกันที่น่าสนใจ

  อนาคตยูโรและยุโรป(5)

ในมิติความเจริญเติบโต มิติทางประวัติศาสตร์และโครงสร้างทางสถาบันของระบบทุนนิยมมีผลต่อประเทศทั้งสามในปัจจุบัน 

ตอนแพ้สงครามทั้งสามประเทศมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าอเมริกาค่อนข้างมากจุดร่วมที่มีเหมือนกันคือการไล่กวดทางเศรษฐกิจให้ทันอเมริกา วันนี้รายได้ต่อหัวของอเมริกาจากข้อมูลธนาคารโลกในปี2012

รายได้ต่อหัวของอเมริกา(ดอลล่าห์สหรัฐ) อยู่ที่ 52,340 ญี่ปุ่น 47,870 อิตาลี 34,640 จึงยังห่างจากอเมริกามาก แต่ถ้ามองรายได้ปรับเป็นอำนาจซื้อ อิตาลี ญี่ปุ่นและเยอรมันจะไม่ต่างกันมาก แต่ก็ต่ำกว่าประเทศอย่างสวิสเซอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ อย่างมีนัยสำคัญ

ประสบการณ์ที่คล้ายๆกัน สำหรับสามประเทศนี้ เรื่องหนึ่งคือ คือ นอกจากจะเป็นประเทศที่เจริญหลังอังกฤษ สหรัฐแล้วคนในประเทศทั้งสามเคยผ่านประสบการณ์ชีวิตทางเศรษฐกิจที่เหมือนกัน เคยผ่านจุดสูงสุดลงมาต่ำสุด มีสุขและมีทุกข์เข้มข้นเ เคยมีเศรษฐกิจโตสองหลักต่อปีหรือโตในอัตตราที่สูงมากต่อเนื่องยาวนานเป็นทศวรรษหลังสงคราม ทั้งอิตาลี เยอรมัน ญี่ปุ่น ต่างก็เคยหรือกำลังเผชิญกับความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า stagnation ซึ่งดูน่ากลัวกว่าคำว่า recession ที่อาจเป็นเรื่องชั่วคราวเศรษฐกิจขึ้นลงตามวัฐจักร 

ศักยภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศโตตามกำลังการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพของทุนและแรงงาน เทคโนโลยี IMF มองเศรษฐกิจโลกควรโตได้ในระดับ 3-4% ต่อปีในภาวะปกติ ถ้าโตต่ำกว่า2% ก็ถือว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตกต่ำ ประเทศเกิดใหม่กำลังพัฒนาควรโตได้ 4-5 % ทั้งสามประเทศนี้อยู่ในกลุ่ม OECD มีรายได้สูง สัดส่วนประชากรสูงวัยก็สูง ความเจริญเติบโตในระยะยาวขึ้นอยู่กับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและคุณภาพของทุนมนุษย์ ในภาวะปกติเศรษฐกิจควรโตได้2-3% ต่อปีเป็นอย่างต่ำ ต่ำกว่า2 % ถือว่าต่ำกว่าศักยภาพ

ในบริบทข้างต้นนี้จะพบว่าทั้งสามประเทศก่อนทศวรรศ 70 ต่างมีช่วงโตระดับ2หลักต่อปี หรือใกล้เคียงซึ่งนับว่าสูงมาก อย่างไรก็ตามตั้งแต่กลางทศวรรษ70เป็นต้นมา อัตราความเจริญเติบโตของ GDP ต่อหัวกลายเป็นการดิ่งลงใต้เป็นหนังคนละม้วนบอกถึงกฎเหล็ก ความเป็นอนิจจัง ความไม่ยั่งยืนของอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก ในอนาคตจีนก็จะหนีไม่พ้นกฎเหล็กนี้

ในกรณีของเยอรมัน คนส่วนใหญ่ที่รู้จักเยอรมันโดยเฉพาะวันนี้ทุกคนมองเยอรมันด้วยความชื่นชมเพราะเศรษฐกิจเยอรมัน คนว่างงานเริ่มต่ำลง เศรษฐกิจโตได้ดีกว่าในประเทศอียูและยูโรโซน นอกจากนี้เยอรมันไม่บอบช้ำจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและยุโรป แต่เราอาจจะลืมไปว่าเยอรมันตั้งแต่กลางทศวรรษ70 เป็นต้นมา เศรษฐกิจเยอรมันโตในอัตราที่ไม่สูงเลย ถ้าคิดเป็นอัตราการเติบโตรายได้ต่อหัว โตเฉลี่ยเพียง 1.9 % ต่อปี ช่วง 1973-1995 กว่า20 ปี อัตราการเติบโตลดลงมาเหลือ 1.4% ต่อปี ในช่วง 1995-2011 ในทศวรรษ90 เราอาจจะลืมไปว่าคนเยอรมันต้องกระอักเลือด แบกต้นทุนการรวมชาติทางการคลังที่สูงมหาศาล การว่างงานสูงถึงร้อยละ 30 ผลิตภาพที่ต่ำลงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของเยอรมันลดลง ผลก็คือว่าในช่วงปลายทศวรรศ 1990-2005 ก่อนที่ Merkel จะเป็นนายกสมัยแรกในปี 2005 นั้นเยอรมันเคยถูกเรียกว่าเป็นคนป่วยแห่งยุโรป(sick man of europe) มาแล้ว เศรษฐกิจเยอรมันช่วงปี 1998-2005 โตเพียงแค่1.2% ต่อปี ถ้าหักอัตตราการเกิดของประชากร อัตราการเจริญเติบโตต่อหัวจะต่ำกว่า 1% ในช่วงนี้

ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเยอรมันช่วงทศวรรษ 90 ญี่ปุ่นและอิตาลีก็ต้องเผชิญกับภาวะช่วงขาลงทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนาน เป็นภาวะชะงักงันที่ยาวนานอย่างน่าหดหู่ใจ เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเหมือนหลับไม่ตื่นฟื้นไม่มี หลังสงครามโลกครั้งที่สองเกือบ30 ปี รายได้ต่อหัวของญี่ปุ่นโตปีละเกือบ8% ตั้งแต่กลางทศวรรษ1970 หลังจากราคาน้ำมันช๊อกโลก ช่วง1973-1995 รายได้ต่อปีลดลงมาเหลือ 2.2 % และที่แย่กว่านั้นเมื่อฟองสบู่ทางเศรษฐกิจทั้งทางการเงินและอสังหาริมทรัพท์แตก รายได้ต่อหัวโตเพิ่มขึ้นในอัตตราเพียง 0.6 % ต่อปี ตั้งแต่ช่วง 1995-2011 เป็นผลพวงของฟองสบู่ที่แตกบวกกับปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่โตและภาวะระดับราคาลดลงหรือ deflation หรือ เงินฝืด คนไม่ใช้จ่ายขาดความเชื่อมั่นรวมทั้งการมีโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุจำนวนมาก รายได้ประชาติที่เป็นตัวเงินของญี่ปุ่นที่เป็นตัวเงินในปี 2011 ยังต่ำกว่าตัวเลขในปี 1996 ด้วยซ้ำไป

อิตาลีนั้นไม่ต้องพูดถึง อิตาลีเป็นผู้ป่วยของยุโรปที่แท้จริง คนภายนอกอาจจะไม่รู้สึกเท่ากับคนอิตาลีซึ่งจาการทำสำรวจพบว่าไม่มีความสุข หลังสงครามโลกแม้ระบบการเมืองและสังคมยุ่งเหยิงไม่มีสเถียรภาพ อิตาลีก็ผ่านประสบการณ์มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจเหมือนเยอรมันและญี่ปุ่น แต่อิตาลีมีปัญหาเรื้อรังเหมือนไม่มีทางออกมาตั้งแต่ก่อนจะเข้ายูโร รายได้ต่อหัวช่วงปี 1995-2011 โตเพียง 0.4% ต่อปี

วิกฤตของอิตาลีมีรากเหง้าที่อธิบายและอิตาลีมีปัญหาและคงมีวิกฤตแม้ไม่มีวิกฤตโลกและยุโรป