‘ซิโนแวค’ ฉีดบูสเตอร์โดส ต้านสายพันธุ์เดลตาสูงกว่า เข็มสองถึง 2.5 เท่า

‘ซิโนแวค’ ฉีดบูสเตอร์โดส ต้านสายพันธุ์เดลตาสูงกว่า เข็มสองถึง 2.5 เท่า

“จีน” เปิดประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค จะช่วยเสริมสร้างแอนติบอดีต้านสายพันธุ์เดลตา และตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในระยะยาว

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า จีนได้เผยแพร่ผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค เมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.ย.) ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพวัคซีนของจีน ต่อประสิทธิภาพการต่อต้านโควิดสายพันธุ์เดลตา ซึ่งได้กระจายไปทั่วโลก และทำให้เกิดการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น แม้แต่ในประเทศที่มีผู้ฉีดวัคซีนมากที่สุด

หลายประเทศพึ่งพาวัคซีนซิโนแวคอย่างหนัก แต่แล้วก็เริ่มพึ่งพาวัคซีนเข็มสาม หรือบูสเตอร์โดส (Booster dose) ผลิตโดยบริษัทชาติตะวันตก ให้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนของจีนครบโดสแล้ว

อ่านข่าว-โควิด 19 ติดเชื้อวันนี้ ชลบุรียอด 718 ราย เสียชีวิต 7 ศพ
 

รายงานดังกล่าว จัดทำโดยสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน มหาวิทยาลัยฟูตัน บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค และสถาบันจีนอื่นๆ ได้ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถยับยั้งไวรัสสายพันธุ์เดลตา ของผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของซิโนแวค แบบเข็มกระตุ้น และเปรียบเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส

ทั้งนี้ ได้ศึกษากลุ่มตัวที่เป็นอาสาสมัคร อย่างจำนวน 66 คน โดย 38 คน ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคทั้งที่ได้รับ 2 เข็ม และได้รับ 3 เข็มมาแล้ว

ในการศึกษาระบุว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบโดส เป็นเวลา 6 เดือนแล้ว เมื่อตรวจแอนติบอดี จะไม่พบภูมิคุ้มกันที่สามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์เดลตาในร่างกายบุคคลนั้น  

แต่ผู้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนาน 4 สัปดาห์ จะมีปริมาณภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถยับยั้งสายพันธุ์เดลตาได้มากกว่าผู้ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มานาน 4 สัปดาห์ถึง 2.5 เท่าตัว 

รายงานดังกล่าว ไม่ได้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงระดับของแอนติบอดีจะมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค ในการป้องกันผู้ฉีดวัคซีนจากโควิดสายพันธ์เดลตา อย่างไร

องค์การอนามัยโลก (WHO) วางแผนที่จะจัดส่งวัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์มของจีน จำนวน 100 ล้านโดสไปยังประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ และเอเชีย ก่อนสิ้นเดือน 

แต่บางประเทศปฏิเสธที่จะรับวัคซีน โดยอ้างว่าไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพในการต่อต้านสายพันธุ์เดลตา

มีรายงานว่า นับตั้งแต่เริ่มจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค จนถึงสิ้นเดือน ส.ค. พบว่า มีการจัดส่งวัคซีนไปแล้ว ประมาณ 1.8 พันล้านโดส ไปยังทั่วโลก รวมถึงจีน