ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

เปิดลิสต์ 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบ Asia’s Power Business Women ประจำปี 2021 ของ Forbes เป็นครั้งแรก ที่สามารถนำธุรกิจปรับตัวและเติบโตท่ามกลางความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างประสบความสำเร็จ ตลอดช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา

ผู้นำนักธุรกิจหญิงที่ติดโผรายชื่อในปีนี้มีอายุระหว่าง 30 ถึง 70 ปี จากหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งแต่การธนาคาร ไพรเวทอิควิตี้ ไปจนถึงสายงานการผลิต การดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีและรายงานชิ้นนี้ ได้คัดผู้นำนักธุรกิจหญิง 7 คน ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ทำเนียบในปีนี้เป็นครั้งแรก ที่ได้รับเลือกจากความสำเร็จในการจัดการธุรกิจที่มีรายได้สูง หรือธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์

  • มารินา บูดิแมน (อินโดนีเซีย)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

เริ่มจาก "มารินา บูดิแมน" (Marina Budiman) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมาธิการดีซีไอ ชาวอินโดนีเซีย วัย 60 ปี เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมาธิการของดีซีไอ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50%

นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ข้อมูลระดับ Tier IV แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ mujได้รับคะแนนความน่าเชื่อถือและความยืดหยุ่นสูงที่สุดในอุตสาหกรรมแต่สิ่งที่นักลงทุนประทับใจคือ หุ้นของดีซีไอที่เพิ่มสูงขึ้นราว 11,000 % นับตั้งแต่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนม.ค. ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากการที่มหาเศรษฐีแอนโทนิ ซาลิม เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทจาก 3% เป็น11% ในเดือนพ.ค.
 

ดีซีไอเป็นบริษัทมหาชนที่มีมูลค่ามากที่สุดบริษัทหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของกระแสดิจิทัลในอินโดนีเซีย ส่งผลให้บริษัทมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น 81% และ 57% ตามลำดับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่บัญชีรายชื่อลูกค้าประกอบด้วยบริษัทโทรคมนาคม 44 แห่ง บริษัทการเงิน 134 แห่ง และบริษัทอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นของบูดิแมนในบริษัทมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์

  • เกา เสี่ยวชุน (จีน)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ผู้บริหารหญิงคนที่ 2 คือ “เกา เสี่ยวชุน” (Cao Xiaochun) ประธานหังโจว ไทเกอร์เมด คอนซัลติง (Hangzhou Tigermed Consulting) วัย 52 ปี โดยเกา ร่วมก่อตั้งบริษัทการแพทย์หังโจว ไทเกอร์เมด คอนซัลติง ในปี 2547 กับเย่ เสี่ยวผิง (Ye Xiaoping) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และเชินเจิ้น และเติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการวิจัยและการทดลองทางคลินิกรายใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีบริษัทมีมูลค่า ณ ราคาตลาด 23,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ เกามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 1,600 ล้านดอลลาร์ นับจนถึงสิ้นเดือนต.ค.

เกาในฐานะผู้ดูแลการจัดการกิจการรายวันในบริษัท เผยว่า ธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นเนื่องจากบริษัทยาทั่วโลกเพิ่มการลงทุนเพื่อค้นหาและพัฒนาตัวยาใหม่ๆ รวมถึงวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้รายรับในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 58% จากปีที่แล้วเป็น 1,300 ล้านหยวน (210 ล้านดอลลาร์) ขณะที่กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 65% เป็น 526 ล้านหยวน

 

ปัจจุบัน บริษัทจัดจ้างพนักงานใน 48 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา และได้ทำการทดลองทางคลินิกไปแล้วกว่า 490 ครั้งในด้านต่างๆ ณ วันที่ 30 มิ.ย. เช่น เนื้องอกวิทยาและวัคซีน และในเดือนก.ค. บริษัทได้บริจาคเงิน 9,800 ล้านหยวน เพื่อร่วมเปิดตัว ‘โครงการกองทุน 20,000 ล้านหยวน’ กับรัฐบาลเมืองหังโจว ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพสายสุขภาพ

  • เคอิโกะ เอริกาวา (ญี่ปุ่น)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ต่อมาคือ “เคอิโกะ เอริกาวา” ประธานโคอิ เทคโม วัย 72 ปี สัญชาติญี่ปุ่น โดย เอริกาวาและโยอิชิ ผู้เป็นสามี ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอก่อตั้ง โคอิ เทคโม ซึ่งก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาวิดีโอเกมรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา

ปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้มีมูลค่า ณ ราคาตลาด 8,500 ล้านดอลลาร์ และสร้างกำไรสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 11 ปีติดต่อกัน ด้วยรายได้ 262 ล้านดอลลาร์จากยอดขาย 534 ล้านดอลลาร์ สำหรับปีงบการเงินสิ้นสุดในเดือนมี.ค. ขณะที่ผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 40% เหนือคู่แข่ง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ทส 19% และนินเทนโด  36%

ในอีก 3 ปีข้างหน้า บริษัทตั้งเป้าว่าจะมีรายรับ 796 ล้านดอลลาร์ และกำไรจากการดำเนินงาน 266 ล้านดอลลาร์ จากการพัฒนาเกมคอนโซล และเกมมือถือใหม่อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการผนึกกำลังร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ

ทั้งนี้ โคอิเทคโมได้ออกใบอนุญาตในทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่ปี 2560  ซึ่งกำลังจะกลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น Lingxi Interactive ของจีน ซึ่งเป็นบริษัทเกมที่เป็นส่วนหนึ่งของอาลีบาบาได้พัฒนาเกมมือถือยอดนิยมโดยอิงจากเกม Romance of the Three Kingdoms ที่ขายดีที่สุดของโคอิ เทคโม

นอกจากนี้ ในเดือนมิ.ย. เอริกาวา ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการจากภายนอก และเป็นผู้หญิงคนเดียวในคณะกรรมการของซอฟต์แบงก์ กรุ๊ป ซึ่งคาดว่าเธออาจสามารถนำความรู้ด้านการลงทุนไปประยุกต์ใช้ที่นั่นได้ หลังจากที่สามารถจัดการทรัพย์สินมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์ ของโคอิ เทคโมในญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐจนประสบความสำเร็จ 

  • มีนา กาเนช (อินเดีย)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

“มีนา กาเนช” ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานพอร์ที เมดิคัล วัย 58 ปี สัญชาติอินเดีย ผู้ร่วมก่อตั้งพอร์ที เมดิคัล บริษัทดูแลสุขภาพที่บ้านที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียในด้านรายได้ เข้ารับตำแหน่งประธานในเดือนส.ค. ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเคยมีประสบการณ์ด้านการบริหารบริษัทอายุ 8 ปีในบังกาลอร์ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและซีอีโอ

ด้วยเหตุนี้ เธอจึงมีงานยุ่งตลอดทั้งปีในการประสานงาน การวินิจฉัย การปรึกษาทางไกล การไปพบแพทย์ และการรักษาพยาบาลที่บ้านของผู้ป่วย เป็นผลให้รายรับซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30% เป็น 1,800 ล้านรูปี (25 ล้านดอลลาร์) สำหรับปีงบการเงินสิ้นสุดในเดือนมี.ค.2565 และขณะนี้บริษัท กำลังเตรียมจะขยายการดำเนินงานเป็น 50 เมืองจาก 22 เมืองภายในกลางปีหน้า

“การระบาดใหญ่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีที่รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลบริหารจัดการธุรกิจการดูแลสุขภาพที่บ้าน” เธอกล่าว

ในปีที่ผ่านมาพอร์ที ซึ่งทำงานร่วมกับโรงพยาบาล 70 แห่งและเครือข่ายการวินิจฉัยระดับประเทศ 6 แห่ง ได้ร่วมมือกับ 6 รัฐในอินเดีย เพื่อเข้าถึงผู้ป่วยโควิด-19 เกือบ 400,000 และติดตามทางโทรศัพท์เกือบ 4 ล้านครั้ง พร้อมให้คำปรึกษาทางไกลจากแพทย์สำหรับผู้ป่วยทุกคน

  • ไอโกะ ฮาชิบะ (ญี่ปุ่น)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ต่อมาคือ “ไอโกะ ฮาชิบะ” (Eiko Hashiba) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ VisaQ วัย 43 ปี ชาวญี่ปุ่น โดยเมื่อปี 2544 ฮาชิบะ นักศึกษาจบใหม่ที่ได้รับปริญญาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้งานวาณิชธนกิจที่โกลด์แมน แซคส์  เจแปน และแค่ 1 ปีต่อมา เธอในวัย 23 ปี ได้ตัดสินใจลาออกเพื่อดูแลบุตรที่เพิ่งเกิด ซึ่งทำให้เธอเกิดความสงสัยว่า ทำไมเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจึงต้องแลกมากับการหยุดประกอบอาชีพของตน

คำถามเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิต และการทำงานนั้นส่งผลต่อการก่อตั้ง VisasQ ในปี 2555 ของเธอ ซึ่งขนานนามตัวเองว่าเป็น “แพลตฟอร์มการแบ่งปันความรู้ระดับมืออาชีพ” ที่จับคู่ผู้เชี่ยวชาญอิสระจากทั่วโลกสำหรับงานชั่วคราวจากบริษัทต่างๆ ตั้งแต่คำแนะนำ 1 ชั่วโมงไปจนถึงการให้คำปรึกษาสำหรับโครงการใหญ่ๆ “ความสามารถในการทำงานต่อไปโดยไม่คำนึงถึงช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เป็นแรงผลักดันในวิสัยทัศน์ของ VisasQ ในการเชื่อมโยงความรู้ ซึ่งก้าวไปไกลกว่าองค์กร ช่วงอายุและภูมิศาสตร์” ฮาชิบะ กล่าวทางอีเมล

ในปี 2563 มูลค่าหุ้นของ VisaQ ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 4 เท่าจนบริษัทมีมูลค่า ณ ราคาตลาดอยู่ที่ 471 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของฮาชิบะมีมูลค่ามากกว่า 240 ล้านดอลลาร์

ล่าสุด ในเดือนส.ค.VisasQ ประกาศว่าจะซื้อกิจการโคลแมน รีเสิร์ช กรุ๊ป(Coleman Research Group) บริษัทเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐที่มูลค่า 102 ล้านดอลลาร์ ในเดือนพ.ย.และจะมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณธุรกรรมของ VisaQ ขึ้นกว่า 3 เท่าเป็นเกือบ 9,000 ล้านเยน จากจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 260,000 รายใน 190 ประเทศ 

“การเป็นผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าความสามารถของคุณมีขีดจำกัด” ฮาชิบะ กล่าว

  • โจ ฮอร์แกน (ออสเตรเลีย)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ต่อมาคือ “โจ ฮอร์แกน” ผู้ก่อตั้งและซีอีโอร่วมเมคคา แบรนด์ ชาวออสเตรเลีย ฮอร์แกนก่อตั้งบริษัทซึ่งเป็นร้านเครื่องสำอางมัลติแบรนด์ในเมลเบิร์นในปี 2540 กระทั่งปัจจุบัน บริษัทได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ค้าปลีกเครื่องสำอางรายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ด้วยยอดขายมูลค่า 3,200 ล้านดอลลาร์

ฮอร์แกน ซึ่งเริ่มให้ความสนใจในธุรกิจความงามหลังจากทำงานด้านการจัดการโครงการที่ลอรีอัล ได้ขยายเครือข่ายร้านค้าของเมคคา มากกว่า 100 แห่งทั่วออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และจัดจำหน่ายแบรนด์ความงามเกือบ 200 แบรนด์ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์แต่งหน้าและสกินแคร์ของบริษัทเอง

บริษัทเครื่องสำอางแห่งนี้ยังสามารถเพิ่มกำไรสุทธิกว่า 2 เท่าเป็น 17 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2562 จากปีก่อนหน้า ขณะที่รายรับที่เพิ่มขึ้น 21% เป็น 538 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปีงบการเงินล่าสุด

อย่างไรก็ดี แม้ว่ายอดขายของปีที่แล้วได้รับผลกระทบอย่างมากหลังจากร้านค้าในออสเตรเลียถูกบังคับให้ปิดตัวลงนานกว่า 1 เดือนเนื่องจากการระบาดใหญ่ แต่เมคคายังคงเดินหน้าเปิดร้านค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะขยายเข้าสู่ประเทศจีนภายใต้ความร่วมมือกับทีมอลล์ โกลบอล ของอาลีบาบา

  • วินนี ลี (ไต้หวัน)

ส่อง 7 หญิงแกร่ง ติดทำเนียบนักธุรกิจแห่งเอเชีย Forbes ครั้งแรก

ปิดท้ายด้วย “วินนี ลี” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีโอโอ Appier วัย 41 ปี ชาวไต้หวัน ลี เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Appier เป็นหนึ่งใน 2 สตาร์ทอัพยูนิคอร์นของไต้หวัน ซึ่งเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวในเดือนมี.ค. และระดมทุนได้ราว 30,000 ล้านเยน (270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

Appier ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2555 และได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนรายใหญ่อย่างซีเควีย แคปิตัล ซอฟต์แบงก์ และเทมาเส็ก พาวิเลียน แคปิตัล ให้บริการเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ ที่ช่วยดูแลด้านการขายและการตลาด อาทิ การระบุลูกค้าที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะซื้อสินค้าซ้ำ

ปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้ามากกว่า 1,000 ราย เช่น ดีบีเอส เอสเต ลอเดอร์ และโตโยต้า มีรายรับสำหรับ 6 เดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย.เพิ่มขึ้น 38% จากปีก่อนหน้าเป็น 52 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ขาดทุนลดลง 10% เหลืออยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์

ลี มีส่วนช่วยในการพัฒนา Appier จากเดิมที่มีพนักงาน 5 รายเป็นมากกว่า 500 รายในสำนักงาน 17 แห่งในสิงคโปร์ ซิดนีย์ และโตเกียว และขณะนี้บริษัทกำลังขยายสู่ยุโรปและสหรัฐ

ก่อนที่จะมาเป็นผู้ประกอบการ ลี ซึ่งจบปริญญาเอก ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เคยเป็นนักเทคโนโลยีด้านการวิจัยที่โรงพยาบาลเด็กบอสตัน( Boston Children’s Hospital)

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์