เพราะ AI ไม่ใช่ 'ครู'

เพราะ AI ไม่ใช่ 'ครู'

พลังสำคัญในการขับเคลื่อน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต คือ ปัญญาประดิษฐ์

 หรือ Artificial Intelligence เรียกสั้นๆ ว่า AI เพราะมันมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดว่าถ้ามันฉลาดได้ขนาดนั้น มันก็น่าจะเป็นครูที่ดี เพราะสามารถหาวิธีเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคนได้ ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าเรามี AI แล้วเราจำเป็นต้องมีครูอีกหรือไม่?

การคิดค้น AI เกิดจากความพยายามในการหาระบบการทำงาน ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องรอให้มนุษย์ต้องคอยป้อนคำสั่งทุกครั้งที่เจอปัญหา ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหานั้น เกิดจากการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก แล้วนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับปรุงแนวทางในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในครั้งต่อไป เมื่อเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาได้มากพอ ก็จะมีองค์ความรู้สะสมอยู่ในตัวสำหรับการพัฒนาพลังทางปัญญาให้สูงขึ้นได้

หากมองกันแบบสุดโต่ง ก็จะดูเหมือนว่า ในบางมุมเทคโนโลยีเป็นศัตรูกับครู แต่ความแล้วเทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยที่ดีมาตลอด จากที่เคยสั่งสอนกันด้วยปากเปล่า ก็มีการจดบันทึกลงในกระดาษ มีการอัดเสียงแล้วไปฟังต่อ มีการใช้แผ่นใสเพื่อฉายภาพสิ่งที่ต้องการอธิบาย จนมาถึงยุคของการใช้พาวเวอร์พอยท์ ระบบการเรียนออนไลน์ และห้องเรียนเสมือนจริงมาช่วยในการเรียนรู้

แต่ที่ผ่านมานั้น เทคโนโลยีเป็นแค่พระรองที่เข้ามาช่วยให้ผู้สอน สามารถสื่อสารองค์ความรู้ไปยังผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั่วถึงขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รวมถึงช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดการเรียนรู้ เพราะสามารถนำเอาเนื้อมาเดิมมาใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องออกแรงทำใหม่ทุกครั้งที่ต้องสอน

ประเด็นก็คือ มุมมองดังกล่าวยังเป็นการศึกษายุค 2.0 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยียุค 3.0 ซึ่งไม่ใช่การศึกษาแบบ 4.0 อย่างแท้จริง การศึกษาในยุค 2.0 เน้นการผลิตคนออกมาป้อนความต้องการของตลาด โดยกำหนดว่าแต่ละคนต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้วัดทุกคน ไม่ต่างอะไรกับการประเมินคุณภาพสินค้าที่ผลิตจากโรงงานว่าเป็นสินค้าเกรด A เกรด B หรือ เกรด C เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาคนสำคัญคนหนึ่งว่าการเรียนรู้แบบนี้มีแต่จะทำลายความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของมนุษย์

คำถามก็คือ กระบวนการเรียนรู้ของเรา เรียนไปเพื่ออะไร?

หากเราต้องการเรียนเพื่อจะไปทำข้อสอบ เรียนจบแล้วออกไปทำงานให้ได้ผลงานดี ทำเงินได้เยอะ การยอมให้ AI ช่วยจัดการเรียนรู้ย่อมเป็นเรื่องดี เพราะมันจะเริ่มต้นประเมินเด็กตั้งแต่เกิด คอยบันทึกพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ควบคู่ไปกับการค้นหาความถนัดของเด็ก จากนั้นก็จะออกแบบหลักสูตรการเรียนเฉพาะตัวให้เด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดของเด็กได้อย่างเต็มที่ เด็กไม่จำเป็นต้องมีการสอบเลื่อนชั้นด้วยข้อสอบเดียวกันทั้งหมด เพราะ AI จะออกแบบเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน หมดปัญหาเรื่องการใช้ไม้บรรทัดอันเดียวมาวัดเด็กทั้งประเทศเหมือนที่ผ่านมา แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการจ้างคนมาสอนอีกด้วย AI จะเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเรียนสำหรับเด็กแต่ละคน สามารถเรียนได้ที่บ้าน ไม่ต้องตื่นเข้าออกไปเจอกับรถติด

อย่างไรก็ตาม AI ไม่ใช่มนุษย์ และการเรียนไม่ได้เรียนเพื่อออกไปทำเงินเท่านั้น หัวใจสำคัญของการเรียนการในยุค 4.0 มีสองมิติ มิติแรก เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า จากนี้ไปเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทโลกของงานมากขึ้น ดังนั้นการเรียนจึงไม่ใช่การเรียนเพื่อไปทำงานแข่งกับเทคโนโลยี แต่เป็นการเรียนเพื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้ประโยชน์สูงสุด

มิติที่สอง คือ การเรียนเป็นกระบวนการการฟูมฟักความเป็นมนุษย์ ที่ต้องให้ความสำคัญต่อพัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ ความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ รู้จักเห็นใจเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เข้าใจชีวิต และใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความหมาย ซึ่งสิ่งเหล่าไม่สามารถเรียนรู้ได้จากคลิปออนไลน์ การเรียนจากห้องเรียนเสมือนจริง หรือฝังชิพที่บรรจุนิยามความเป็นคนดีเข้าไปในสมอง

ครูที่ดีในยุค 4.0 จะต้องเก่งทั้งสองมิตินี้ AI ทำได้เพียงมิติแรกเพราะเป็นมิติที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของเหตุผล ส่วนมิติที่สองที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งความรัก ความเข้าใจ ความปรารถนาดีที่มีต่อศิษย์นั้น ไม่มีวันที่ AI จะทำได้ และนี่คือเหตุผลว่าต่อให้ AI เก่งแค่ไหนก็เป็นได้แค่ผู้จัดการเรียนรู้ แต่ไม่มีวันเป็น “ครู” ได้เลย เพราะครูแท้ ต้องรับผิดชอบลูกศิษย์ของตนในทุกมิติของชีวิต

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เห็นตรงกันก็คือ ถึงมันจะเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์ในบางเรื่องได้อย่างดีเยี่ยม แต่มันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมนุษย์เสียเอง ดังที่อีไลเซอร์ ยุดโควสกี้ ผู้ร่วมก่อตั้ง Machine Intelligence Research Institute ได้เคยพูดไว้ว่า

 “ปัญญาประดิษฐ์มันไม่ได้เกลียดคุณ แต่มันก็ไม่ได้รักคุณ