BRI พลิกโอกาสฟื้น "ศก. - พลังงาน" หลังยุคโควิด

BRI พลิกโอกาสฟื้น "ศก. - พลังงาน" หลังยุคโควิด

"ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง" ที่มีจีนเป็นแกนหลัก พยายามปรับบทบาทเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก หลังระบาดโควิด-19 และใช้เป็นช่องทางกระจายวัคซีนโควิดช่วยเหลือประเทศต่างๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง

สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ต้องหยุดชะงัก และความร่วมมือระหว่างประเทศต้องเกิดอุปสรรค

ขณะที่ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRI) ที่มีจีนเป็นแกนหลัก และมีประเทศกว่า 100 แห่งเข้าร่วม ได้พยายามปรับบทบาทเพื่อช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เปิดโอกาสให้ใช้แพลตฟอร์มการค้า และช่องทางความร่วมมือสำหรับจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ รวมทั้งการขับเคลื่อนกลไกให้เกิดการฟื้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล จัดงานสัมมนาหัวข้อ “การพัฒนาโครงการสายแถบและเส้นทาง” ปี 2564  (The Belt and Road Development) ที่กรุงปักกิ่ง โดยมีนักวิชาการ ตัวแทนรัฐวิสาหกิจของจีน และผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสะท้อนมุมมองที่มีต่อความร่วมมือ BRI ในอนาคต ซึ่งยังคงต้องเผชิญความท้าทายหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 

นับตั้งแต่ "ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง" ของจีนประกาศข้อริเริ่มโครงการสายแถบและเส้นทาง เมื่อปี 2556 จีนได้เปลี่ยนจิตวิญญาณเส้นทางสายไหมให้เป็นความร่วมมือ “สันติภาพ เปิดกว้าง เรียนรู้ และได้รับผลประโยชนร่วมกัน” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รวมทั้งพลังงานสะอาดของประเทศที่เข้าร่วม

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด

จีน ในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา และประเทศมหาอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ได้เริ่มโครงการสายแถบและเส้นทางเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงตลาดการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและยุโรป

โดยรัฐบาลจีนมุ่งหวังให้เป็นเส้นทางสายไหมเส้นใหม่ และเพิ่มเส้นทางขนส่งทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงประเทศในแถบชายฝั่งรวมถึงแอฟริกาด้วย

“มัล อูล เฮค” เอกอัครราชทูตปากีสถาน ประจำประเทศจีน กล่าวว่า ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (CPEC) ซึ่งเป็นโครงการหลักของ BRI ช่วยเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของปากีสถาน และช่วยประเทศแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง 

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด

ภายใต้โครงการนี้ รัฐบาลปากีสถานยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ความทันสมัยของการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับวาระการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลปากีสถานอย่างยิ่ง 

"ยูฮารี โอรัตแมนกาน" เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศจีน เล่าว่า ขณะนี้ รัฐบาลจาการ์ตากำลังดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากในหลายสาขาภายใต้ความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง ซึ่งครอบคลุมภาคเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม เช่น รถไฟความเร็วสูงเส้นทางจาการ์ตา-บันดุง เป็นต้น 

"ผมมั่นใจว่า ความร่วมมือครั้งนี้ที่ยังดำเนินต่อไป จะส่งผลต่อพลวัตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และหวังว่ารัฐวิสาหกิจของจีนจะมีบทบาทมากขึ้นในความร่วมมือบีอาร์ไป เพื่อสร้างสมดุลและเพิ่มโอกาสหลังยุคระบาดโควิด-19" เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าว 

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด

ท่ามกลางวิกฤติด้านสาธารณสุข และผลกระทบจากการระบาดโควิด ทำให้ทั้งจีนและประเทศในเส้นทาง BRI ต้องเผชิญชะตากรรมร่วมกัน ทำให้ต้องยกระดับความร่วมมือเป็นเส้นทางในการต่อสู้ต่อโรคระบาดร่วมกันของแต่ละประเทศไปโดยปริยาย

ภายใต้สถานการณ์ที่หลายประเทศต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดการขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งทางเรือ และทางอากาศ เนื่องจากการระบาดโควิด

“หวัง หยีเว่ย” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินของจีน มองว่า โลกกำลังเผชิญกับปัญหาห่วงโซ่อุปทานในหลายด้าน เช่น การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานทดแทนน้ำมันรวมถึงฟอสซิลก็ในเมื่อทั่วโลกกำลังมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) 

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด

 

รัฐบาลจีน ประกาศแผนปรับปรุงใหม่ของโครงการ BRI เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยหันมาทุ่มทุนกับแนวทางการใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานจากถ่านหินหรือพลังงานที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ และการปรับกลยุทธ์ของบีอาร์ไอครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของจีน เพื่อแสดงจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ปรับแผนการสร้างระบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อรองรับการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน

หยีเว่ยยังมองว่า การที่สหรัฐพยายามนำเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกัน ยิ่งเป็นการเพิ่มปมให้ปัญหาซัพพลายเชนมีความซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นท้าทายต่อการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง

“ชาง กัวบิน” สถาบันศิลปะจาฮอร์ ชี้ว่า BRI ในศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงแต่จะเชื่อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับโลก แต่ยังคงความมีบทบาทสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ควบคู่กับแผนการพัฒนาเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด

ขณะที่ “สเตฟาโน พอลเซลลี” นักกฎหมายอิสระชาวอิตาลี กล่าวว่า โครงการข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง จำเป็นต้องประสานกฎหมายของประเทศต่างๆ แต่มันไม่ง่ายเลยที่จะร่างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศโดยละเอียด เพราะนั่นต้องคำนึงถึงความแตกต่างในค่านิยมระหว่างผู้คนในประเทศต่างๆ

“อเล็กซ์เซีย สาวีสกี” นายกสมาคมสื่อมวลชนรัสเซีย กล่าวในตอนท้ายว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องมีนโยบายปิดประเทศเพื่อจัดการกับไวรัส และควบคุมการเดินทางระดับประชาชน รวมถึงใช้งบประมาณประเทศส่วนใหญ่เพื่อรับมือโควิด

โดยหวังว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายแล้ว ประเทศต่างๆ จะกลับมาฟื้นคืนความร่วมมือบีอาร์ไอ และให้ประชาชนได้เดินทางไปมาหาสู่เป็นปกติ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน

 

BRI พลิกโอกาสฟื้น \"ศก. - พลังงาน\" หลังยุคโควิด