เครื่องยนต์ โรตารี 50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง

เครื่องยนต์โรตารี (Rotary) เป็นเอกลักษณ์ และสร้างชื่อสียงให้กับมาสด้า แต่จริงๆ แล้วเครื่องยนต์ได้แรงบันดาลใจจากเทอร์ไบน์ เริ่มใข้ในยานยนต์ครั้งแรกกับรถมอเตอร์ไซค์ ก่อนที่มาสด้าจะเข้ามาพัฒนาต่อเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และยืนยันว่ามันจะยังคงอยู่บนโลกยานยนต์ต่อไป

ช่วงนี้แม้ว่ากระแสของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี จะร้อนแรงมาก แต่ก็แน่ใจว่ายังมีผู้คนอีกไม่น้อยที่ยังคงหลงใหลในเทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่มีเสน่ห์ที่หลากหลาย แตกต่าง บางคนชื่นชอบความแรง หรือว่าเสียงอันทรงพลังของเครื่องยนต์ วี 8, วี 12 

รวมถึงชื่นชอบในพัฒนาการของเครื่องยนต์ ทั้งเรื่องของของความสามารถในการลดอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน ลดไอเสีย หรือ เพิ่มทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิง 

เมืื่อพูดถึงเรื่องเสน่ห์เครื่องยนต์สันดาปภายใน หนึ่งในเทคโนโลยีที่โด่งดังมายาวนานคือ เครื่องยนต์ โรตารี (Rotary) ของมาสด้า  

 

“เครื่องยนต์โรตารี่” นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของมาสด้าแลัว ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะเป็นที่รู้กันว่ามาสด้าล้มลุกคลุกคลานมากมายก่อนจะประสบความสำเร็จในการมาของเครื่องยนต์ลูกสูบสามเหลี่ยมที่สร้างชื่อเสียงให้กับมาสด้าในเวลาต่อมาหลายครั้ง

และทุกวันนี้ชื่อเสียงของเครื่องยนต์โรตารี ก็ยังผูกติดกับบริษัทรถยนต์เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 100 ปี รายนี้ 

แม้ว่าเครื่องยนต์โรตารี่จะหยุดการผลิตไปในบางช่วงเวลา เนื่องจากความเข้มงวดในบางตลาด แต่มาสด้าก็ยังคงเดินหน้าพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดคือการมาของเครื่องยนต์โรตารี่ เจเนอเรชั่นใหม่ “SKYACTIV-R”

โดยพัฒนาขึ้นเป็นรถสปอร์ตต้นแบบ มาสด้า RX-Vision ซึ่ง มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้เผยโฉมเป็นครั้งแรกในงาน โตเกียว มอเตอร์ โชว์ ที่ผ่านมาเพื่อเป็นการสะท้อนถึงวิสัยทัศน์แห่งอนาคต ด้วยการเป็นรถสปอร์ตวางหน้า และขับเคลื่อนล้อหลัง มาพร้อมรูปลักษณ์ตามแบบฉบับ โคโดะ ดีไซน์

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง RX Vision

สำหรับประวัติศาสตร์ของ โรตารี หลังจากพัฒนาแล้วเสร็จ ก็สร้างชื่อหลายครั้ง โดยเฉพาะ ครั้งที่รถสปอร์ต 787B คว้าชัยชนะจากการแข่งขันรายการทรหดของโลก รายการ “เลอ มังส์ 24 ชม.” ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 2534 

โดยเป็นรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นแบรนด์แรกที่ชนะการแข่งขันในรายการนี้ ซึ่งทำให้เครื่องยนต์โรตารี่กลายเป็นสัญลักษณ์ในด้านความคิดสร้างสรรค์ และเป็นดีเอ็นเอสายพันธุ์สปอร์ตที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

และกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนารถสปอร์ตมาสด้ารุ่นอื่นๆ อีกหลายรุ่นที่คนไทยรู้จักกันดี เช่น  RX-7, RX-8 ก่อนจะมาถึง RX-Vision 

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง RX 8

สำหรับที่มาที่ไปของเครื่องยนต์โรตารี่ เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อปี 2462 เมื่อ เฟลิกซ์ แวนเคิ้ล (Felix Wankel) มีความคิดริเริ่มที่จะสร้างเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ไม่ซ้ำแบบเครื่องยนต์ลูกสูบทั่วๆ ไป โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “เครื่องจักรเทอร์ไบน์” จนกระทั่งออกมาเป็นรูปร่างคล้ายเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จุดระเบิดด้วยการหมุนรอบตัวเอง และได้ทดลองมาอย่างต่อเนื่องจนสามารถออกแบบเป็น “ลูกสูบสามเหลี่ยม” 

และเมื่อ เฟลิกซ์ แวนเคิ้ล ได้เข้าทำงานในสถาบัน TES (Technical Institute of Engineering Study) จึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยนำโปรเจคนี้ไปเสนอต่อบริษัท NSU Motorenwerke AG ซึ่งเป็นบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์ และได้พัฒนาเครื่องยนต์โรตารี่ควบคู่กันไป 

ทำให้ “โรตารี่” เครื่องแรกถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 1957 โดยใช้ชื่อ DKM 54 ติดตั้งในรถมอเตอร์ไซค์ รุ่น 50 ซี.ซี. โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 192.5 กม./ชม. และที่สำคัญคือ สามารถคว้าชัยชนะในรายการ “World Grand Prix Championship” เรียกเสียงฮือฮาให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก

แต่แม้ว่า Wankel Engine จะเอาชนะการแข่งขัน แต่ก็ยังมีข้อเสียหลายอย่าง ทั้งกินน้ำมัน ความร้อนสูง มีการสึกหรอมาก และเสียหายเร็ว ทำให้เสื่อมความนิยมลงจนจะกลายเป็นตำนานไปแล้ว 

แต่แล้วในปี 2504 มันก็ได้รับการชุบชีวิตขึ้นมาอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม โดยวิสัยทัศน์ของ Tsuneji Matsuda ประธาน บริษัท Toyo Kogyu (โตโย โคเกียว) ผู้ผลิตรถยนต์ “มาสด้า” ที่ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์มาพัฒนาใหม่ 

จนกระทั่งในเดือนเมษายน  2506 Keichi Yamamoto ได้พัฒนาขึ้นมาสำเร็จ แต่ยังพบข้อบกพร่องบางอย่างเกี่ยวกับ Apex Seal และ Oil Seal ซึ่งเสียหายง่าย จึงได้ร่วมมือกับ Nippon Piston Ring & Oil Seal Co. และสามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้สำเร็จ

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง

ต่อมาในปี 2510 มาสด้าก็ได้สร้างความฮือฮาขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวรถคันแรกที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ ด้วย “Cosmo Sport 110S” ถือเป็นรถยนต์มาสด้ารุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ หลังจากนั้นจึงได้เริ่มผลิตและจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์โรตารี่ตามออกมาอีกหลายรุ่น เช่น 

  • แฟมิเลีย โรตารี่ คูเป้ (R100 ในต่างประเทศ) 
  • ซาวันน่า (RX-3) 
  • RX-7 
  • ยูโนส คอสโม 

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง COSMO SPORT

ทั้งนี้ เครื่องยนต์โรตารี่นั้นมีโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์ ขับเคลื่อนด้วยการหมุนของโรเตอร์รูปสามเหลี่ยม ซึ่งมาสด้าถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกและรายเดียวที่ประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องยนต์โรตารี่ในเชิงพาณิชย์จนถึงปัจจุบัน

แม้จะสามารถพัฒนาเครื่องยนต์โรตารีให้ออกมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว มาสด้าก็ยังคงเดินหน้าพัฒนารายละเอียดต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของสมรรถนะ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และความทนทานของ 

ในที่สุดมาสด้าก็ประกาศศักดา ด้วยการตัดสินใจนำรถแข่งของมาสด้าที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ หรือ มาสด้า 787B ที่ติดตั้งเครื่องยนต์โรตารี่ 4 โรเตอร์ ลงแข่งขัน รายการ เลอ มังส์ 24 ชม. ในปี 2534 ที่ฝรั่งเศส และนั่นคือการลบคำสบประมาทจากทุกสิ่งที่ค้างคาใจของผู้คนทั่วโลก เมื่อมาสด้า 787B ทะยานเข้าเส้นชัยผ่านธงตาหมากรุก 

เครื่องยนต์ โรตารี  50 ปี ยังไปต่อ มาสด้าลุยพัฒนาต่อเนื่อง

787B

และนี่คือประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ มาสด้ากลายเป็นรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นแบรนด์แรกที่คว้าชัยชนะ ส่งผลให้เครื่องยนต์โรตารี่จากมาสด้า กลายเป็นสัญลักษณ์ในด้านความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งที่จะเอาชนะทุกอุปสรรคของมาสด้ามาถึงปัจจุบัน

ถึงปัจจุบัน โรตารีของมาสด้าโลดแล่นบนโลกยานยนต์มา 50 ปี และมันถูกติดตั้งในรถยนต์รุ่นต่างๆ ที่จำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 2 ล้านคัน

และนอกจากรุ่นหลักๆ แล้ว ที่ผ่านมามาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ยังผลิตรุ่นพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี โดยเปิดตัว มาสด้า RX-8 รุ่นพิเศษ ในตลาดญี่ปุ่น โดยรุ่นพิเศษนี้ได้รับการพัฒนามาจากรุ่น RX-8 Type S เกียร์ธรรมดา 6 สปีด และ Type E เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด 

ซึ่งรุ่นพิเศษ ออกแบบภายในสะท้อนถึงรถต้นแบบ คอสโม สปอร์ต เบาะนั่งหนังแท้สั่งทำพิเศษ สีดำกับเทาอ่อนของ ALCANTARA สีภายนอกของตัวรถเป็นสีพิเศษ คือ สีขาวหินอ่อน พร้อมป้ายสัญลักษณ์รุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 40 ปี บริเวณด้านข้างนอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์พิเศษ เช่น โช้คอัพของ Bilstein และระบบกันสะเทือนด้านที่บรรจุโฟมยูรีเทน เพื่อให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ และสมรรถนะที่ดีขึ้น